| |
เหตุให้เกิดความเลื่อมใสในบุคคล ๔ อย่าง   |  

๑. รูปัปปมาณิกสัทธา เลื่อมใสเพราะรูป เช่น มีรูปงาม ทรวดทรงดี หรืออยู่ในวัยผู้ใหญ่ มองดูแล้วน่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นต้น

๒. โฆสัปปมาณิกสัทธา เลื่อมใสเพราะเสียงกึกก้องกังวานไพเราะ มีเสน่ห์

๓. ลูขัปปมาณิกสัทธา เลื่อมใสเพราะใช้บริขารเศร้าหมอง [ปอนๆ]

๔. ธัมมัปปมาณิกสัทธา เลื่อมใสเพราะแสดงธรรมดี มีไหวพริบปฏิภาณ มีหลักการและเหตุผล [มีวาทศิลป์ดี]

ศรัทธาเมื่อเกิดขึ้นขณะใด ย่อมทำให้สัมปยุตตธรรม คือ จิตและเจตสิกที่เกิดพร้อมกับตนมีสภาพผ่องใส ดุจสารส้มที่ทำน้ำขุ่นให้ใส ฉันนั้น


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |