| |
วาโยธาตุ มีธาตุ ๓ ที่เหลือเป็นปัจจัย   |  

มูลนิธิสถานที่ไม่ตั้งอยู่ในความประมาทรุ.๑๐๖ ได้แสดงสรุปสภาพของวาโยธาตุไว้ดังนี้

ความปรากฏขึ้นของธาตุลม ที่เรียกว่า วาโยธาตุ นั้น อาศัยธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือจึงทำให้ปรากฏและเป็นไปได้ กล่าวคือ

๑. มีปถวีธาตุ เป็นที่ตั้งอาศัยเกิด

๒. มีอาโปธาตุ เป็นตัวเกาะกุมไว้ให้รวมอยู่กับธาตุอื่น ๆ ได้

๓. มีเตโชธาตุ เป็นผู้ตามรักษา ทำให้อุ่นหรือเย็น ในอุณหภูมิที่พอเหมาะ

อนึ่ง วาโยธาตุนี้ เป็นรูปธาตุที่มีความสำคัญมากแก่สัตว์ที่มีวิญญาณครอง เพราะถ้าไม่มีลมหายใจแล้ว สัตว์นั้นก็ต้องตาย [ยกเว้นพรหมทั้งหลาย] และธาตุลมนี่แหละที่ทำให้เกิดอาการเคลื่อนไหวร่างกายและการเปล่งวาจา ที่เรียกว่า กายวิญญัติ และ วจีวิญญัติ ได้ ถ้าการเคลื่อนไหวร่างกายและการเปล่งวาจาดี มีประโยชน์ ย่อมเกิดเป็นบุญกุศล ให้ผลเป็นความสุข แต่ถ้าการเคลื่อนไหวร่างกายและวาจาเป็นไปในทางที่ไม่ดี มีโทษ ย่อมเป็นบาปอกุศล ให้ผลเป็นความทุกข์ต่อไปได้


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |