| |
ความหมายของจิต   |  

กามาวจรภูมิ หมายถึง ภูมิชั้นแห่งธรรมที่ถูกกำหนดขอบเขตด้วยอำนาจกามตัณหา หมายความว่า ธรรมที่เป็นอารมณ์ของกามตัณหาได้ ได้แก่ กามาวจรจิต ๕๔ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ เรียกว่า กามอวัตถาภูมิ

รูปาวจรภูมิ หมายถึง ภูมิชั้นแห่งธรรมที่ถูกกำหนดขอบเขตด้วยอำนาจรูปตัณหา หมายความว่า ธรรมที่เป็นอารมณ์ของรูปตัณหาได้ ได้แก่ รูปาวจรจิต ๑๕ เจตสิก ๓๕ เรียกว่า รูปอวัตถาภูมิ

อรูปาวจรภูมิ หมายถึง ภูมิชั้นแห่งธรรมที่ถูกกำหนดขอบเขตด้วยอำนาจอรูปตัณหา หมายความว่า ธรรมที่เป็นอารมณ์ของอรูปตัณหาได้ ได้แก่ อรูปาวจรจิต ๑๒ เจตสิก ๓๐ เรียกว่า อรูปอวัตถาภูมิ

โลกุตตรภูมิ หมายถึง ภูมิชั้นแห่งธรรมที่พ้นจากการถูกกำหนดขอบเขตด้วยตัณหาทั้ง ๓ [คือพ้นจากอำนาจแห่งตัณหาทั้ง ๓ คือ กามตัณหา รูปตัณหา อรูปตัณหา] หมายความว่า ธรรมที่ไม่ได้เป็นอารมณ์ของตัณหาทั้ง ๓ ได้แก่ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ เจตสิก ๓๖ นิพพาน เรียกว่า โลกุตตรอวัตถาภูมิ

กุศลจิต หมายถึง จิตที่เป็นกุศลหรือจิตที่ไม่มีโทษและให้ผลเป็นความสุข มี ๒๑ หรือ ๓๗ ดวง ได้แก่ มหากุศลจิต ๘ รูปาวจรกุศลจิต ๕ อรูปาวจรกุศลจิต ๔ โลกุตตรกุศลหรือมรรคจิต ๔ หรือ ๒๐

อกุศลจิต หมายถึง จิตที่เป็นอกุศล หรือ จิตที่มีโทษและให้ผลตรงกันข้ามกับกุศลจิต หรือเป็นจิตที่เกิดพร้อมกับอกุศลเจตสิก มี ๑๒ ดวง ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒

วิปากจิต หมายถึง จิตที่เป็นวิบาก คือ เข้าถึงความสุกและหมดกำลังลง หรือจิตที่เป็นผลของกุศลจิตและอกุศลจิตที่พิเศษกว่ากันและกัน หมายความว่า ผลของกุศลจิตย่อมได้รับอิฏฐผล คือ ผลอันน่าปรารถนา ส่วนผลของอกุศลจิตนั้น ย่อมได้รับอนิฏฐผล คือ ผลอันไม่น่าปรารถนา มี ๓๖ หรือ ๕๒ ดวง คือ อกุศลวิปากจิต ๗ อเหตุกกุศลวิปากจิต ๘ มหาวิปากจิต ๘ รูปาวจรวิปากจิต ๕ อรูปาวจรวิปากจิต ๔ โลกุตตรวิบากหรือผลจิต ๔ หรือ ๒๐

กิริยาจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นเพียงเพื่อทำหน้าที่ของตน ๆ ให้สำเร็จลงเท่านั้น ไม่มีความเป็นกุศล อกุศลแต่อย่างใด ทั้งไม่ใช่จิตที่เป็นวิบากด้วย มี ๒๐ ดวง ได้แก่ อเหตุกกิริยาจิต ๓ มหากิริยาจิต ๘ รูปาวจรกิริยาจิต ๕ อรูปาวจรกิริยาจิต ๔

กามาวจรจิต หมายถึง จิตที่ท่องเที่ยวเกิดอยู่ในกามภูมิ คือ ภูมิอันเป็นที่เกิดแห่งวัตถุกามและกิเลสกามโดยมาก หมายความว่า กามาวจรจิตนี้เป็นจิตที่เกิดกับกามบุคคลและรับกามอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์ อันน่าใคร่น่ายินดีของกามตัณหาเป็นส่วนมาก มี ๕๔ ดวง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๘ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ เรียกว่า กามจิต ๕๔ ก็ได้

รูปาวจรจิต หมายถึง จิตที่ท่องเที่ยวเกิดอยู่ในรูปภูมิ คือ ภูมิอันเป็นที่เกิดแห่งรูปวัตถุและรูปกิเลสโดยมาก หมายความว่า รูปาวจรจิตนี้ เป็นจิตที่รับรู้อารมณ์อันเป็นที่น่ายินดีน่าปรารถนาของรูปตัณหาเป็นส่วนมาก อันได้แก่ รูปกรรมฐาน รูปฌาน รูปภพและบัญญัติอารมณ์ต่าง ๆ มีกสิณบัญญัติเป็นต้นซึ่งเป็นอารมณ์ของรูปตัณหาได้ มี ๑๕ ดวง ได้แก่ รูปาวจรจิต ๑๕

อรูปาวจรจิต หมายถึง จิตที่ท่องเที่ยวเกิดอยู่ในอรูปภูมิ คือ ภูมิอันเป็นที่เกิดแห่งอรูปวัตถุและอรูปกิเลสเป็นส่วนมาก หมายความว่า อรูปาวจรจิตนี้ เป็นจิตที่รับรู้อารมณ์ที่มีสภาพเป็นอรูปทั้งหมด อันได้แก่ อรูปกรรมฐาน อรูปฌาน อรูปภพซึ่งเป็นอารมณ์ของอรูปตัณหาได้ มี ๑๒ ดวง ได้แก่ อรูปาวจรจิต ๑๒

โลกียจิต หมายถึง จิตที่รับรู้อารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องอยู่ในโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลกโดยมาก หมายความว่า โลกียจิตเหล่านี้เป็นจิตที่รับรู้อารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพธรรมที่มีการเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงไปและแตกดับทำลายไปเป็นธรรมดาโดยมาก อันได้แก่ อารมณ์ที่เป็นจิต เจตสิก รูปนั่นเอง ถึงแม้จิตบางดวงจะสามารถรับพระนิพพานเป็นอารมณ์ได้บ้างก็เป็นส่วนน้อย และไม่ได้รับพระนิพพานเป็นอารมณ์อย่างเดียว สามารถรับอารมณ์อย่างอื่นได้อีกด้วย โลกียจิตมี ๘๑ ดวง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๘ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ เรียกว่า โลกียจิต ๘๑

โลกุตตรจิต หมายถึง จิตที่รับรู้อารมณ์ที่มีสภาพเป็นไปพ้นจากโลกทั้ง ๓ [คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก] อันได้แก่ พระนิพพาน หมายความว่า โลกุตตรจิตนี้ย่อมรับรู้พระนิพพานเป็นอารมณ์ได้อย่างเดียว ไม่สามารถรับรู้อารมณ์อย่างอื่นได้ อนึ่ง พระนิพพานนั้นมีสภาพเป็นไปตรงกันข้ามกับความเป็นไปของโลกทั้ง ๓ กล่าวคือ มีสภาพเที่ยงคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ประกอบด้วยทุกข์ แต่เป็นบรมสุข ฉะนั้น จิตที่รับพระนิพพานเป็นอารมณ์ได้อย่างเดียวโดยแน่นอนนี้ จึงชื่อว่า โลกุตตรจิต มี ๘ หรือ ๔๐ ดวง เรียกว่า โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

อโสภณจิต หมายถึง จิตที่นอกเหนือจากโสภณจิต หมายความว่า อโสภณจิตนี้เป็นจิตที่ไม่ใช่เป็นโสภณจิต หรือเป็นจิตที่ไม่ได้เกิดพร้อมด้วยโสภณเจตสิก มีจำนวน ๓๐ ดวง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๘ เรียกว่า อโสภณจิต ๓๐

โสภณจิต หมายถึง จิตที่มีสภาพสวยงาม หรือเป็นจิตที่เกิดพร้อมด้วยโสภณเจตสิก หมายความว่า โสภณจิตนี้ล้วนเป็นจิตที่มีสภาพที่ดีงาม เพราะประกอบด้วยโสภณเจตสิกอันเป็นธรรมที่มีสภาพดีงามทั้งสิ้น มี ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง ได้แก่ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ เรียกว่า โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

มหัคคตจิต หมายถึง จิตที่เข้าถึงความเป็นใหญ่และประเสริฐ หมายความว่า มหัคคตจิตนี้ เป็นจิตที่สามารถเข้าถึงความเป็นอัปปนา คือ มีความแนบแน่นในอารมณ์อย่างเดียวจนเป็นอัปปนาสมาธิ พร้อมทั้งสามารถข่มนิวรณ์ให้สงบราบคาบลงโดยวิกขัมภนปหานและสามารถกำจัดธรรมที่เป็นข้าศึกแก่ฌานจิตได้ด้วย มี ๒๗ ดวง ได้แก่ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ เรียกว่า มหัคคตจิต ๒๗

สเหตุกจิต หมายถึง จิตที่มีเหตุ ๖ ประกอบร่วมด้วย หมายความว่า สเหตุกจิตนี้เป็นจิตที่เกิดพร้อมด้วยสภาวธรรมที่เป็นตัวเหตุ ๖ อย่าง อันได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ซึ่งจิตบางดวงมีหนึ่งเหตุ จิตบางดวงมีสองเหตุ จิตบางดวงมีสามเหตุ มีจำนวนทั้งหมด ๗๑ หรือ ๑๐๓ ดวง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ เรียกว่า สเหตุกจิต ๗๑ หรือ ๑๐๓

เอกเหตุกจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยเหตุ ๑ อย่าง มี ๒ ดวง ได้แก่ โมหมูลจิต ๒ เกิดพร้อมด้วยโมหเหตุอย่างเดียว เรียกว่า เอกเหตุกจิต ๒

ทวิเหตุกจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยเหตุ ๒ อย่าง มี ๒๒ ดวง คือ โลภมูลจิต ๘ เกิดพร้อมด้วยโลภเหตุกับโมหเหตุ โทสมูลจิต ๒ เกิดพร้อมด้วย โทสเหตุกับโมหเหตุ ญาณวิปปยุตตจิต ๑๒ เกิดพร้อมด้วยอโลภเหตุกับอโทสเหตุ เรียกว่า ทวิเหตุกจิต ๒๒

ติเหตุกจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยเหตุ ๓ อย่าง มี ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง คือ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหาวิบากญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ เรียกว่า ติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙

ฌานจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยองค์ฌาน มี วิตก เป็นต้น หมายความว่า ฌานจิตนี้เป็นจิตที่เกิดพร้อมด้วยสภาพธรรมที่มีกำลังหนักแน่นสามารถเผาธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ของตนเองให้สงบระงับหรือดับหายไปและเข้าถึงอัปปนาสมาธิได้ มี ๖๗ ดวง ได้แก่ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐

อฌานจิต หมายถึง จิตที่ไม่ได้เกิดพร้อมด้วยองค์ฌาน มี วิตก เป็นต้น หมายความว่า อฌานจิตนี้เป็นจิตที่เกิดพร้อมด้วยสภาพธรรมที่ไม่มีกำลังหนักแน่นพอที่จะเผาธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ของตนเองให้สงบระงับหรือดับหายไปได้และไม่สามารถเข้าถึงอัปปนาสมาธิได้ มี ๕๔ ดวง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๘ กามาวจรโสภณจิต ๒๔

ปฐมฌานจิต หมายถึง จิตที่เข้าถึงฌานที่ ๑ ซึ่งประกอบด้วยองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา มี ๑๑ ดวง ได้แก่ รูปาวจรปฐมฌานจิต ๓ โลกุตตรปฐมฌานจิต ๘ เรียกว่า ปฐมฌานจิต ๑๑

ทุติยฌานจิต หมายถึง จิตที่เข้าถึงฌานที่ ๒ ซึ่งประกอบด้วยองค์ฌาน ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา มี ๑๑ ดวง ได้แก่ รูปาวจรทุติยฌานจิต ๓ โลกุตตรทุติยฌานจิต ๘ เรียกว่า ทุติยฌานจิต ๑๑

ตติยฌานจิต หมายถึง จิตที่เข้าถึงฌานที่ ๓ ซึ่งประกอบด้วยองค์ฌาน ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา มี ๑๑ ดวง ได้แก่ รูปาวจรตติยฌานจิต ๓ โลกุตตรตติยฌานจิต ๘ เรียกว่า ตติยฌานจิต ๑๑

จตุตถฌานจิต หมายถึง จิตที่เข้าถึงฌานที่ ๔ ซึ่งประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ คือ สุข เอกัคคตา มี ๑๑ ดวง ได้แก่ รูปาวจรจตุตถฌานจิต ๓ โลกุตตรจตุตถฌานจิต ๘ เรียกว่า จตุตถฌานจิต ๑๑

ปัญจมฌานจิต หมายถึง จิตที่เข้าถึงฌานที่ ๕ ซึ่งประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา มี ๒๓ ดวง ได้แก่ รูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓ อรูปาวจรจิต ๑๒โลกุตตรปัญจมฌานจิต ๘ เรียกว่า ปัญจมฌานจิต ๒๓

สุขสหคตจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา ถ้าจำแนกโดยเวทนา ๓ มี ๖๓ ดวง ได้แก่ สุขสหคตกายวิญญาณจิต ๑ โสมนัสสสหคตจิต ๖๒ เรียกว่า สุขสหคตจิต ๖๓ ถ้าจำแนกโดยเวทนา ๕ มี ๑ ดวง ได้แก่ สุขสหคตกายวิญญาณจิต ๑ เรียกว่า สุขสหคตจิต ๑

ทุกขสหคตจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา ถ้าจำแนกโดยเวทนา ๓ มี ๓ ดวง ได้แก่ ทุกขสหคตกายวิญญาณจิต ๑ โทสมูลจิต ๒ ถ้าจำแนกโดยเวทนา ๕ มี ๑ ดวง ได้แก่ ทุกขสหคตกายวิญญาณจิต ๑ เรียกว่า ทุกขสหคตจิต ๑ [หรือ ๓]

โสมนัสสสหคตจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา มี ๖๒ ดวง ได้แก่ โลภโสมนัสจิต ๔ โสมนัสสันตีรณจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ มหากุศลโสมนัสจิต ๔ มหาวิบากโสมนัสจิต ๔ มหากิริยาโสมนัสจิต ๔ ปฐมฌานจิต ๑๑ ทุติยฌานจิต ๑๑ ตติยฌานจิต ๑๑ จตุตถฌานจิต ๑๑ เรียกว่า โสมนัสสสหคตจิต ๖๒

โทมนัสสสหคตจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสสเวทนา มี ๒ ดวง ได้แก่ โทสมูลจิต ๒ เรียกว่า โทมนัสสสหคตจิต ๒

อุเบกขาสหคตจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา มี ๕๕ ดวง ได้แก่ โลภอุเบกขาจิต ๔ โมหมูลจิต ๒ อเหตุกอุเบกขาจิต ๑๔ มหากุศลอุเบกขาจิต ๔ มหาวิบากอุเบกขาจิต ๔ มหากิริยาอุเบกขาจิต ๔ ปัญจมฌานจิต ๒๓ เรียกว่า อุเบกขาสหคตจิต ๕๕

สัมปยุตตจิต หมายถึง จิตที่ประกอบด้วยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ มี ๕ ประเภท รวมทั้งหมดมี ๕๕ หรือ ๘๗ ดวง ได้แก่ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ปฏิฆสัมปยุตตจิต ๒ วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑ อุทธัจจสัมปยุตตจิต ๑ ญาณสัมปยุตตจิต ๔๗ หรือ ๗๙ เรียกว่า สัมปยุตตจิต ๕๕ หรือ ๘๗

ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต หมายถึง จิตที่ประกอบด้วยความเห็นผิด มี ๔ ดวง ได้แก่ โลภมูลจิตดวงที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๕ และที่ ๖ เรียกว่า ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

ปฏิฆสัมปยุตตจิต หมายถึง จิตที่ประกอบด้วยความโกรธความไม่พอใจความเสียใจ มี ๒ ดวง ได้แก่ โทสมูลจิต ๒ เรียกว่า ปฏิฆสัมปยุตตจิต ๒

วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต หมายถึง จิตที่ประกอบด้วยความสงสัย มี ๑ ดวง ได้แก่ โมหมูลจิตดวงที่ ๑ เรียกว่า วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑

อุทธัจจสัมปยุตตจิต หมายถึง จิตที่ประกอบด้วยความฟุ้งซ่านเป็นพิเศษ มี ๑ ดวง ได้แก่ โมหมูลจิตดวงที่ ๒ เรียกว่า อุทธัจจสัมปยุตตจิต ๑

ญาณสัมปยุตตจิต หมายถึง จิตที่ประกอบด้วยปัญญา มี ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง ได้แก่ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหาวิบากญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ เรียกว่า ญาณสัมปยุตตจิต ๔๗ หรือ ๗๙

วิปปยุตตจิต หมายถึง จิตที่ไม่ได้ประกอบด้วยธรรมบางอย่างเป็นพิเศษ มี ๓๔ ดวง ได้แก่ ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ อเหตุกจิต ๑๘ ญาณวิปปยุตตจิต ๑๒ เรียกว่า วิปปยุตตจิต ๓๔

ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต หมายถึง จิตที่ไม่ได้ประกอบด้วยความเห็นผิด [แต่ไม่ได้หมายความว่าจะประกอบด้วยความเห็นถูก] ซึ่งตรงกันข้ามกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ เฉพาะในกลุ่มของโลภมูลจิตด้วยกัน มี ๔ ดวง ได้แก่ โลภมูลจิต ดวงที่ ๓ ดวงที่ ๔ ดวงที่ ๗ และดวงที่ ๘ เรียกว่า ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔

ญาณวิปปยุตตจิต หมายถึง จิตที่ไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา มี ๑๒ ดวง ได้แก่ มหากุศลญาณวิปปยุตตจิต ๔ มหาวิบากญาณวิปปยุตตจิต ๔ มหากิริยาญาณวิปปยุตตจิต ๔ ซึ่งตรงกันข้ามกับญาณสัมปยุตตจิต เฉพาะในกลุ่มของกามาวจรโสภณจิตด้วยกัน เรียกว่า ญาณวิปปยุตตจิต ๑๒

อสังขาริกจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้นเตือนหรือชักชวน มี ๓๗ ดวง ได้แก่ อกุศลอสังขาริกจิต ๗ อเหตุกจิต ๑๘ มหากุศลอสังขาริกจิต ๔ มหาวิบากอสังขาริกจิต ๔ มหากิริยาอสังขาริกจิต ๔ เรียกว่า อสังขาริกจิต ๓๗

สสังขาริกจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการกระตุ้นเตือนหรือชักชวน มี ๕๒ หรือ ๘๔ ดวง ได้แก่ อกุศลสสังขาริกจิต ๕ มหากุศลสสังขาริกจิต ๔ มหาวิบากสสังขาริกจิต ๔ มหากิริยาสสังขาริกจิต ๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตจิต ๘ หรือ ๔๐ เรียกว่า สสังขาริกจิต ๕๒ หรือ ๘๔

โลภมูลจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นโดยมีโลภเจตสิกเป็นมูลเป็นประธาน มี ๘ ดวง ได้แก่ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔

โทสมูลจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นโดยมีโทสเจตสิกเป็นมูลเป็นประธาน มี ๒ ดวง ได้แก่ โทสมูลจิต ๒

โมหมูลจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นโดยมีโมหเจตสิกเป็นมูลเป็นประธาน มี ๒ ดวง ได้แก่ โมหมูลจิต ๒

อกุศลวิปากจิต หมายถึง วิปากจิตที่เป็นผลของอกุศลจิต ๑๒ มี การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น เป็นต้นที่ไม่ดี มี ๗ ดวง ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๑ โสตวิญญาณจิต ๑ ฆานวิญญาณจิต ๑ ชิวหาวิญญาณจิต ๑ กายวิญญาณจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๑ อุเบกขาสันตีรณจิต ๑

อเหตุกกุศลวิปากจิต หมายถึง วิปากจิตที่เป็นผลของมหากุศลจิต ๘ มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น เป็นต้นที่ดี แต่เป็นอเหตุกะ คือ ไม่ได้เกิดพร้อมด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งเลย มี ๘ ดวง ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๑ โสตวิญญาณจิต ๑ ฆานวิญญาณจิต ๑ ชิวหาวิญญาณจิต ๑ กายวิญญาณจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๑ สันตีรณจิต ๒ [อุเบกขาสันตีรณจิต ๑ โสมนัสสันตีรณจิต ๑]

อเหตุกกิริยาจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นเองโดยอาศัยเหตุปัจจัยที่ประชุมพร้อมกันจำเพาะหน้า ซึ่งไม่ได้อาศัยกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมแต่อย่างใด ไม่ใช่จิตที่เป็นกุศลหรืออกุศล ทั้งไม่ได้ประกอบด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาเหตุ ๖ นั้น มี ๓ ดวง คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑

กามาวจรโสภณจิต หมายถึง จิตที่สวยงาม หรือจิตที่เกิดพร้อมด้วยโสภณเจตสิกซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ดีงาม แต่เป็นจิตที่ยังท่องเที่ยวเกิดอยู่ในกามภูมิโดยมาก หมายความว่า เป็นจิตที่เกิดกับกามบุคคล รับกามอารมณ์โดยมาก มี ๒๔ ดวง ได้แก่ มหากุศลจิต ๘ มหาวิปากจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘

มหากุศลจิต หมายถึง จิตที่ไม่มีโทษให้ผลเป็นความสุขและให้ผลเกิดขึ้นได้มากกว่าตน ทั้งเป็นบาทเบื้องต้นแห่งฌาน อภิญญา มรรค ผล มี ๘ ดวง ได้แก่ มหากุศลจิต ๘

มหาวิปากจิต หมายถึง จิตที่เป็นผลของมหากุศลจิต เพราะเมื่อว่าโดยเวทนา สัมปโยคะและสังขารแล้วเหมือนกันกับมหากุศลจิตทุกประการ แต่มีสภาพเป็นวิบาก คือ เป็นผลอันสุกงอมและหมดกำลังลงแล้วมี ๘ ดวง ได้แก่ มหาวิปากจิต ๘

มหากิริยาจิต หมายถึง จิตที่เป็นมหากุศลนั่นแหละ แต่เกิดขึ้นในสันดานของพระอรหันต์ ซึ่งเป็นผู้สิ้นอาสวะกิเลสทั้งหลายแล้ว จึงไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากอีกต่อไป มี ๘ ดวง ได้แก่ มหากิริยาจิต ๘

รูปาวจรกุศลจิต หมายถึง จิตที่เกิดจากการเจริญสมถกรรมฐาน มีกสิณ เป็นต้นเป็นอารมณ์ จนฌานจิตเกิดพร้อมด้วยองค์ฌาน หรือเป็นจิตที่เกิดด้วยอำนาจบารมีของท่านที่เคยได้บำเพ็ญฌานมาในชาติปางก่อน ทำให้ฌานเกิดได้โดยไม่ต้องเจริญสมถภาวนา มี ๕ ดวง ได้แก่ ปฐมฌานกุศลจิต ๑ ทุติยฌานกุศลจิต ๑ ตติยฌานกุศลจิต ๑ จตุตถฌานกุศลจิต ๑ ปัญจมฌานกุศลจิต ๑

รูปาวจรวิปากจิต หมายถึง จิตที่เป็นผลของรูปาวจรกุศลจิตนั่นเอง เพราะเมื่อว่าโดยองค์ฌานแล้วเหมือนกันทุกประการ มี ๕ ดวง ได้แก่ ปฐมฌานวิปากจิต ๑ ทุติยฌานวิปากจิต ๑ ตติยฌานวิปากจิต ๑ จตุตถฌานวิปากจิต ๑ ปัญจมฌานวิปากจิต ๑

รูปาวจรกิริยาจิต หมายถึง จิตที่เป็นรูปาวจรกุศลนั่นเอง แต่เป็นจิตของพระอรหันต์ที่ได้รูปฌาน จึงเป็นรูปาวจรกิริยาจิต ซึ่งไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากอีกต่อไป มี ๕ ดวง ได้แก่ ปฐมฌานกิริยาจิต ๑ ทุติยฌานกิริยาจิต ๑ ตติยฌานกิริยาจิต ๑ จตุตถฌานกิริยาจิต ๑ ปัญจมฌานกิริยาจิต ๑

อรูปาวจรกุศลจิต หมายถึง จิตที่เกิดจากการเจริญสมถกรรมฐานโดยมีอรูปกรรมฐานเป็นอารมณ์ ได้แก่ กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติเป็นต้น หรือเป็นจิตที่เกิดกับท่านที่เคยได้บำเพ็ญอรูปฌานมาจนชำนาญแล้วในชาติปางก่อนอันใกล้ ทำให้อรูปฌานเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องเจริญอรูปกรรมฐาน มี ๔ ดวง ได้แก่ อากาสานัญจายตนกุศลจิต ๑ วิญญาณัญจายตนกุศลจิต ๑ อากิญจัญญายตนกุศลจิต ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต ๑

อรูปาวจรวิปากจิต หมายถึง จิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุศลจิตนั่นเอง เพราะเมื่อว่าโดยอารมณ์และองค์ฌานแล้วย่อมเหมือนกันทุกประการ มี ๔ ดวง ได้แก่ อากาสานัญจายตนวิปากจิต ๑ วิญญาณัญจายตนวิปากจิต ๑ อากิญจัญญายตนวิปากจิต ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนวิปากจิต ๑

อรูปาวจรกิริยาจิต หมายถึง จิตที่เป็นอรูปาวจรกุศลนั่นเอง แต่เป็นจิตของพระอรหันต์ที่ได้อรูปฌาน จึงเป็นอรูปาวจรกิริยาจิต ซึ่งไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากอีกต่อไป มี ๔ ดวง ได้แก่ อากาสานัญจายตนกิริยาจิต ๑ วิญญาณัญจายตนกิริยาจิต ๑ อากิญจัญญายตนกิริยาจิต ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิต ๑

อากาสานัญจายตนจิต หมายถึง จิตที่ยึดเอาอากาศที่ว่างเปล่าไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ ได้แก่ กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ กล่าวคือ อากาศที่เพิกกสิณทั้ง ๙ ออกแล้ว [เว้นอากาสกสิณ] เหลือแต่ความว่างเปล่าในขอบเขตแห่งปฏิภาคนิมิตของกสิณนั้น มี ๓ ดวง ได้แก่ อากาสานัญจายตนกุศลจิต ๑ อากาสานัญจายตนวิปากจิต ๑ อากาสานัญจายตนกิริยาจิต ๑

อากาสานัญจายตนกุศลจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นแก่ติเหตุกปุถุชนและพระเสกขบุคคล ๓ ผู้เป็นรูปาวจรปัญจมฌานลาภีบุคคลแล้วทำการเจริญอากาสานัญจา ยตนฌานต่อ โดยการกำหนดยึดหน่วงเอากสิณุคฆาฎิมากาสบัญญัติเป็นอารมณ์ ด้วยการบริกรรมว่า “อากาโส อะนันโต แปลว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” จนจิตแนบแน่นในอารมณ์นั้นเป็นอัปปนาสมาธิโดยสภาพที่หนักแน่นไม่หวั่นไหว สำเร็จเป็นอากาสานัญจายตนฌานกุศลจิต ทำหน้าที่ชวนกิจ คือ เสพอารมณ์โดยความเป็นอากาสานัญจายตนฌานกุศล ที่จะให้ผลเป็นอากาสานัญจายตนวิบากต่อไป

อากาสานัญจายตนวิปากจิต หมายถึง จิตที่เป็นผลของอากาสานัญจายตนกุศลจิตนั่นเอง เพราะเมื่อว่าโดยสภาวะแล้ว เหมือนกันทุกประการ ต่างกันแต่ว่า เป็นวิบาก คือ เป็นผลอันสุกงอมและหมดกำลังลงแล้ว ไม่ต้องขวนขวายทำให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด เป็นจิตที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิ ภวังค์และจุติของอากาสานัญจายตนพรหมในอากาสานัญจายตนภูมิเท่านั้น โดยมีกสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติเป็นอารมณ์เหมือนกันกับอากาสานัญจายตนกุศลจิตซึ่งเป็นเหตุนั่นเอง

อากาสานัญจายตนกิริยาจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นแก่พระอรหันต์ผู้เป็นรูปาวจรปัญจมฌานลาภีบุคคลแล้วทำการเจริญอากาสานัญจายตนฌานต่อ โดยการกำหนดยึดหน่วงเอากสิณุคฆาฎิมากาสบัญญัติเป็นอารมณ์ ด้วยการบริกรรมว่า “อากาโส อะนันโต แปลว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” จนจิตแนบแน่นในอารมณ์นั้นเป็นอัปปนาสมาธิโดยสภาพที่หนักแน่นไม่หวั่นไหว สำเร็จเป็นอากาสานัญจายตนฌานกิริยาจิต ทำหน้าที่ชวนกิจ คือ เสพอารมณ์โดยความเป็นอากาสานัญจายตนฌานกิริยาซึ่งไม่สามารถส่งผลเป็นวิบากอีกต่อไป

วิญญาณัญจายตนจิต หมายถึง จิตที่ยึดหน่วงเอาวิญญาณคือความรู้สึกอันไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ กล่าวคือ การถือเอาอากาสานัญจายตนกุศล หรืออากาสานัญจายตนกิริยาจิตที่ดับไปแล้วเป็นอารมณ์ มี ๓ ดวง ได้แก่ วิญญาณัญจายตนกุศลจิต ๑ วิญญาณัญจายตนวิปากจิต ๑ วิญญาณัญจายตนกิริยาจิต ๑

วิญญาณัญจายตนกุศลจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นแก่ติเหตุกปุถุชนและพระเสกขบุคคล ๓ ผู้เป็นอากาสานัญจายตนฌานลาภีบุคคลแล้วทำการเจริญวิญญาณัญจายตนฌานต่อ โดยการกำหนดยึดหน่วงเอาอากาสานัญจายตนฌานกุศลที่ตนได้แล้วมาเป็นอารมณ์ ด้วยการบริกรรมว่า “วิญญาณัง อะนันตัง แปลว่า วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” จนจิตแนบแน่นในอารมณ์นั้นเป็นอัปปนาสมาธิโดยสภาพที่หนักแน่นไม่หวั่นไหว สำเร็จเป็นวิญญาณัญจายตนฌานกุศลจิต ทำหน้าที่ชวนกิจ คือ เสพอารมณ์โดยความเป็นวิญญาณัญจายตนฌานกุศลที่จะให้ผลเป็นวิญญาณัญจายตนวิบากต่อไป

วิญญาณัญจายตนวิปากจิต หมายถึง จิตที่เป็นผลของวิญญาณัญจายตนกุศลจิตนั่นเอง เพราะเมื่อว่าโดยสภาวะแล้วเหมือนกันทุกประการ ต่างกันแต่ว่า เป็นวิปากจิต คือ เป็นผลอันสุกงอมและหมดกำลังลงแล้ว ไม่ต้องขวนขวายทำให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด เป็นจิตที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิ ภวังค์และจุติของวิญญาณัญจายตนพรหมในวิญญาณัญจายตนภูมิเท่านั้น โดยมีอากาสานัญจายตนฌานกุศลจิตเป็นอารมณ์เหมือนกันกับวิญญาณัญจายตนกุศลจิตที่เป็นเหตุนั่นเอง

วิญญาณัญจายตนกิริยาจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นแก่พระอรหันต์ผู้เป็นอากาสานัญจายตนฌานลาภีบุคคลแล้วทำการเจริญวิญญาณัญจายตนฌานต่อ โดยการกำหนดยึดหน่วงเอาอากาสานัญจายตนกุศลหรืออากาสานัญจายตนกิริยาที่ตนได้แล้วมาเป็นอารมณ์ ด้วยการบริกรรมว่า “วิญญาณัง อนันตัง แปลว่า วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” จนจิตแนบแน่นในอารมณ์นั้นเป็นอัปปนาสมาธิโดยสภาพที่หนักแน่นไม่หวั่นไหว สำเร็จเป็นวิญญาณัญจายตนฌานกิริยาจิต ทำหน้าที่ชวนกิจ คือ เสพอารมณ์โดยความเป็นวิญญาณัญจายตนฌานกิริยา ซึ่งไม่สามารถส่งผลเป็นวิบากอีกต่อไป

อากิญจัญญายตนจิตหมายถึง จิตที่ยึดเอาความไม่มีแห่งวิญญาณเหลืออยู่เลยแม้แต่น้อยเป็นอารมณ์ เรียกว่า นัตถิภาวบัญญัติ กล่าวคือ การนึกหน่วงเอาความไม่มีเหลืออยู่เลยแม้แต่น้อยแห่งอากาสานัญจายตนฌานนั้น เป็นอารมณ์ มี ๓ ดวง ได้แก่ อากิญจัญญายตนกุศลจิต ๑ อากิญจัญญายตนวิปากจิต ๑ อากิญจัญญายตนกิริยาจิต ๑

อากิญจัญญายตนกุศลจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นแก่ติเหตุกปุถุชนและพระเสกขบุคคล ๓ ผู้เป็นวิญญาณัญจายตนฌานลาภีบุคคลแล้วทำการเจริญอากิญจัญญายตนฌานต่อ โดยการกำหนดยึดหน่วงเอานัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ ด้วยการบริกรรมว่า “นัตถิ กิญจิ แปลว่า น้อยหนึ่งก็ไม่มี นิดหนึ่งก็ไม่มี” จนจิตแนบแน่นในอารมณ์นั้นเป็นอัปปนาสมาธิโดยสภาพที่หนักแน่นไม่หวั่นไหว สำเร็จเป็นอากิญจัญญายตนฌานกุศลจิต ทำหน้าที่ชวนกิจ คือ เสพอารมณ์โดยความเป็นอากิญจัญญายตนฌานกุศล ที่จะส่งผลเป็นอากิญจัญญายตนวิบากต่อไป

อากิญจัญญายตนวิปากจิต หมายถึง จิตที่เป็นผลของอากิญจัญญายตนกุศลจิตนั่นเอง เพราะเมื่อว่าโดยสภาวะแล้วเหมือนกันทุกประการ ต่างกันแต่ว่า เป็นวิปากจิต คือ เป็นผลอันสุกงอมและหมดกำลังลงแล้ว ไม่ต้องขวนขวายทำให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด เป็นจิตที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิ ภวังค์และจุติของอากิญจัญญายตนพรหมในอากิญจัญญายตนภูมิเท่านั้น โดยมีนัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์เหมือนกันกับอากิญจัญญายตนกุศลจิตซึ่งเป็นตัวเหตุนั่นเอง

อากิญจัญญายตนกิริยาจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นแก่พระอรหันต์ผู้เป็นวิญญาณัญจายตนฌานลาภีบุคคลแล้วทำการเจริญอากิญจัญญายตนฌานต่อ โดยการกำหนดยึดหน่วงเอานัตถิภาวบัญญัติมาเป็นอารมณ์ ด้วยการบริกรรมว่า “นัตถิ กิญจิ แปลว่า น้อยหนึ่งก็ไม่มี นิดหนึ่งก็ไม่มี” จนจิตสงบแนบแน่นในอารมณ์นั้นเป็นอัปปนาสมาธิโดยสภาพที่หนักแน่นไม่หวั่นไหว สำเร็จเป็นอากิญจัญญายตนฌานกิริยาจิต ทำหน้าที่ชวนกิจ คือ เสพอารมณ์โดยความเป็นอากิญจัญญายตนฌานกิริยา ซึ่งไม่สามารถส่งผลเป็นวิบากอีกต่อไป

เนวสัญญานาสัญญายตนจิต หมายถึง จิตที่หน่วงนึกเอาสัญญาที่ละเอียดเป็นอารมณ์ กล่าวคือ การนึกหน่วงเอาความรู้สึกอันละเอียดอ่อนของอากิญจัญญายตนฌานที่ดับไปแล้วเป็นอารมณ์ มี ๓ ดวง ได้แก่ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนวิปากจิต ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิต ๑

เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นแก่ติเหตุกปุถุชนและพระเสกขบุคคล ๓ ผู้เป็นอากิญจัญญายตนฌานลาภีบุคคลแล้วทำการเจริญเนวสัญญานาสัญญายตนฌานต่อ โดยการกำหนดยึดหน่วงอากิญจัญญาจายตนฌานกุศลที่ตนได้แล้วมาเป็นอารมณ์ ด้วยการบริกรรมว่า “เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง แปลว่า อากิญจัญญายตนฌานนี้ละเอียดหนอประณีตหนอ” จนจิตแนบแน่นในอารมณ์นั้นเป็นอัปปนาสมาธิโดยสภาพที่หนักแน่นไม่หวั่นไหว สำเร็จเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานกุศลจิต ทำหน้าที่ชวนกิจ คือ เสพอารมณ์โดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานกุศล ที่จะให้ผลเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนวิบากต่อไป

เนวสัญญานาสัญญายตนวิปากจิต หมายถึง จิตที่เป็นผลของเนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิตนั่นเอง เพราะเมื่อว่าโดยสภาวะแล้วเหมือนกันทุกประการ ต่างกันแต่ว่า เป็นวิปากจิต คือ เป็นผลอันสุกงอมและหมดกำลังลงแล้ว ไม่ต้องขวนขวายทำให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด เป็นจิตที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิ ภวังค์และจุติของเนวสัญานาสัญญายตนพรหมในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิเท่านั้น โดยมีอากิญจัญญายตนฌานกุศลจิตเป็นอารมณ์เหมือนกันกับเนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิตซึ่งเป็นตัวเหตุนั่นเอง

เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นแก่พระอรหันต์ผู้เป็นอากิญจัญญายตนฌานลาภีบุคคลแล้วทำการเจริญเนวสัญญานาสัญญายตนฌานต่อ โดยการกำหนดยึดหน่วงอากิญจัญญายตนกุศลจิตหรืออากิญจัญญายตนกิริยาจิตที่ตนเองได้แล้วมาเป็นอารมณ์ ด้วยการบริกรรมว่า “เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง แปลว่า อากิญจัญญายตนฌานนี้ละเอียดหนอประณีตหนอ” จนจิตแนบแน่นในอารมณ์นั้นเป็นอัปปนาสมาธิโดยสภาพที่หนักแน่นไม่หวั่นไหว สำเร็จเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานกิริยาจิต ทำหน้าที่ชวนกิจ คือ เสพอารมณ์โดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานกิริยา ซึ่งไม่สามารถส่งผลเป็นวิบากอีกต่อไป

มรรคจิต หมายถึง จิตที่ทำการประหาณอนุสัยกิเลสและเข้าถึงสภาวะที่สามารถรับรู้พระนิพพานได้ หมายความว่า มรรคจิตนี้ เป็นกุศลจิตที่มีกำลังมาก ซึ่งเกิดขึ้นโดยมีมหากุศลจิตเป็นบาทฐานโดยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานมีรูปนามเป็นอารมณ์ จนองค์มรรคทั้ง ๘ เกิดพร้อมกันเป็นมัคคสมังคี ทำการประหาณอนุสัยกิเลสโดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน ตามสมควรแก่กำลังแห่งมรรคนั้น ๆ พร้อมกับการรับพระนิพพานเป็นอารมณ์ได้อย่างเดียว โดยอาการอันแนบแน่นเป็นอัปปนาสมาธิ มี ๔ หรือ ๒๐ ดวง ได้แก่ โสดาปัตติมรรคจิต ๑ หรือ ๕ สกิทาคามิมรรคจิต ๑ หรือ ๕ อนาคามิมรรคจิต ๑ หรือ ๕ อรหัตตมรรคจิต ๑ หรือ ๕

ผลจิต หมายถึง จิตที่เป็นผลของมรรคจิตนั่นเอง เพราะเมื่อว่าโดยสภาวะแล้วเหมือนกันทุกประการ ซึ่งเป็นวิปากจิตที่เกิดขึ้นติดต่อกันทันทีหลังจากมรรคจิตดับลงแล้วโดยไม่มีจิตดวงอื่นมาเกิดคั่นระหว่างเลย จัดเป็นอกาลิกธรรม คือ ธรรมที่ไม่ต้องรอกาลเวลา เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพื่อเสวยผลจากการที่มรรคจิตได้ทำการประหาณอนุสัยกิเลสสิ้นสุดลงแล้วและรับพระนิพพานเป็นอารมณ์ทำนองเดียวกันกับมรรคจิต มี ๔ หรือ ๒๐ ดวง ได้แก่ โสดาปัตติผลจิต ๑ หรือ ๕ สกิทาคามิผลจิต ๑ หรือ ๕ อนาคามิผลจิต ๑ หรือ ๕ อรหัตตผลจิต ๑ หรือ ๕

โสดาปัตติมรรคจิต หมายถึง จิตที่เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพานเป็นครั้งแรก มี ๑ หรือ ๕ ดวง กล่าวคือ ถ้านับตามองค์มรรคสำหรับบุคคลที่เป็นสุกขวิปัสสก มี ๑ ดวง ได้แก่ โสดาปัตติมรรคจิต ๑ แต่ถ้านับโดยฌานที่ใช้เป็นบาทในการเจริญวิปัสสนาของฌานลาภีบุคคล มี ๕ ดวง ได้แก่ ปฐมฌานโสดาปัตติมรรคจิต ๑ ทุติยฌานโสดาปัตติมรรคจิต ๑ ตติยฌานโสดาปัตติมรรคจิต ๑ จตุตถฌานโสดาปัตติมรรคจิต ๑ ปัญจมฌานโสดาปัตติมรรคจิต ๑

สกิทาคามิมรรคจิต หมายถึง จิตที่ทำให้บุคคลเข้าถึงความเป็นผู้จะเวียนมาสู่กามภพอีกเพียงครั้งเดียว มี ๑ หรือ ๕ ดวง กล่าวคือ ถ้านับตามองค์มรรคสำหรับบุคคลที่เป็นสุกขวิปัสสก มี ๑ ดวง ได้แก่ สกิทาคามิมรรคจิต ๑ แต่ถ้านับโดยฌานที่ใช้เป็นบาทในการเจริญวิปัสสนาของฌานลาภีบุคคล มี ๕ ดวง ได้แก่ ปฐมฌานสกิทาคามิมรรคจิต ๑ ทุติยฌานสกิทาคามิมรรคจิต ๑ ตติยฌานสกิทาคามิมรรคจิต ๑ จตุตถฌานสกิทาคามิมรรคจิต ๑ ปัญจมฌานสกิทาคามิมรรคจิต ๑

อนาคามิมรรคจิต หมายถึง จิตที่ทำให้บุคคลเข้าถึงความเป็นผู้ไม่ต้องเวียนกลับมาสู่กามภพอีกแล้ว มี ๑ หรือ ๕ ดวง กล่าวคือ ถ้านับตามองค์มรรคสำหรับบุคคลที่เป็นสุกขวิปัสสก มี ๑ ดวง ได้แก่ อนาคามิมรรคจิต ๑ แต่ถ้านับโดยฌานที่ใช้เป็นบาทในการเจริญวิปัสสนาของฌานลาภีบุคคลแล้ว มี ๕ ดวง ได้แก่ ปฐมฌานอนาคามิมรรคจิต ๑ ทุติยฌานอนาคามิมรรคจิต ๑ ตติยฌานอนาคามิมรรคจิต ๑ จตุตถฌานอนาคามิมรรคจิต ๑ ปัญจมฌานอนาคามิมรรคจิต ๑

อรหัตตมรรคจิต หมายถึง จิตที่ทำให้บุคคลเข้าถึงความเป็นผู้ควรเพื่อการบูชาอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นผู้ที่หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงและหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์โดยสิ้นเชิงแล้ว มี ๑ หรือ ๕ ดวง กล่าวคือ ถ้านับโดยองค์มรรคสำหรับบุคคลที่เป็นสุกขวิปัสสก มี ๑ ดวง ได้แก่ อรหัตตมรรคจิต ๑ แต่ถ้านับโดยฌานที่ใช้เป็นบาทในการเจริญวิปัสสนาของฌานลาภีบุคคลแล้ว มี ๕ ดวง ได้แก่ ปฐมฌานอรหัตตมรรคจิต ๑ ทุติยฌานอรหัตตมรรคจิต ๑ ตติยฌานอรหัตตมรรคจิต ๑ จตุตถฌานอรหัตตมรรคจิต ๑ ปัญจมฌานอรหัตตมรรคจิต ๑

โสดาปัตติผลจิต หมายถึง จิตที่เป็นผลของโสดาปัตติมรรคจิตนั่นเอง เพราะเมื่อว่าโดยสภาวะแล้วเหมือนกันทุกประการ แต่เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพื่อทำการเสวยวิมุตติสุขหลังจากที่โสดาปัตติมรรคจิตได้ทำการประหาณอนุสัยกิเลส ๒ อย่าง คือ ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัยสำเร็จโดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหานแล้ว ด้วยการเสวยรสแห่งพระนิพพานเป็นอารมณ์ทำนองเดียวกันกับโสดาปัตติมรรคจิต มี ๑ หรือ ๕ ดวง กล่าวคือ ถ้านับตามมรรคจิตสำหรับบุคคลที่เป็นสุกขวิปัสสก มี ๑ ดวง ได้แก่ โสดาปัตติผลจิต ๑ แต่ถ้านับตามฌานที่ใช้เป็นบาทในการเจริญวิปัสสนาของฌานลาภีบุคคลจนบรรลุถึงมรรคแล้ว มี ๕ ดวง ได้แก่ ปฐมฌานโสดาปัตติผลจิต ๑ ทุติยฌานโสดาปัตติผลจิต ๑ ตติยฌานโสดาปัตติผลจิต ๑ จตุตถฌานโสดาปัตติผลจิต ๑ ปัญจมฌานโสดาปัตติผลจิต ๑

สกิทาคามิผลจิต หมายถึง จิตที่เป็นผลของสกิทาคามิมรรคจิตนั่นเอง เพราะเมื่อว่าโดยสภาวะแล้วเหมือนกันทุกประการ แต่เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพื่อทำการเสวยวิมุตติสุขหลังจากที่สกิทาคามิมรรคจิตได้ทำการประหาณอนุสัยกิเลสที่เหลือโดยตนุกรปหาน คือ การทำให้เบาบางลงไปอีก พร้อมกับทำการเสวยรสแห่งพระนิพพานเป็นอารมณ์ทำนองเดียวกันกับสกิทาคามิมรรคจิต มี ๑ หรือ ๕ ดวง กล่าวคือ ถ้านับตามมรรคจิตสำหรับบุคคลที่เป็นสุกขวิปัสสก มี ๑ ดวง ได้แก่ สกิทาคามิผลจิต ๑ แต่ถ้านับตามฌานที่ใช้เป็นบาทในการเจริญวิปัสสนาของฌานลาภีบุคคลจนบรรลุถึงมรรคแล้ว มี ๕ ดวง ได้แก่ ปฐมฌานสกิทาคามิผลจิต ๑ ทุติยฌานสกิทาคามิผลจิต ๑ ตติยฌานสกิทาคามิผลจิต ๑ จตุตถฌานสกิทาคามิผลจิต ๑ ปัญจมฌานสกิทาคามิผลจิต ๑

อนาคามิผลจิต หมายถึง จิตที่เป็นผลของอนาคามิมรรคจิตนั่นเอง เพราะเมื่อว่าโดยสภาวะแล้วเหมือนกันทุกประการ แต่เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพื่อทำการเสวยวิมุตติสุขหลังจากที่อนาคามิมรรคจิตได้ทำการประหาณอนุสัยกิเลสอีก ๒ อย่าง คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยสำเร็จโดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหานแล้ว ด้วยการเสวยรสแห่งพระนิพพานเป็นอารมณ์ทำนองเดียวกันกับอนาคามิมรรคจิต มี ๑ หรือ ๕ ดวง กล่าวคือ ถ้านับโดยมรรคจิตสำหรับบุคคลที่เป็นสุกขวิปัสสก มี ๑ ดวง ได้แก่ อนาคามิผลจิต ๑ แต่ถ้านับโดยฌานที่ใช้เป็นบาทในการเจริญวิปัสสนาของฌานลาภีบุคคลจนบรรลุถึงมรรคแล้ว มี ๕ ดวง ได้แก่ ปฐมฌานอนาคามิผลจิต ๑ ทุติยฌานอนาคามิผลจิต ๑ ตติยฌานอนาคามิผลจิต ๑ จตุตถฌานอนาคามิผลจิต ๑ ปัญจมฌานอนาคามิผลจิต ๑

อรหัตตผลจิต หมายถึง จิตที่เป็นผลของอรหัตตมรรคจิตนั่นเอง เพราะเมื่อว่าโดยสภาวะแล้วเหมือนกันทุกประการ แต่เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพื่อทำการเสวยวิมุตติสุขหลังจากที่อรหัตตมรรคจิตได้ทำการประหาณอนุสัยกิเลสอีก ๓ อย่าง คือ ภวราคานุสัย มานานุสัย และอวิชชานุสัย เสร็จสิ้นลงโดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน เป็นอันสูญสิ้นจากกิเลสตัณหาทั้งปวงแล้ว ด้วยการเสวยรสแห่งพระนิพพานเป็นอารมณ์ทำนองเดียวกันกับอรหัตตมรรคจิต มี ๑ หรือ ๕ ดวง กล่าวคือ ถ้านับตามมรรคจิตสำหรับบุคคลที่เป็นสุกขวิปัสสก มี ๑ ดวง ได้แก่ อรหัตตผลจิต ๑ แต่ถ้านับโดยฌานที่ใช้เป็นบาทในการเจริญวิปัสสนาของฌานลาภีบุคคลจนบรรลุถึงมรรคแล้ว มี ๕ ดวง ได้แก่ ปฐมฌานอรหัตตผลจิต ๑ ทุติยฌานอรหัตตผลจิต ๑ ตติยฌานอรหัตตผลจิต ๑ จตุตถฌานอรหัตตผลจิต ๑ ปัญจมฌานอรหัตตผลจิต ๑

ปฏิสนธิจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจ คือ การสืบต่อภพชาติใหม่ หมายความว่า เป็นจิตที่ถือกำเนิดเกิดเป็นสัตว์บุคคลต่าง ๆ ในภพภูมิใหม่ ตามสมควรแก่สภาพของจิตนั้น มี ๑๙ ดวง ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิปากจิต ๘ รูปาวจรวิปากจิต ๕ อรูปาวจรวิปากจิต ๔ เรียกว่า ปฏิสนธิจิต ๑๙

ภวังคจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่ภวังคกิจ คือ การรักษาภพชาติ หมายความว่า เป็นจิตที่ทำการรักษาสถานภาพของสัตว์บุคคลที่ปฏิสนธิจิตได้ก่อเกิดขึ้นมาแล้วนั้นให้คงอยู่จนครบอายุตามแต่กำลังที่กรรมนั้นจะส่งผลให้ กล่าวคือ บุคคลใดเกิดมาด้วยจิตดวงใด จิตดวงนั้นนั่นแหละจะแปรสภาพจากปฏิสนธิจิตมาเป็นภวังคจิตรักษาสถานภาพของบุคคลนั้นต่อไปจนตลอดชีวิต ฉะนั้น ภวังคจิตจึงมี ๑๙ ดวง เหมือนกันกับปฏิสนธิจิต เรียกว่า ภวังคจิต ๑๙

จุติจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่จุติกิจ คือ การเคลื่อนจากภพชาติ [คือตาย] หมายความว่า จุติจิตนี้เป็นจิตที่ทำหน้าที่จบสิ้นจากภพชาตินั้น ๆ ทำให้สถานภาพของบุคคลนั้นหมดไปหรือสิ้นสุดลง ได้แก่ ตายนั่นเอง ซึ่งจุติจิตนี้ ได้แก่ จิตที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิและภวังค์นั่นเอง กล่าวคือ บุคคลใดปฏิสนธิมาด้วยจิตดวงใด จิตดวงนั้นนั่นแหละจะแปรสภาพจากปฏิสนธิจิตมาเป็นภวังคจิต เมื่อถึงเวลาตายจากภพชาตินั้นก็แปรสภาพมาทำหน้าที่จุติจิต ฉะนั้น จุติจิตนี้จึงมี ๑๙ ดวง เหมือนกันกับปฏิสนธิจิตและภวังคจิตนั่นเอง เรียกว่า จุติจิต ๑๙

กามาวจรปฏิสนธิจิต หมายถึง จิตที่นำเกิดในกามภูมิ มี ๑๐ ดวง ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิปากจิต ๘ เรียกว่า กามภวังคจิต ๑๐ หรือ กามจุติจิต ๑๐ ก็ได้

รูปาวจรปฏิสนธิจิต หมายถึง จิตที่นำเกิดในรูปภูมิ มี ๕ ดวง ได้แก่ รูปาวจรวิปากจิต ๕ หรือเรียกว่า รูปภวังคจิต ๕ หรือ รูปจุติจิต ๕ ก็ได้

อรูปาวจรปฏิสนธิจิต หมายถึง จิตที่นำเกิดในอรูปภูมิ มี ๔ ดวง ได้แก่ อรูปาวจรวิปากจิต ๔ หรือเรียกว่า อรูปภวังคจิต ๔ หรือ อรูปจุติจิต ๔ ก็ได้

ปัญจโวการปฏิสนธิจิต หมายถึง จิตที่นำเกิดในปัญจโวการภูมิ คือ ภูมิที่มีขันธ์ ๕ [คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์] มี ๑๕ ดวง ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิปากจิต ๘ รูปาวจรวิปากจิต ๕ หรือเรียกว่า ปัญจโวการภวังคจิต ๑๕ หรือ ปัญจโวการจุติจิต ๑๕ก็ได้

จตุโวการปฏิสนธิจิต หมายถึง จิตที่นำเกิดในจตุโวการภูมิ คือ ภูมิที่มีขันธ์ ๔ [คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์] มี ๔ ดวง ได้แก่ อรูปาวจรวิปากจิต ๔ หรือเรียกว่า จตุโวการภวังคจิต ๔ หรือ จตุโวการจุติจิต ๔ ก็ได้

อเหตุกปฏิสนธิจิต หมายถึง จิตที่นำเกิดเป็นอเหตุกบุคคล มี ๒ ดวง ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ หรือเรียกว่า อเหตุกภวังคจิต ๒ หรือ อเหตุกจุติจิต ๒ ก็ได้

ทวิเหตุกปฏิสนธิจิต หมายถึง จิตที่นำเกิดเป็นทวิเหตุกบุคคล มี ๔ ดวง ได้แก่ มหาวิบากญาณวิปปยุตตจิต ๔ หรือเรียกว่า ทวิเหตุกภวังคจิต ๔ หรือ ทวิเหตุกจุติจิต ๔ก็ได้

ติเหตุกปฏิสนธิจิต หมายถึง จิตที่นำเกิดเป็นติเหตุกบุคคล มี ๑๓ ดวง ได้แก่ มหาวิบากญาณสัมปยุตตจิต ๔ รูปาวจรวิปากจิต ๕ อรูปาวจรวิปากจิต ๔ หรือเรียกว่า ติเหตุกภวังคจิต ๑๓ หรือ ติเหตุกจุติจิต ๑๓ ก็ได้

กามติเหตุกปฏิสนธิจิต หมายถึง จิตที่นำเกิดเป็นติเหตุกบุคคลในกามสุคติภูมิ ๗ มี ๔ ดวง ได้แก่ มหาวิบากญาณสัมปยุตตจิต ๔ หรือเรียกว่า กามติเหตุกภวังคจิต ๔ หรือ กามติเหตุกจุติจิต ๔ ก็ได้

ปัญจโวการติเหตุกปฏิสนธิจิต หมายถึง จิตที่นำเกิดเป็นติเหตุกบุคคลในปัญจโวการภูมิ ๒๒ [เว้นอบายภูมิ ๔] มี ๙ ดวง ได้แก่ มหาวิบากญาณสัมปยุตตจิต ๔ รูปาวจวิปากจิต๕ หรือเรียกว่า ปัญจโวการติเหตุกภวังคจิต ๙ หรือ ปัญจโวการติเหตุกจุติจิต ๙ ก็ได้

อาวัชชนจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่อาวัชชนกิจ คือ หน่วงเหนี่ยวอารมณ์มาสู่ทวาร มี ๒ ดวง ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นจิตที่หน่วงเหนี่ยวอารมณ์มาสู่ปัญจทวาร และ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นจิตที่หน่วงเหนี่ยวอารมณ์มาสู่มโนทวาร เรียกว่า อาวัชชนจิต ๒

ทัสสนจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่ทัสสนกิจ คือ การรับรู้รูปารมณ์ [รูป คือ สีต่าง ๆ ] มี ๒ ดวง ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๒ เรียกว่า ทัสสนจิต ๒ ก็ได้

สวนจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่สวนกิจ คือ การรับรู้สัททารมณ์ [เสียง] มี ๒ ดวง ได้แก่ โสตวิญญาณจิต ๒ เรียกว่า สวนจิต ๒ ก็ได้

ฆายนจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่ฆายนกิจ คือ การรับรู้คันธารมณ์ [กลิ่น] มี ๒ ดวง ได้แก่ ฆานวิญญาณจิต ๒ เรียกว่า ฆายนจิต ๒ ก็ได้

สายนจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่สายนกิจ คือ การรับรู้รสารมณ์ [รส] มี ๒ ดวง ได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เรียกว่า สายนจิต ๒ ก็ได้

ผุสสนจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่ผุสสนกิจ คือ รับรู้โผฏฐัพพารมณ์ [สัมผัส] มี ๒ ดวง คือ กายวิญญาณจิต ๒ เรียกว่า ผุสสนจิต ๒ ก็ได้

ทวิปัญจวิญญาณจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ ๕ ทางทวาร ๕ โดยเฉพาะทวารของตน ๆ มี ๑๐ ดวง ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๒ โสตวิญญาณจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒ ดังกล่าวแล้ว รวมเรียกว่า ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐

มโนธาตุจิต หมายถึง จิตที่รับรู้อารมณ์ทางใจได้น้อยที่สุด เนื่องจากเป็นจิตที่อาศัยเกิดที่หทยวัตถุ แต่ไปรับรู้อารมณ์ทางปัญจทวารจึงทำให้กำลังในการรับรู้นั้นน้อยลงมี ๓ ดวงได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เรียกว่า มโนธาตุ ๓

มโนวิญญาณธาตุจิต หมายถึง จิตที่รับรู้อารมณ์ทางใจได้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นจิตที่อาศัยเกิดที่หทยวัตถุหรือเกิดทางมโนทวารและรับรู้อารมณ์ที่มโนทวารนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ประสิทธิภาพในการรับรู้อารมณ์นั้นมีกำลังมากเป็นพิเศษ มี ๗๖ หรือ ๑๐๘ ดวง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ สันตีรณจิต ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ เรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ ๗๖ หรือ ๑๐๘

สัมปฏิจฉนจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่สัมปฏิจฉนกิจ คือ การรับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ มี ๒ ดวงได้แก่ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เรียกว่า สัมปฏิจฉนจิต ๒

สันตีรณจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่สันตีรณกิจ คือ ไต่สวนหรือพิจารณาอารมณ์ทางปัญจทวาร มี ๓ ดวง ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิปากจิต ๑ อุเบกขาสันตีรณกุศลวิปากจิต ๑ โสมนัสสันตีรณกุศลวิปากจิต ๑ เรียกว่า สันตีรณจิต ๓

โวฏฐัพพนจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่โวฏฐัพพนกิจ คือ ตัดสินอารมณ์ทางปัญจทวาร มี ๑ ดวง คือ มโนทวาราวัชชนจิต ในขณะที่ทำหน้าที่ตัดสินปัญจารมณ์ทางปัญจทวาร เพื่อให้ชวนจิตได้เสพต่อไป เรียกว่า โวฏฐัพพนจิต ๑ ก็ได้

ชวนจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่ชวนกิจ คือ เสพอารมณ์โดยความเป็นกุศล อกุศล หรือกิริยา ตามสมควรแก่สภาพของจิตนั้น ๆ หมายความว่า ถ้าเป็นปุถุชนและพระเสกขบุคคล ๓ ย่อมเสพอารมณ์โดยความเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์ย่อมเสพอารมณ์โดยความเป็นกิริยา มี ๕๕ หรือ ๘๗ ดวง คือ กามชวนจิต ๒๙ และอัปปนาชวนจิต ๒๖ หรือ ๕๘ เรียกว่า ชวนจิต ๕๕ หรือ ๘๗

กามชวนจิต หมายถึง กามาวจรจิตที่ทำหน้าที่ชวนกิจ มี ๒๙ ดวง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ หสิตุปปาทจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ เรียกว่า กามชวนจิต ๒๙

อัปปนาชวนจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์โดยความแนบแน่นเป็นอัปปนาสมาธิ มี ๒๖ หรือ ๕๘ ได้แก่ รูปาวจรกุศลจิต ๕ รูปาวจรกิริยาจิต ๕ อรูปา วจรกุศลจิต ๔ อรูปาวจรกิริยาจิต ๔ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ เรียกว่า อัปปนาชวนจิต ๒๖ หรือ ๕๘

ตทาลัมพนจิต หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่ตทาลัมพนกิจ คือ หน่วงเหนี่ยวหรือเสพอารมณ์ที่เหลือจากกามชวนะในกามวิถี มี ๑๑ ดวง คือ สันตีรณจิต ๓ มหาวิปากจิต ๘ เรียกว่า ตทาลัมพนจิต ๑๑

จักขุทวาริกจิต หมายถึง จิตที่เกิดทางจักขุทวารได้ มี ๔๖ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๔๖ [เว้นโสตวิญญาณจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒] เรียกว่า จักขุทวาริกจิต ๔๖ หรือ จักขุทวารวิถีจิต ๔๖ ก็ได้

โสตทวาริกจิต หมายถึง จิตที่เกิดทางโสตทวารได้ มี ๔๖ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๔๖ [เว้นจักขุวิญญาณจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒] เรียกว่า โสตทวาริกจิต ๔๖ หรือ โสตทวารวิถีจิต ๔๖ ก็ได้

ฆานทวาริกจิต จิตที่เกิดทางฆานทวารได้ มี ๔๖ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๔๖ [เว้นจักขุวิญญาณจิต ๒ โสตวิญญาณจิต ๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒] เรียกว่า ฆานทวาริกจิต ๔๖ หรือ ฆานทวารวิถีจิต ๔๖ ก็ได้

ชิวหาทวาริกจิต หมายถึง จิตที่เกิดทางชิวหาทวารได้ มี ๔๖ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๔๖ [เว้นจักขุวิญญาณจิต ๒ โสตวิญญาณจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ กายวิญญาณจิต ๒] เรียกว่า ชิวหาทวาริกจิต ๔๖ หรือ ชิวหาทวารวิถีจิต ๔๖ ก็ได้

กายทวาริกจิต หมายถึง จิตที่เกิดทางกายทวารได้ มี ๔๖ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๔๖ [เว้นจักขุวิญญาณจิต ๒ โสตวิญญาณจิต ๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒] เรียกว่า กายทวาริกจิต ๔๖ หรือ กายทวารวิถีจิต ๔๖ ก็ได้

มโนทวาริกจิต หมายถึง จิตที่เกิดทางมโนทวารได้ มี ๖๗ หรือ ๙๙ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๔๑ [เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ มโนธาตุ ๓] อัปปนาชวนจิต ๒๖ หรือ ๕๘ เรียกว่า มโนทวาริกจิต ๖๗ หรือ ๙๙ หรือ มโนทวารวิถีจิต ๔๖ หรือ ๙๙ ก็ได้

เอกทวาริกจิต หมายถึง จิตที่เกิดได้ทางทวารเดียว มี ๓๖ หรือ ๖๘ ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ [เกิดเฉพาะทวารของตน ๆ] อัปปนาชวนจิต ๒๖ หรือ ๕๘ [เกิดทางมโนทวารอย่างเดียว] เรียกว่า เอกทวาริกจิต ๓๖ หรือ ๖๙

ปัญจทวาริกจิต หมายถึง จิตที่เกิดได้ ๕ ทวาร มี ๓ ดวง ได้แก่ สัมปฏิจฉนจิต ๒ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ เรียกว่า ปัญจทวาริกจิต ๓

ฉทวาริกจิต หมายถึง จิตที่เกิดได้ ๖ ทวาร มี ๔๓ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๔๑ [เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ มโนธาตุ ๓] และอภิญญาจิต ๒ เรียกว่า ฉทวาริกจิต ๔๓

ทวาริกจิต หมายถึง จิตที่เกิดโดยต้องอาศัยทวาร มี ๘๐ หรือ ๑๑๒ ดวง ได้แก่ อาวัชชนจิต ๒ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ มโนธาตุจิต ๓ ชวนจิต ๕๕ หรือ ๘๗ ตทาลัมพนจิต ๑๑ เรียกวา ทวาริกจิต ๘๐ หรือ ๑๑๒

ทวารวิมุตตจิต หมายถึง จิตที่เกิดพ้นทวาร คือ เกิดโดยไม่ได้อาศัยทวารอย่างใดอย่างหนึ่งเลย หรือ จิตที่ไม่ต้องอาศัยทวารเกิด มี ๑๙ ดวง ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙ ภวังคจิต ๑๙ จุติจิต ๑๙ [เป็นจิตประเภทเดียวกัน] เรียกว่า ทวารวิมุตตจิต ๑๙

กามารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับกามอารมณ์ได้ มี ๕๖ ดวง คือ กามาวจรจิต ๕๔ อภิญญาจิต ๒ เรียกว่า กามารัมมณิกจิต ๕๖

มหัคคตารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับมหัคคตอารมณ์ได้ มี ๓๗ ดวง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ อภิญญาจิต ๒วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ เรียกว่า มหัคคตารัมมณิกจิต ๓๗

นิพพานารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับพระนิพพานเป็นอารมณ์ได้ มี ๑๙ หรือ ๕๑ ดวง ได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ อภิญญาจิต ๒ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ เรียกว่า นิพพานารัมมณิกจิต ๑๙ หรือ ๕๑ หรือเรียกว่า โลกุตตรารัมมณิกจิต ๑๙ หรือ ๕๑ ก็ได้

นามารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับนามอารมณ์ได้มี ๕๗ หรือ ๘๙ ดวงได้แก่ กามาวจรจิต ๔๑ [เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ มโนธาตุ ๓] อภิญญาจิต ๒ วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ เรียกว่า นามารัมมณิกจิต ๕๗ หรือ ๘๙

ปัจจุปปันนารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับปัจจุบันอารมณ์ได้ มี ๕๖ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๕๔ อภิญญาจิต ๒ เรียกว่า ปัจจุปปันนารัมมณิกจิต ๕๖

อตีตารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับอดีตอารมณ์ได้ มี ๔๙ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๔๑ [เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ มโนธาตุ ๓] อภิญญาจิต ๒ วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ เรียกว่า อตีตารัมมณิกจิต ๔๙

อนาคตารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับอนาคตอารมณ์ได้ มี ๔๓ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๔๑ [เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ มโนธาตุ ๓] อภิญญาจิต ๒ เรียกว่า อนาคตารัมมณิกจิต ๔๓

กาลวิมุตตารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับกาลวิมุตติอารมณ์ได้ มี ๖๐ หรือ ๙๒ดวง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ อภิญญาจิต ๒ รูปาวจรจิต ๑๕ อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ เรียกว่า กาลวิมุตตารัมมณิกจิต ๖๐ หรือ ๙๒

ปัญญัตตารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับบัญญัติอารมณ์ได้ มี ๕๒ ดวง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ อภิญญาจิต ๒ รูปาวจรจิต ๑๕ อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ เรียกว่า ปัญญัตตารัมมณิกจิต ๕๒

ปรมัตถารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับปรมัตถอารมณ์ได้ มี ๗๐ หรือ ๑๐๒ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๕๔ อภิญญาจิต ๒ วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ เรียกว่า ปรมัตถารัมมณิกจิต ๗๐ หรือ ๑๐๒

อัชฌัตตารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับอัชฌัตตอารมณ์ได้ มี ๖๒ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๕๔ อภิญญาจิต ๒ วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ เนวสัญญานาสัญญา ยตนฌานจิต ๓ เรียกว่า อัชฌัตตารัมมณิกจิต ๖๒

พหิทธารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับพหิทธอารมณ์ได้ มี ๘๒ หรือ ๑๑๔ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๕๔ อภิญญาจิต ๒ รูปาวจรจิต ๑๕ อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ เรียกว่า พหิทธารัมมณิกจิต ๘๒ หรือ ๑๑๔

อัชฌัตตพหิทธารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับอัชฌัตตพหิทธอารมณ์ได้ มี ๕๖ ดวงได้แก่ กามาวจรจิต ๕๔ อภิญญาจิต ๒ เรียกว่าอัชฌัตตพหิทธารัมมณิกจิต ๕๖

รูปารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับรูปารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ จักขุวิญญาณจิต ๒ มโนธาตุจิต ๓ สันตีรณจิต ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ อภิญญาจิต ๒จิ.๑ เรียกว่า รูปารัมมณิกจิต ๔๘

สัททารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับสัททารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ โสตวิญญาณจิต ๒ มโนธาตุจิต ๓ สันตีรณจิต ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ อภิญญาจิต ๒ เรียกว่า สัททารัมมณิกจิต ๔๘

คันธารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับคันธารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวงได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ ฆานวิญญาณจิต ๒ มโนธาตุจิต ๓ สันตีรณจิต ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ อภิญญาจิต ๒ เรียกว่า คันธารัมมณิกจิต ๔๘

รสารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับรสารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ มโนธาตุจิต ๓ สันตีรณจิต ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ อภิญญาจิต ๒ เรียกว่า รสารัมมณิกจิต ๔๘

โผฏฐัพพารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับโผฏฐัพพารมณ์ได้ มี ๔๘ ดวง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ กายวิญญาณจิต ๒ มโนธาตุจิต ๓ สันตีรณจิต ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ อภิญญาจิต ๒ เรียกว่า โผฏฐัพพารัมมณิกจิต ๔๘

ธัมมารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับธรรมารมณ์ได้ มี ๗๘ หรือ ๑๑๐ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๔๑ [เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ มโนธาตุจิต ๓] รูปาวจรจิต ๑๕ อภิญญาจิต ๒ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ เรียกว่า ธัมมารัมมณิกจิต ๗๖ หรือ ๑๐๘

เอกธารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับอารมณ์ได้อย่างเดียว มี ๒๘ หรือ ๖๐ ดวง ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ วิญญาณัญจายตนกุศลจิต ๑ วิญญาณัญจายตนวิปากจิต ๑ อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนวิปากจิต ๑ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ เรียกว่า เอกธารัมมณิกจิต ๒๘ หรือ ๖๐

ท๎วิธารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับอารมณ์ได้ ๒ อย่าง มี ๒ ดวง ได้แก่ วิญญาณัญจายตนกิริยาจิต ๑ [รับอากาสานัญจายตนกุศลจิต ๑ อากาสานัญจายตนกิริยาจิต ๑ เป็นอารมณ์] เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิต ๑ [รับอากิญจัญญายตน กุศลจิต ๑ อากิญจัญญายตนกิริยาจิต ๑ เป็นอารมณ์] เรียกว่า ท๎วิธารัมมณิกจิต ๒

ปัญจธารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับอารมณ์ได้ ๕ อย่าง มี ๓ ดวง ได้แก่ สัมปฏิจฉนจิต ๒ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ รับอารมณ์ได้ ๕ อย่าง คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ และโผฏฐัพพารมณ์ เรียกว่า ปัญจธารัมมณิกจิต ๓

ท๎วาทสธารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับอารมณ์ได้ ๑๒ อย่าง มี ๓ ดวง ได้แก่ รูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓ รับอารมณ์ได้ ๑๒ อย่าง คือ กสิณบัญญัติ ๑๐ อานาปานบัญญัติ ๑ มัชฌัตตสัตวบัญญัติ ๑ เรียกว่า ท๎วาทสธารัมมณิกจิต ๓

จุททสธารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับอารมณ์ได้ ๑๔ อย่าง มี ๙ ดวง ได้แก่ รูปาวจรทุติยฌานจิต ๓ รูปาวจรตติยฌานจิต ๓ รูปาวจรจตุตถฌานจิต ๓ รับอารมณ์ได้ ๑๔ อย่าง คือ กสิณบัญญัติ ๑๐ อานาปานบัญญัติ ๑ ปิยมนาปสัตวบัญญัติ ๑ ทุกขิตสัตวบัญญัติ ๑ สุขิตสัตวบัญญัติ ๑ เรียกว่า จุททสธารัมมณิกจิต ๙

ปัญจวีสารัมมณิกจิต หมายถึง จิตที่รับอารมณ์ได้ ๒๕ อย่าง มี ๓ ได้แก่ รูปาวจรปฐมฌานจิต ๓ รับอารมณ์ ๒๕ อย่าง คือ กสิณบัญญัติ ๑๐ อสุภบัญญัติ ๑๐ โกฏฐาสบัญญัติ [กายคตาสติ] ๑ อานาปานบัญญัติ ๑ ปิยมนาปสัตวบัญญัติ ๑ ทุกขิตสัตวบัญญัติ ๑ สุขิตสัตวบัญญัติ ๑ เรียกว่า ปัญจวีสธารัมมณิกจิต ๓

จักขุวัตถุกจิต หมายถึง จิตที่อาศัยจักขุวัตถุเกิดมี ๒ ดวงได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๒

โสตวัตถุกจิต หมายถึง จิตที่อาศัยโสตวัตถุเกิดมี ๒ ดวงได้แก่ โสตวิญญาณจิต ๒

ฆานวัตถุกจิต หมายถึง จิตที่อาศัยฆานวัตถุเกิดมี ๒ ดวงได้แก่ ฆานวิญญาณจิต ๒

ชิวหาวัตถุกจิต หมายถึง จิตที่อาศัยชิวหาวัตถุเกิด มี ๒ ดวง ได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต ๒

กายวัตถุกจิต หมายถึง จิตที่อาศัยกายวัตถุเกิดมี ๒ ดวงได้แก่ กายวิญญาณจิต ๒

หทยวัตถุกจิต หมายถึง จิตที่อาศัยหทยวัตถุเกิด มี ๗๕ หรือ ๑๐๖ ดวง แบ่ง เป็น ๒ จำพวก ได้แก่ [๑] จิตที่อาศัยหทยวัตถุเกิดโดยแน่นอน มี ๓๓ หรือ ๓๗ ดวง คือ โทสมูลจิต ๒ มโนธาตุจิต ๓ ตทาลัมพณจิต ๑๑ หสิตุปปาทจิต ๑ รูปาวจรจิต ๑๕ โสดาปัตติมรรคจิต ๑ หรือ ๕ เพราะจิตเหล่านี้เกิดได้เฉพาะกับบุคคลที่เกิดในปัญจโวการภูมิ ๒๖ [ตามสมควร] เท่านั้น [๒] จิตที่อาศัยหทยวัตถุเกิดโดยไม่แน่นอน มี ๔๒ หรือ ๗๐ ดวง คือ โลภมูลจิต ๘ โมหมูลจิต ๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ อรูปาวจรกุศลจิต ๔ อรูปาวจรกิริยาจิต ๔ โลกุตตรจิต ๗ หรือ ๓๕ [เว้นโสดาปัตติมรรคจิต ๑ หรือ ๕] จิตเหล่านี้ ถ้าเกิดกับบุคคลที่เกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ก็ต้องอาศัยหทยวัตถุรูปเกิดโดยแน่นอน แต่ถ้าเกิดกับบุคคลที่เกิดในอรูปภูมิ ๔ ไม่ต้องอาศัยหทยวัตถุรูปเกิด [เพราะเป็นภูมิที่ไม่มีรูปเกิดเลย แต่จิตเหล่านี้ ย่อมสามารถเกิดกับอรูปพรหมได้ โดยอาศัยมโนทวาร คือ ภวังคจิตเกิด] อนึ่ง โลกุตตรจิต ๔๐ ดวงนั้น เป็นจิตที่เกิดจากการใช้รูปฌานกุศลเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนา จนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงเรียกว่า มรรคจิตและผลจิตตามฌานกุศลนั้น เช่น ปฐมฌานโสดาปัตติมรรคจิต ปฐมฌานโสดาปัตติผลจิต เป็นต้น ซึ่งบุคคลที่สามารถทำรูปฌานให้เกิดขึ้นได้นั้น มีได้เฉพาะผู้ที่เกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ[เฉพาะที่เป็นสุคติภูมิ] เท่านั้น ส่วนอรูปพรหมนั้น ไม่สามารถทำรูปฌานให้เกิดขึ้นได้เลย เนื่องจากเป็นภูมิที่ไม่มีรูป ฉะนั้น โลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐ ดวง จึงไม่สามารถเกิดแก่อรูปพรหมได้ เนื่องจากไม่สามารถใช้รูปฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนาให้บรรลุมรรคจิตผลจิตได้นั่นเอง

อวัตถุกจิต หมายถึง จิตที่ไม่ได้อาศัยวัตถุรูปเกิดเลย มี ๔ ดวง ได้แก่ อรูปวิปากจิต ๔ เพราะอรูปวิปากจิต ๔ ดวงนี้ เกิดได้เฉพาะกับอรูปพรหมที่ในอรูปภูมิ ๔ เท่านั้น ซึ่งเป็นภูมิที่ไม่มีรูปอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดเลย เป็นจิตที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติของอรูปพรหมในแต่ละชั้น และทำหน้าที่เป็นมโนทวารของอรูปพรหมนั้น ๆ ด้วย กล่าวคือ เป็นภวังคจิตของอรูปพรหมนั่นเอง

สวิตักกจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยวิตก มี ๕๕ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๔๔ [เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐] ปฐมฌานจิต ๑๑

สวิจารจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยวิจาร มี ๖๖ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๔๔ [เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐] ปฐมฌานจิต ๑๑ ทุติยฌานจิต ๑๑

อวิตักกจิต หมายถึง จิตที่ไม่ได้เกิดพร้อมด้วยวิตก มี ๖๖ ดวง ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ทุติยฌานจิต ๑๑ ตติยฌานจิต ๑๑ จตุตถฌานจิต ๑๑ ปัญจมฌานจิต๒๓

อวิจารจิต หมายถึง จิตที่ไม่ได้เกิดพร้อมด้วยวิจาร มี ๕๕ ดวง ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ตติยฌานจิต ๑๑ จตุตถฌานจิต ๑๑ ปัญจมฌานจิต ๒๓

สวิตักกสวิจารจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยวิตกและวิจาร มี ๕๕ ดวง ได้แก่ กามาวจรจิต ๔๔ [เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐] ปฐมฌานจิต ๑๑

อวิตักกสวิจารมัตตจิต หมายถึง จิตที่ไม่ได้เกิดพร้อมด้วยวิตกแต่เกิดพร้อมด้วยวิจารอย่างเดียว มี ๑๑ ดวง ได้แก่ ทุติยฌานจิต ๑๑

อวิตักกอวิจารจิต หมายถึง จิตที่ไม่ได้เกิดพร้อมด้วยวิตกและวิจารมี ๕๕ดวง ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ตติยฌานจิต ๑๑ จตุตถฌานจิต ๑๑ ปัญจมฌานจิต ๒๓

สาธิโมกขจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยอธิโมกข์ มี ๗๘ หรือ ๑๑๐ ดวง [เว้นวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐]

อนาธิโมกขจิต หมายถึง จิตที่ไม่ได้เกิดพร้อมด้วยอธิโมกข์ มี ๑๑ ดวง ได้แก่ วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐

สวิริยจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยวิริยะ มี ๗๓ หรือ ๑๐๕ ดวง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

อวิริยจิต หมายถึง จิตที่ไม่ได้เกิดพร้อมด้วยวิริยะ มี ๑๖ ดวง ได้แก่ อเหตุกจิต ๑๖ [เว้นมโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑]

สัปปีติกจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยปีติ มี ๕๑ ดวง ได้แก่ โลภโสมนัสจิต ๔ โสมนัสสันตีรณจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ มหากุศลโสมนัสจิต ๔ มหาวิบากโสมนัสจิต ๔ มหากิริยาโสมนัสจิต ๔ ปฐมฌานจิต ๑๑ ทุติยฌานจิต ๑๑ ตติยฌานจิต ๑๑ หรือเรียกว่า ปีติสหคตจิต ๕๑ ก็ได้

นิปปีติกจิต หมายถึง จิตที่ไม่ได้เกิดพร้อมด้วยปีติ มี ๗๐ ดวง ได้แก่ กายวิญญาณจิต ๒ โทสมูลจิต ๒ จตุตถฌานจิต ๑๑ และอุเบกขาสหคตจิต ๕๕

สฉันทจิต หมายถึง จิตที่เกิดพร้อมด้วยฉันทะ มี ๖๙ หรือ ๑๐๑ ดวง ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

อฉันทจิต หมายถึง จิตที่ไม่ได้เกิดพร้อมด้วยฉันทะ มี ๒๐ ดวง ได้แก่ โมหมูลจิต ๒ อเหตุกจิต ๑๘


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |