| |
ปฏิจจสมุปบาทองค์ ๑๘   |  

๑. อวิชชา ได้แก่ โมหเจตสิก จัดเป็น นาม
๒. สังขาร ได้แก่ เจตนาเจตสิก จัดเป็น นาม
๓. วิญญาณ ได้แก่ โลกียวิปากจิต ๓๒ จัดเป็น นาม
๔. นามรูป = นาม ได้แก่ เจตสิก ๓๕ ที่ในโลกียวิปากจิต จัดเป็น นาม
รูป ได้แก่ กัมมชรูป ๒๐ จัดเป็น รูป
๕. สฬายตนะ ได้แก่ รูปอายตนะ ๕ จัดเป็น รูป
มนายตนะ จัดเป็น นาม
๖. ผัสสะ ได้แก่ ผัสสเจตสิก จัดเป็น นาม
๗. เวทนา ได้แก่ เวทนาเจตสิก จัดเป็น นาม
๘. ตัณหา ได้แก่ โลภเจตสิก จัดเป็น นาม
๙. อุปาทาน ได้แก่ โลภเจตสิกและทิฏฐิเจตสิก จัดเป็น นาม
๑๐. ภพ = กัมมภพ ได้แก่ เจตนาเจตสิก จัดเป็น นาม
อุปปัตติภพ ได้แก่ โลกียวิปากจิต ๓๒ จัดเป็น นาม
๑๑. ชาติ ได้แก่ ความเกิดขึ้นของวิบากขันธ์ ๕ จัดเป็น นามรูป
๑๒. ชรา ได้แก่ ความแก่ของวิบากขันธ์ ๕ จัดเป็น นามรูป
๑๓. มรณะ ได้แก่ ความดับของวิบากขันธ์ ๕ จัดเป็น นามรูป
๑๔. โสกะ ได้แก่ โทมนัสสเวทนา จัดเป็น นาม
๑๕. ปริเทวะ ได้แก่ จิตตชวิปปลาสสัททะ จัดเป็น รูป
๑๖. ทุกขะ ได้แก่ ทุกขสหคตกายิกเวทนา จัดเป็น นาม
๑๗. โทมนัสสะ ได้แก่ โทมนัสสเวทนา จัดเป็น นาม
๑๘. อุปายาสะ ได้แก่ โทสเจตสิก จัดเป็น นาม

วิปัสสนาภูมิ ๖ หมวดนี้ เมื่อย่อลงแล้ว ก็ได้แก่ รูปกับนาม เท่านั้น ในเบื้องต้นพระโยคีบุคคลผู้จะเจริญวิปัสสนาต้องพิจารณาให้รู้และแยกแยะให้เข้าใจโดยความเป็นรูปเป็นนามเสียก่อนแล้ว จึงกำหนดพิจารณาดูอาการเป็นไปของรูปนามนั้น จนเห็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดรูปนามนั้นขึ้น ต่อจากนั้น จึงกำหนดพิจารณารูปนามนั้นให้เห็นโดยความเป็นไตรลักษณ์ว่า รูปนามมีลักษณะที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ บังคับบัญชาให้เป็นไปตามใจปรารถนาก็ไม่ได้ เมื่อพิจารณาเห็นรูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์อย่างนี้แล้ว ก็สามารถละความเห็นผิด ความเข้าใจผิด และความสำคัญมั่นหมายผิดว่า รูปนามนี้เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน เป็นสิ่งที่สวยงาม เป็นต้นเสียได้ การเห็นผิด การเข้าใจผิด การสำคัญผิด เหล่านี้เรียกว่า วิปลาสธรรม คือ เป็นสิ่งที่วิปลาสคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |