| |
การเกิดขึ้นของโลกุตตรจิต   |  

โลกุตตรจิต เป็นจิตที่เกิดสืบเนื่องมาจากมหากุศลจิต ที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา ซึ่งมีสภาวะของรูปนามเป็นอารมณ์ จนเกิดความเห็นแจ้งในสภาพแห่งรูปนามนั้น อันมีความเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีการเกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ทั้งไม่สามารถบังคับบัญชาให้อยู่ในอำนาจได้ หรือไม่อยู่ในความบงการของใครหรือสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น ย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของตนอยู่เนืองนิตย์ เมื่อเห็นแจ้งอย่างนี้แล้ว จึงเกิดความเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมคลายความกำหนัดยินดีในรูปนามนั้น เมื่อคลายกำหนัดได้แล้ว ย่อมปรารถนาความหลุดพ้นจากสภาพของรูปนามนั้น ย่อมแสวงหาวิธีการหลุดพ้นจากรูปนาม ด้วยการฝึกฝนพัฒนาสติปัญญาของตนให้แก่กล้ายิ่งขึ้นโดยลำดับ จนสามารถเข้าถึงสภาพที่สามารถประหาณอนุสัยกิเลสและรับรู้พระนิพพานเป็นอารมณ์ได้โดยลำดับ ในเวลานั้น จึงเปลี่ยนสภาพจากมหากุศลจิตมาเป็นสภาพของโลกุตตรจิต


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |