| |
ลักษณะของสมาธิจิตที่เป็นบาทให้เกิดปัญญา ๘ ประการ   |  

ลักษณะของสมาธิจิตที่เป็นบาทให้เกิดปัญญาได้นั้น เรียกว่า ญาณทัสสนาภินีหาร มี ๘ ประการ คือ

๑. บริสุทธิ์ ๒. ผ่องแผ้ว ๓. ไม่มีกิเลสเจือปน

๔. ปราศจากอุปกิเลส ๕. อ่อนโยน ๖. ควรแก่การงาน

๗. ตั้งมั่น ๘. ไม่หวั่นไหว

สมจริงดังพระพุทธวจนะที่มาในวิปัสสนาญาณสามัญญผลสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลวรรคว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ๑ ผ่องแผ้ว ๑ ไม่มีกิเลส ๑ ปราศจากอุปกิเลส ๑ อ่อนโยน ๑ ควรแก่การงาน ๑ ตั้งมั่น ๑ ไม่หวั่นไหว ๑ เหล่านี้ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ [คือ ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง หรือวิปัสสนาญาณ]”


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |