| |
องค์แห่งพระโยคาวจรเปรียบด้วยลม ๕ ประการ   |  

ในมิลินทปัญหา ท่าน [พระนาคเสนเถระ] ได้แสดงถึงคุณสมบัติของพระโยคาวจรที่เปรียบด้วยลม ๕ ประการรุ.๑๑๑ คือ

๑. ธรรมดาว่า ลมนี้ ย่อมพัดพากลิ่นของดอกไม้ในราวป่าให้หอมหวนเฟื่องฟุ้งไป ฉันใด พระโยคาวจรก็พึงยินดีในราวป่า มีดอกไม้อันบริสุทธิ์ คือ พระวิมุตติธรรม ฉันนั้น

๒. ธรรมดาว่า ลมนี้ ย่อมพัดหมู่ไหม้ทั้งปวงให้พังพินาศ ทำให้โค่นล้มได้ทั้งหมดตลอดถึงรากแก้ว ฉันใด พระโยคาวจรก็พึงพิจารณาหมู่ไม้ในราวป่า คือ สังขารธรรม แล้วพึงกำจัดเสียซึ่งกิเลส ทำให้พินาศหลุดถอนออกจากขันธสันดาน ฉันนั้น

๓. ธรรมดาว่า ลมนี้ ย่อมพัดไปในอากาศ ฉันใด พระโยคาวจรก็พึงกระทำจิตให้เที่ยวไปในโลกุตตรธรรม ฉันนั้น

๔. ธรรมดาว่า ลมนี้ ย่อมพัดพากลิ่นให้ฟุ้งไป ฉันใด พระโยคาวจรก็พึงเสพกลิ่นแห่งศีลของตนและทำให้ฟุ้งขจรไป ฉันนั้น

๕. ธรรมดาว่า ลมนี้ ย่อมปราศจากที่อยู่ หาอาลัยมิได้ มิได้ปรากฏว่าอยู่ที่ไหน ฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่พึงอาลัยในที่อยู่อาศัย พึงนำตนให้พ้นจากสันถวะคือความรักใคร่ผูกพันในบุคคลใดหรือสิ่งใด ๆ ฉันนั้น


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |