| |
ตัวอย่างโทสมูลจิต   |  

โทสมูลจิต ดวงที่ ๑ โทมนัสสสหคตัง ปฏิฆสัมปยุตตัง อสังขาริกัง แปลความว่า จิตที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการชักชวน พร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ ตัวอย่างเช่น นายหาญ เป็นคนมักฉุนเฉียว วันหนึ่ง เดินสะเปะสะปะไปชนเสาเรือนเข้า จึงเกิดบันดาลโทสะขึ้น และด่าเสาเรือนว่า “ทำไม มาตั้งอยู่เกะกะ ไม่รู้จักหลบเสียบ้าง” แล้วก็เตะเสาเรือนซ้ำอีก พร้อมกับสะบัดขาไปมาด้วยความเจ็บปวด

โทสมูลจิต ดวงที่ ๒ โทมนัสสสหคตัง ปฏิฆสัมปยุตตัง สสังขาริกัง แปลความว่า จิตที่เกิดขึ้นโดยมีการชักชวน พร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ ตัวอย่างเช่น นางสาวหงส์ เป็นคนสุขุม ไม่ค่อยโกรธเคืองมีเรื่องกับใครนัก วันหนึ่ง เพื่อนสาวมาบอกว่า “กลุ่มเพื่อนอีกหลายคน พากันติฉินนินทานางสาวหงส์อย่างเสีย ๆ หาย ๆ นางสาวหงส์ก็นิ่งเฉย พร้อมกับพูดกับเพื่อนสาวว่า “เขานินทาเรา ก็เรื่องของเขา เราไม่ได้เป็นดังที่เขานินทาสักหน่อย” เพื่อนสาวก็พูดว่า “เธอนี่ ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน เป็นคนไม่มีหัวใจหรืออย่างไร เพื่อนพวกนั้น มันพูดใส่ร้ายเธออย่างไม่มีชิ้นดีเลย ต่อหน้าเธอก็ทำเป็นรักใคร่เอ็นดู แต่ลับหลังเหมือนนางมารร้ายในละครทีวีเลย” เมื่อนางสาวหงส์ได้ฟังดังนั้น ก็เริ่มมีอาการฉุนเฉียวขึ้นมา คิดว่า “ทำไม เพื่อนเรา จึงต้องมาเผาเรือน เป็นคนอย่างนั้นไปได้อย่างไร” แล้วก็เกิดความโกรธขึ้นมา


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |