| |
เอกัคคตาเจตสิก   |  

เอกัคคตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่สงบและทำให้สัมปยุตตธรรมตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “เอกัคคัง อุปะคัจฉะตีติ เอกัคคะตา [วา] เอการัมมะเณ ติฏฐันติ สุปะติฏฐันติ เอเตนาติ เอกัคคะตา” แปลความว่า ธรรมชาติที่เข้าถึงความมีอารมณ์เดียว ชื่อว่า เอกัคคตา [อีกนัยหนึ่ง] สัมปยุตตธรรมทั้งหลาย ย่อมตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวได้ เพราะอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า เอกัคคตา หมายความว่า เอกัคคตาเจตสิกเป็นสภาวธรรมที่เป็นความสงบของสัมปยุตตธรรม คือ จิตและเจตสิกที่เกิดพร้อมกันในจิตดวงเดียวกัน ทำให้สัมปยุตตธรรมทั้งหลายสามารถตั้งอยู่ในอารมณ์เดียวได้จนครบ ๓ อนุขณะของจิต ได้แก่ อุปปาทขณะ ขณะเกิด, ฐีติขณะ ขณะตั้งอยู่, และภังคขณะ ขณะดับ หรือทำให้สัมปยุตตธรรมไม่ซัดส่ายไปหาอารมณ์อื่น ก่อนที่จะครบกำหนด ๓ อนุขณะนั่นเอง ด้วยอำนาจแห่งเอกัคคตาเจตสิกนี้เองที่ทำให้จิตมีความสงบเป็นขณะ ๆ จนสามารถสงบตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวได้เป็นเวลานาน


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |