| |
แสดงกำเนิด ๔ โดยภูมิต่าง ๆ   |  

ในสัมโมหวิโนทนีอรรถกถาได้แสดงกำเนิด ๔ ที่เกิดในภพภูมิต่าง ๆ ดังคาถาต่อไปนี้

นิรเย ภุมฺมวชฺเชสุ    เทเวสุ จ น โยนิโย
ติสฺโส ปุริมิกา โหนฺติ    จตสฺโสปิ คติตฺตเย ฯ

แปลความว่า

ในนิรยภูมิก็ดี ในเทวภูมิ ๖ [เว้นภุมมัฏฐเทวดา] ก็ดี ในนิชฌามตัณหิกเปรตก็ดี กำเนิดทั้ง ๓ คือ สังเสทชะกำเนิด อัณฑชะกำเนิด และชลาพุชะกำเนิด เหล่านี้ ย่อมมีไม่ได้ แต่ในคติทั้ง ๓ คือ มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน เปรต กำเนิดทั้ง ๔ ย่อมมีได้

ในคาถานี้ มิได้แสดงถึงกำเนิดที่มีได้ในรูปภูมิ ทั้งนี้ เพราะบรรดารูปพรหมทั้งหลายนั้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจของรูปาวจรกุศลที่เข้าถึงฌานเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงมีกำเนิดเป็นหลายอย่างไม่ได้ คงมีแต่โอปปาติกะกำเนิดอย่างเดียวเท่านั้น ต่างกันกับพวกกามบุคคล ซึ่งมีกำเนิดได้หลายอย่าง ดังกล่าวแล้ว


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |