| |
หายนะ ๑๐ ประการ   |  

๑. ย่อมได้เสวยทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส [ทุกข์หนัก] ประสบทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า เช่น โรคปวดศรีษะอย่างรุนแรง เป็นต้น

๒. ย่อมเสื่อมจากลาภยศทั้งปวง ความเสื่อมสิ้นแห่งทรัพย์สินที่มีอยู่

๓. ถูกทำร้ายร่างกาย เช่น ถูกตีศีรษะ หรือถูกตัดแขนขา เป็นต้น

๔. เกิดการเจ็บป่วยอย่างหนัก เช่น เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต เป็นต้น

๕. ย่อมถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต ถึงความเสียสติ เป็นบ้า

๖. ย่อมขัดข้องกับพระราชา ถูกลงโทษ ถูกกฎหมายลงโทษ เช่น ถูกถอดยศ ลดตำแหน่ง เป็นต้น

๗. ย่อมถูกกล่าวหาอย่างทารุณ ด้วยเรื่องที่ตนเองไม่ได้ทำ [ถูกใส่ร้ายป้ายสี]

๘. เกิดความเสื่อมแห่งหมู่ญาติ คือ ครอบครัวแตกแยก ไร้ญาติขาดพี่น้อง หรือญาติพี่น้องวิบัติฉิบหายไปโดยกะทันหัน

๙. เกิดไฟไหม้บ้านเรือน หรือโภคทรัพย์ เช่น เรือกสวนไร่นาฉิบหาย

๑๐. เมื่อละสังขารแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติวินิบาตนรก


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |