| |
สกิทาคามิมรรคจิต ๕   |  

สกิทาคามิมรรคจิต ดวงที่ ๑

วิตักกวิจารปีติสุขเอกัคคตาสหิตัง ปฐมัชฌาน สกิทาคามิมัคคจิตตัง

ปฐมฌานสกิทาคามิมรรคจิต ๑ เกิดพร้อมด้วยองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

สกิทาคามิมรรคจิต ดวงที่ ๑ เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยฌานลาภีบุคคลที่เป็นพระโสดาบันใช้รูปาวจรปฐมฌานกุศลจิตเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนา โดยการเข้าปฐมฌาน เมื่อออกจากปฐมฌานแล้ว ก็พิจารณาสภาพขององค์ฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา หรือพิจารณาสภาพของปฐมฌานกุศลจิต ซึ่งเป็นสภาพนามธรรมนั้นให้เห็นโดยความเป็นไตรลักษณ์ จนกระทั่งวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นตามลำดับ จนถึงสกิทาคามิมรรคญาณเกิดขึ้น พร้อมกับการทำอนุสัยกิเลสที่เหลือจากโสดาปัตติมรรคญาณได้ประหาณไปแล้วโดยทำให้เบาบางลงไปอีกโดยตนุกรปหาน

สกิทาคามิมรรคจิต ดวงที่ ๒

วิจารปีติสุขเอกัคคตาสหิตัง ทุติยัชฌานสกิทาคามิมัคคจิตตัง

ทุติยฌานสกิทาคามิมรรคจิต ๑ เกิดพร้อมด้วยองค์ฌาน ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

สกิทาคามิมรรคจิต ดวงที่ ๒ นี้เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยฌานลาภีบุคคลที่เป็นพระโสดาบันใช้รูปาวจรทุติยฌานกุศลเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนา โดยการเข้าทุติยฌาน เมื่อออกจากทุติยฌานแล้ว ก็พิจารณาสภาพขององค์ฌาน คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา หรือพิจารณาสภาพของทุติยฌานกุศลจิต ซึ่งเป็นสภาพนามธรรมนั้นให้เห็นโดยความเป็นไตรลักษณ์ จนกระทั่งวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นตามลำดับ จนถึงสกิทาคามิมรรคญาณเกิดขึ้น พร้อมกับการทำอนุสัยกิเลสที่เหลือจากโสดาปัตติมรรคญาณได้ประหาณไปแล้วโดยทำให้เบาบางลงไปอีกโดยตนุกรปหาน

สกิทาคามิมรรคจิต ดวงที่ ๓

ปีติสุขเอกัคคตาสหิตัง ตติยัชฌานสกิทาคามิมัคคจิตตัง

ตติยฌานสกิทาคามิมรรคจิต ๑ เกิดพร้อมด้วยองค์ฌาน ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา

สกิทาคามิมรรคจิต ดวงที่ ๓ นี้เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยฌานลาภีบุคคลที่เป็นพระโสดาบันใช้รูปาวจรตติยฌานกุศลเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนา โดยการเข้าตติยฌาน เมื่อออกจากตติยฌานแล้ว ก็พิจารณาสภาพขององค์ฌาน คือ ปีติ สุข เอกัคคตา หรือพิจารณาสภาพของตติยฌานกุศลจิต ซึ่งเป็นสภาพนามธรรมนั้นให้เห็นโดยความเป็นไตรลักษณ์ จนกระทั่งวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นตามลำดับ จนถึงสกิทาคามิมรรคญาณเกิดขึ้น พร้อมกับการทำอนุสัยกิเลสที่เหลือจากโสดาปัตติมรรคญาณได้ประหาณไปแล้วโดยทำให้เบาบางลงไปอีกโดยตนุกรปหาน

สกิทาคามิมรรคจิต ดวงที่ ๔

สุขเอกัคคตาสหิตัง จตุตถัชฌานสกิทาคามิมัคคจิตตัง

จตุตถฌานสกิทาคามิมรรคจิต ๑ เกิดพร้อมด้วยองค์ฌาน ๒ คือ สุข เอกัคคตา

สกิทาคามิมรรคจิต ดวงที่ ๔ นี้เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยฌานลาภีบุคคลที่เป็นพระโสดาบันใช้รูปาวจรจตุตถฌานกุศลเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนา โดยการเข้าจตุตถฌาน เมื่อออกจากจตุตถฌานแล้ว ก็พิจารณาสภาพขององค์ฌาน คือ สุข เอกัคคตา หรือพิจารณาสภาพของจตุตถฌานกุศลจิต ซึ่งเป็นสภาพนามธรรมนั้นให้เห็นโดยความเป็นไตรลักษณ์ จนกระทั่งวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นตามลำดับ จนถึงสกิทาคามิมรรคญาณเกิดขึ้น พร้อมกับการทำอนุสัยกิเลสที่เหลือจากโสดาปัตติมรรคญาณได้ประหาณไปแล้วโดยทำให้เบาบางลงไปอีกโดยตนุกรปหาน

สกิทาคามิมรรคจิต ดวงที่ ๕

อุเปกขาเอกัคคตาสหิตัง ปัญจมัชฌานสกิทาคามิมัคคจิตตัง

ปัญจมฌานสกิทาคามิมรรคจิต ๑ เกิดพร้อมด้วยองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา

สกิทาคามิมรรคจิต ดวงที่ ๕ นี้เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยฌานลาภีบุคคลที่เป็นพระโสดาบันใช้รูปาวจรปัญจมฌานกุศลเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนา โดยการเข้าปัญจมฌาน เมื่อออกจากปัญจมฌานแล้ว ก็พิจารณาสภาพขององค์ฌาน คือ อุเบกขา เอกัคคตา หรือพิจารณาสภาพของปัญจมฌานกุศลจิต ซึ่งเป็นสภาพนามธรรมนั้นให้เห็นโดยความเป็นไตรลักษณ์ จนกระทั่งวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นตามลำดับ จนถึงสกิทาคามิมรรคญาณเกิดขึ้น พร้อมกับการทำอนุสัยกิเลสที่เหลือจากโสดาปัตติมรรคญาณได้ประหาณไปแล้วโดยทำให้เบาบางลงไปอีกโดยตนุกรปหาน


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |