| |
รูปปวัตติกกมนัย   |  

ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนีรุ.๖๔๑ ได้แสดงถึงความเป็นไปของรูปไว้ดังต่อไปนี้

คำว่า ยถารหํ แปลว่า ตามสมควร มีความหมายว่า ตามสมควรแก่รูปที่มีภาวรูปหรือไม่มีภาวรูป และรูปที่มีอินทรีย์ครบหรือไม่มีอินทรีย์ครบ

คำว่า อนูนานิ แปลว่า ครบถ้วน เพราะปราศจากรูปที่ไม่เกิดขึ้นในปวัตติกาลในกามภูมิ

ในคัมภีร์วิภาวินีกล่าวว่า “คำว่า ยถารหํ แปลว่า ตามสมควร มีความหมายว่า ตามสมควรแก่ผู้มีภาวรูปและมีอายตนะครบถ้วน” ข้อความนั้นไม่งาม เพราะคำว่า อนูนานิ ที่แปลว่า ครบถ้วน นี้ ไม่ใช่บทวิเสสนะโดยเนื่องกับบุคคล

ในคำว่า “สํเสทชานญฺเจว โอปปาติกานญฺจ” แปลว่า [ย่อมปรากฏ] แก่สัตว์ผู้เกิดในที่ชื้นแฉะและโอปปาติกะ เป็นอย่างมาก นี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ในมหาสีหนาทสูตรว่า “จตสฺโส โข อิมา สาริปุตฺต โยนิโย ฯ กตมา จตสฺโส, อณฺฑชา โยนิ ชลาพุชา โยนิ สํเสทชา โยนิ โอปปาติกา โยนีติ ฯ เย โข เต สาริปุตฺต สตฺตา อณฺฑโกสํ อภินิพฺภิชฺช อภินิพฺภิชฺช ชายนฺติ, อยํ วุจฺจติ สาริปุตฺต อณฺฑชา โยนิ ฯ เย โข เต สาริปุตฺต สตฺตา วตฺถิโกสํ อภินิพฺภิชฺช อภินิพฺภิชฺช ชายนฺติ ฯ อยํ วุจฺจติ สาริปุตฺต ชลาพุชา โยนิ ฯ เย โข เต สาริปุตฺต สตฺตา ปูติมจฺเฉ วา ชายนฺติ ฯ ปูติกุณเป วา ปูติกุมฺมาเส วา จนฺทนิกาเย วา โอฬิคลฺเคฺล วา ชายนฺติ, อยํ วุจฺจติ สาริปุตฺต สํเสทชา โยนิ ฯ เทจฺเจ จ มนุสฺสา เอกจฺเจ จ วินิปาติกา อยํ วุจฺจติ สาริปุตฺต โอปปาติกา โยนิรุ.๖๔๒ แปลความว่า ดูกรสารีบุตร กำเนิดมี ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน ? คือ กำเนิดที่มีในฟองไข่ กำเนิดที่มีในครรภ์ กำเนิดที่มีในที่ชื้นแฉะ และกำเนิดที่ผุดเกิดทันที ดูกรสารีบุตร เหล่าสัตว์ใดเกิดออกจากฟองไข่ นี้คือกำเนิดที่มีในฟองไข่ เหล่าสัตว์ใดเกิดออกจากมดลูก นี้คือกำเนิดที่มีในมดลูก เหล่าสัตว์ใดเกิดในปลาเน่าบ้าง ศพเน่าบ้าง ขนมเน่าบ้าง โคลนบ้าง บ่อน้ำครำบ้าง นี้คือกำเนิดที่มีในที่ชื้นแฉะ เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางคน และวินิปาติกาสูร นี้คือกำเนิดโอปปาติกะรุ.๖๔๓

ในคัมภีร์อรรถกถากล่าวว่า “อณฺเฑ ชาตา อณฺฑชา ฯ ชลาพุมฺหิ ชาตา ชลาพุชา ฯ สํเสเท ชาตา สํเสทชา วินา เอเตหิ การเณหิ อุปฺปติตฺวา วิย นิพฺพตฺตา อภินิพฺพตฺตาติ โอปปาติกาฯ อภินิพฺภิชฺช ชายนฺตีติ ภินฺทิตฺวา อุปฺปติตฺวา วิย นิพฺพตฺตา อภินิพฺพตฺตาติ โอปปาติกาฯ อภินิพฺภิชฺช ชายนฺตีติ ภินฺทิตฺวา นิกฺขมนวเสน ชายนฺติ ฯ ปูติกุณเปติอาทีหิ อนิฏฺฏฺานาเนว ทสฺสิตานิ ฯ อิฏฺเสุ สปฺปิเตลมธุผาณิตาทีสุ สตฺตา ชายนฺติเอวรุ.๖๔๔ แปลความว่า อัณฑชะ คือ เหล่าสัตว์ผู้เกิดในฟองไข่, ชลาพุชะ คือ เหล่าสัตว์ผู้เกิดในมดลูก, สังเสทชะ คือ เหล่าสัตว์ผู้เกิดในที่ชื้นแฉะ, โอปปาติกะ คือ เหล่าสัตว์ผู้เกิดเหมือนผุดขึ้นมาโดยปราศจากเหตุเหล่านั้น พระดำรัสว่า “เกิดออกมา” คือ เกิดขึ้นโดยออกมา พระดำรัสว่า “ศพเน่า” เป็นต้น แสดงอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา แต่ก็มีเหล่าสัตว์ที่เกิดขึ้นในอารมณ์ที่น่าปรารถนา เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เป็นต้นรุ.๖๔๕

พึงทราบความหมายตามนัยแห่งพระบาลีในบท ๒ บทแรก [คือ อณฺฑช และ ชลาพุช] ดังนี้

อัณฑะ คือ ฟองไข่

ชลาพุ คือ มดลูก

อัณฑชะ หมายถึง เหล่าสัตว์ผู้เกิดคือออกมาจากฟองไข่

ชลาพุชะ หมายถึง เหล่าสัตว์ผู้เกิดคือออกมาจากมดลูก

ในเรื่องนี้ สัททนีติปกรณ์กล่าวว่า “ชรํ ชีรณํ เภทํ ยาติ อุเปตีติ ชลาพุรุ.๖๔๖ แปลความว่า ชลาพุ คือ อวัยวะที่เข้าถึงความเสียหาย

อีกนัยหนึ่ง คำว่า ชละ คือ น้ำใสที่เกิดครั้งแรกในครรภ์

ชลาพุ คือ อวัยวะปิดบังน้ำใส หรืออวัยวะรักษาน้ำใส หมายถึง มดลูกที่ห่อหุ้มครรภ์

เพราะฉะนั้น เมื่อสรุปความแล้ว ชลาพุ ย่อมมีความหมาย ๓ ประการ คือ

๑. อวัยวะที่เข้าถึงความเสียหาย ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “ชรํ ชีรณํ เภทํ ยาติ อุเปตีติ ชลาพุ” แปลความว่า อวัยวะใดย่อมเข้าถึงความเสียหาย เพราะเหตุนั้น อวัยวะนั้น ชื่อว่า ชลาพุ

๒. อวัยวะที่ปิดบังน้ำใส ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “ชลํ อาวุนาติ ปฏิจฺฉาเทตีติ ชลาพุ”แปลความว่า อวัยวะใดย่อมปิดบังน้ำใสไว้ เพราะเหตุนั้น อวัยวะนั้น ชื่อว่า ชลาพุ

๓. อวัยวะที่รักษาน้ำใสดังมีวจนัตถะแสดงว่า “ชลํ อวติ รกฺขตีติ ชลาพุ” แปลความว่า อวัยวะใดย่อมรักษาไว้ซึ่งน้ำใส เพราะเหตุนั้น อวัยวะนั้น ชื่อว่า ชลาพุ

สังเสทชะ คือ ที่ชื้นแฉะ หมายถึง ที่เปียกชุ่ม มีปลาเน่า เนยใส และน้ำมัน ภายในดอกบัว ภายในปล้องไม้ไผ่ โพรงไม้ ดอกไม้ และผลไม้ เป็นต้น

โอปปาติกะ คือ เหล่าสัตว์ที่เกิดเหมือนผุดขึ้นมาจากที่นั้น ๆ เพราะมีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วนในขณะอุบัติ

ส่วนในคัมภีร์วิภาวินีได้แสดงความสงสัยในความเป็นโอปปาติกะของอัณฑชะเป็นต้นว่า อัณฑชะที่เกิดในฟองไข่ ก็เหมือนผุดขึ้นมาเช่นกัน แล้วแสดงรูปวิเคราะห์ว่า “โอปปาติกะ คือ เหล่าสัตว์ที่มีการผุดเกิด” ต่อมาได้กล่าวว่า “ในที่นี้หมายความถึงการผุดเกิดพิเศษ [คือผุดเกิดแล้วเติบโตทันที] ด้วยอำนาจการกำหนดที่สูงสุด เหมือนคำว่า ควรให้หญิงสาวแก่หนุ่มรูปงาม”รุ.๖๔๗

คำว่า อุกฺกฏฺวเสน แปลว่า เป็นอย่างมาก มีความหมายว่า เป็นอย่างมาก คือ มีภาวรูปและอายตนะครบถ้วน

บรรดาสัตว์ผู้เกิดในที่ชื้นแฉะและโอปปาติกะนั้น โอปปาติกะเกิดขึ้นด้วยอัตภาพที่มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วนทั้งหมด ไม่มีการเจริญเติบโตขึ้นอีก ส่วนสัตว์ผู้เกิดในที่ชื้นแฉะมีอายตนะครบถ้วน แต่อวัยวะน้อยใหญ่มีการเจริญเติบโตขึ้นอีก จนกว่าจะเต็มบริบูรณ์

คำว่า โอมกวเสน แปลว่า เป็นอย่างต่ำ

คำว่า “จกฺขุโสตฆานภาวทสกานิ กทาจิ น ลพฺภนฺติ” แปลความว่า แต่ในบางครั้ง จักขุทสกะ โสตทสกะ ฆานทสกะ และภาวทสกะ ย่อมไม่ปรากฏ หมายความว่า เพราะมีคนตาบอดแต่กำเนิด คนหูหนวกแต่กำเนิด คนจมูกไม่รู้กลิ่นแต่กำเนิด และผู้ไม่มีเพศแต่กำเนิด

ทสกะทั้งหมดย่อมไม่ปรากฏบางคราวแก่สัตว์ผู้เกิดในที่ชื้นแฉะ ผู้เป็นอเหตุกบุคคลมีกำเนิดในสุคติภูมิและทุคติภูมิ ส่วนความเป็นโอปปาติกะในสุคติภูมิเป็นการเกิดอัตภาพที่ประเสริฐ จึงได้รับด้วยกรรมอันประเสริฐอย่างใดอย่างหนึ่ง โอปปาติกะในสุคติภูมิจึงไม่มีอินทรีย์บกพร่อง ยกเว้นคนต้นกัปผู้ไม่มีภาวรูป ส่วนความบกพร่องของจักขุประสาท โสตประสาท และภาวรูปของโอปปาติกะผู้กำเนิดในทุคติภูมิย่อมมีได้ในบางคราว แต่ความบกพร่องของฆานประสาทย่อมไม่มี ดังสาธกในคัมภีร์อรรถกถาว่า“กามธาตุยํ ปน อฆานโก โอปปาติโก นตฺถิรุ.๖๔๘ แปลความว่า โอปปาติกะผู้ไม่มีฆานประสาทในกามภูมิย่อมไม่มี

ความบกพร่องของชิวหาประสาทย่อมไม่มีแก่เหล่าสัตว์ทั้งหมด ดังสาธกในธัมมหทยวิภังค์ว่า “กามธาตุยา อุปปตฺติกฺขเณ กสฺสจิ เอกาทสายตนานิ ปาตุภวนฺติ ฯ กสฺสจิ ทส ฯ กสฺสจิ อปรานิ ทส ฯ กสฺสจิ นว ฯ กสฺสจิ สตฺตายตนานิ ปาตุภวนฺติฯรุ.๖๔๙ แปลความว่า อายตนะ ๑๑ อย่างย่อมปรากฏแก่บางคนในขณะปฏิสนธิในกามภูมิ อายตนะ ๑๐ อย่างย่อมปรากฏแก่บางคน อายตนะ ๑๐ อย่างอื่นอีกย่อมปรากฏแก่บางคน อายตนะ ๙ อย่างย่อมปรากฏแก่บางคน อายตนะ ๗ อย่างย่อมปรากฏแก่บางคน

ในพระบาลีนั้น พระดำรัสว่า กามธาตุยํ แปลว่า ในกามภูมิ

พระดำรัสว่า อุปปตฺติกฺขเณ แปลความว่า ในขณะปฏิสนธิ คือ ในขณะเกิดปฏิสนธิจิต

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัตว์ผู้เกิดในที่ชื้นแฉะและโอปปาติกะ ใน ๔ ประโยคที่ขึ้นต้นว่า กสฺสจิ เอกาทสายตนานิ [อายตนะ ๑๑ อย่างย่อมปรากฏแก่บางคน] เป็นต้น ส่วนประโยคว่า กสฺสจิ สตฺตายตนานิ [อายตนะ ๗ อย่างย่อมปรากฏแก่บางคน] นี้หมายถึง ผู้ถือกำเนิดในครรภ์

ในพระบาลีนั้น อายตนะ ๗ อย่างย่อมไม่ปรากฏในขณะปฏิสนธิกาล แต่ปรากฏในปวัตติกาลเท่านั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอกาทสายตนานิ [อายตนะ ๑๑ อย่าง]

พระดำรัสว่า กสฺสจิ ทส [อายตนะ ๑๐ อย่างย่อมปรากฏแก่บางคน] ตรัสไว้ด้วยความบกพร่องของจักขุประสาท

พระดำรัสว่า กสฺสจิ อปรานิ ทส [อายตนะ ๑๐ อย่างอื่นอีกย่อมปรากฏแก่บางคน] ตรัสไว้ด้วยความบกพร่องของโสตประสาท

พระดำรัสว่า กสฺสจิ นว [อายตนะ ๙ อย่าง ย่อมปรากฏแก่บางคน] ตรัสไว้ด้วยความบกพร่องของจักขุประสาทและโสตประสาท

ถ้ามีโอปปาติกะผู้ไม่มีฆานประสาทแล้วไซร้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ควรตรัสทสกกลาป ๓ ครั้ง พร้อมทั้งผู้ไม่รู้กลิ่นแต่กำเนิด และควรตรัสนนวกกลาป ๓ ครั้งพร้อมทั้งคนตาบอดแต่กำเนิดและคนไม่รู้กลิ่นแต่กำเนิด กับคนหูหนวกแต่กำเนิดและคนไม่รู้กลิ่นแต่กำเนิด พร้อมด้วยอัฏฐกกลาป ๑ ครั้งโดยจำแนกตามคนวิบัติ ๓ จำพวก แต่เมื่อพระองค์มิได้ตรัสไว้เช่นนั้นจึงรู้ได้ว่าไม่มีโอปปาติกะผู้ไม่มีฆานประสาท ส่วนโอปปาติกะผู้ปราศจากภาวรูป ย่อมไม่มี ยกเว้นมนุษย์ต้นกัปป์ เพราะในอินทรียวาระในคัมภีร์วิภังค์ไม่ได้ตรัสว่า “โอปปาติกะ ผู้เป็นบัณเฑาะก์”

การที่สัตว์ผู้เกิดในที่ชื้นแฉะมีจักขุประสาทเป็นต้นบกพร่องตามที่กล่าวแล้ว แม้ไม่ตรัสไว้ในพระบาลีก็รู้ได้ชัดเจนตามคัมภีร์อรรถกถา สมจริงดังสาธกว่า “สตฺตติ อุกฺกํสโตว รูปานิ สํเสทโชปปาตโยนีสุ อถวา อวกํสโต ตึสรุ.๖๕๐ แปลความว่า รูป ๗๐ อย่าง มีได้เป็นอย่างมากในกำเนิดของสัตว์ผู้เกิดในที่ชื้นแฉะและโอปปาติกะ หรือรูป ๓๐ อย่างมีได้เป็นอย่างต่ำ

ในพากย์นั้น คำว่า “รูป ๓๐ อย่าง” คือ รูป ๓๐ อย่างโดยประเภทแห่งชิวหาทสกกลาป กายทสกกลาป และวัตถุทสกกลาป ในคัมภีร์มหาฎีกากล่าวว่า “อิทญฺหิ วจนํ สํเสทชานํ วเสน วุตฺตํรุ.๖๕๑ แปลความว่า ข้อความนี้กล่าวไว้โดยเนื่องกับสัตว์ผู้เกิดในที่ชื้นแฉะ

อาจารย์อานันทเถระดำริว่า ในคัมภีร์ยมกตรัสว่าฆานประสาทและชิวหาประสาทดำเนินไปร่วมกัน ท่านจึงประสงค์ว่า ความบกพร่องของฆานประสาทย่อมไม่มี เหมือนความบกพร่องของชิวหาประสาทที่ไม่มีเช่นกัน แต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอินทรียยมกว่า

ยสฺส วา ปน อิตฺถินฺทฺริยํ อุปฺปชฺชติ, ตสฺส ฆานินฺทฺริยํ อุปฺปชฺชตีติ ฯ อฆานกานํ อิตฺถีนํ อุปปชฺชนฺตานํ ตาสํ อตฺถินฺทฺริยํ อุปฺปชฺชติ, โน จ ตาสํ ฆานินฺทฺริยํ อุปฺปชฺชตีติ จ

ยสฺส วา ปน ปุริสินฺทฺริยํ อุปฺปชฺชนฺติ, ตสฺส ฆานินฺทฺริยํ อุปฺปชฺชตีติ ฯ อฆานกานํ ปุริสานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ปุริสินฺทฺริยํ อุปฺปชฺชติ, โน จ เตสํ ฆานินฺทฺริยํ อุปฺปชฺชตีติฯรุ.๖๕๒

แปลความว่า ถามว่า อิตถินทรีย์ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลใด ฆานินทรีย์ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นหรือ ?

ตอบว่า อิตถินทรีย์ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นผู้เป็นสตรีที่ไม่มีฆานประสาทผู้กำลังอุบัติเกิดอยู่ แต่ฆานินทรีย์ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่สตรีเหล่านั้น

ถามว่า ปุริสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลใด ฆานินทรีย์ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นหรือ ?

ตอบว่า ปุริสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นผู้เป็นบุรุษที่ไม่มีฆานประสาทผู้กำลังอุบัติเกิดอยู่ แต่ฆานินทรีย์ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่บุรุษเหล่านั้น

ความบกพร่องของฆานประสาทจึงมีได้ตามนัยที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถา

ในคัมภีร์วิภาวินีกล่าวว่า “อาจารย์ท่านอื่นกล่าวว่า ในคัมภีร์ยมกตรัสการเกิดร่วมกันของฆานประสาทและชิวหาประสาท แล้วแสดงความไม่มีผู้ที่ปราศจากฆานประสาท เพราะไม่มีผู้ที่ปราศจากชิวหาประสาท แต่อาจกล่าวได้ว่า ในคัมภีร์ยมกได้ตรัสการเกิดร่วมกันของฆานประสาทและชิวหาประสาท ด้วยการไม่เกิดขึ้นแยกกันในกามภูมิ เพราะประสาทรูปเหล่านั้นไม่เกิดแยกกัน เนื่องจากทั้ง ๒ อย่างไม่เกิดในรูปภูมิ เหมือนจักขุประสาทและโสตประสาทที่เกิดในรูปภูมิได้โดยปราศจากฆานประสาทและชิวหาประสาท” ข้อความนั้น ย่อมสมควร เพราะการเกิดร่วมกันแน่นอนในบุคคลไม่อาจกล่าวได้โดยอ้างพระดำรัสที่ตรัสการเกิดร่วมกันแน่นอนในวาระแสดงสถานที่ [โอกาสวาระ]

คำว่า คัพภเสยยกะ คือ เหล่าสัตว์ผู้ถือกำเนิดในครรภ์ คือ ท้องของมารดา

คำว่า สัตว์ คือ ผู้ผูกพันในขันธ์มีรูปเป็นต้น ดังพระพุทธภาษิตเป็นต้นว่า “รูเป โข ราธ โย ฉนฺโท, โย ราโค, ยา นนฺทิ, ยา ตณฺหา, ตตฺร สตฺโต, ตตฺร วิสตฺโต, เตน สตฺโตติ วุจฺจติรุ.๖๕๓ แปลความว่า ดูกรราธะ ผู้ผูกพันยึดมั่นในความปรารถนา ความกำหนัด ความเพลิดเพลินยินดี เรียกว่า สัตว์ [ผู้ผูกพัน] ด้วยเหตุนั้น

พึงกระทำสมาสว่า “คัพภเสยยกะ” คือ เหล่าสัตว์ผู้ถือกำเนิดในครรภ์ หมายถึง เหล่าสัตว์ที่เกิดในฟองไข่และในมดลูก

ทสกะทั้ง ๓ กลุ่ม คือ น้ำใสที่เกิดครั้งแรกในครรภ์ [น้ำกลละ] ย่อมปรากฏ

พึงทราบความหมายว่า บางครั้งภาวทสกะไม่ปรากฏแก่บัณเฑาะก์ ดังในธัมมหทยวิภังค์ตรัสว่า “คพฺภเสยฺยกานํ สตฺตานํ อเหตุกานํ นปุงฺสกานํ อุปปตฺติกฺขเณ จตฺตารินฺทฺริยานิ ปาตุภวนฺติ กายินฺทฺริยํ มนินฺทฺริยํ ชีวิตินฺทฺริยํ อุเปกฺขินฺทฺริยํรุ.๖๕๔ แปลความว่า อินทรีย์ ๔ อย่าง คือ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ และอุเปกขินทรีย์ ย่อมปรากฏในขณะปฏิสนธิแก่เหล่าสัตว์ผู้ถือกำเนิดในครรภ์ เป็นบัณเฑาะก์ผู้ไม่มีเหตุ

คำว่า ตโต ปรํ [ถัดจากนั้น] คือ ถัดจากขณะปฏิสนธิของเหล่าสัตว์ผู้ถือกำเนิดในครรภ์

คำว่า ปวตฺติกาเล [ในปวัตติกาล] คือ ในสัปดาห์ที่ ๑๑ ดังสาธกในอรรถกถาของคัมภีร์กถาวัตถุว่า “เสสานิ จตฺตาริ สตฺตสตฺตติรตฺติมฺหิ ชายนฺติรุ.๖๕๕ แปลความว่า อายตนะที่เหลือ ๔ อย่างย่อมเกิดในราตรีที่ ๗๗

ในพากย์นนั้น คำว่า “อายตนะที่เหลือ” คือ อายตนะ ๔ อันได้แก่ จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ และชิวหายตนะ ที่เหลือจากกายายตนะและมนายตนะ

คำว่า “ในราตรีที่ ๗๗” คือ ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ที่ ๑๑

ข้อความนี้พึงแสดงด้วยคัมภีร์ฎีกาของยมก ดังสาธกในคัมภีร์นั้นว่า

“คพฺภเสยฺยกสฺส ปจฺฉิมภวิกสฺส อุปปชฺชนฺตสฺส เอกาทสมสตฺตาหา โอรโต ตสฺส รูปายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ, โน จ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสตีติ ฯ ยํ ปน “ยสฺส วา ปน ยตฺถ รูปายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ, ตสฺส ตตฺถ ฆานายตนํ อุปฺปชฺชตีติ ฯ กามาวจรา จวนฺตานํ อฆานกานํ กามาวจรํ อุปปชฺชนฺตานํ รูปาวจรานํ เตสํ ตตฺถ รูปายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ ฯ โน จ เตสํ ตตฺถ ฆานายตนํ อุปฺปชฺชตีติ เอตฺถ อฆานกานํ กามาวจรํ อุปปชฺชนฺตานํรุ.๖๕๖ แปลความว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “รูปายตนะจักไม่เกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้ถือกำเนิดในครรภ์ เกิดขึ้นดำรงอยู่ภายในสัปดาห์ที่ ๑๑ เป็นปัจฉิมภวิกบุคคล แต่จักขายตนะจักเกิดขึ้นโดยแท้” และตรัสว่า “ถามว่า : รูปายตนะเกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลใดในภูมิใด ฆานายตนะย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นในภูมินั้นหรือ ?

ตอบว่า : รูปายตนะเกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลเหล่านั้น คือ ผู้ที่จุติจากกามาวจรภูมิ ผู้ไม่มีฆานประสาท ถือปฏิสนธิอยู่ในกามาวจรภูมิ และรูปาวจรภูมินั้น แต่ฆานายตนะย่อมไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น”รุ.๖๕๗

ในพระบาลีนี้ พระดำรัสว่า “ผู้ไม่มีฆานประสาทถือปฏิสนธิอยู่ในกามาวจรภูมิ” หมายถึง เหล่าสัตว์ที่จักเสียชีวิตภายในสัปดาห์ที่ ๑๑ เป็นผู้ถือปฏิสนธิด้วยกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดฆานายตนะรุ.๖๕๘

เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจักขายตนะและฆานายตนะไว้ในเรื่องนี้แล้ว แม้จะไม่ตรัสโสตายตนะและชิวหายตนะไว้ก็ตาม แต่ก็สำเร็จความหมายแล้วโดยปริยาย

ในคัมภีร์วิภาวินีกล่าวว่า “คำว่า ปวตฺติกาเล [ในปวัตติกาล] คือ ในสัปดาห์ที่ ๗” ข้อความนั้นไม่พึงเชื่อถือ เพราะขัดแย้งกับคัมภีร์อรรถกถา และฐานะเช่นนี้ควรเชื่อคัมภีร์อรรถกถาเป็นสำคัญ

ความที่กล่าวไว้ในคัมภีร์นั้นว่า “หรือในสัปดาห์ที่ ๑๑ ตามมติของพระฎีกาจารย์” ข้อความนั้นไม่งาม เพราะคำวินิจฉัยที่กล่าวโดยตรงในคัมภีร์อรรถกถาไม่ควรกล่าวว่า เป็นมติของพระฎีกาจารย์รุ.๖๕๙

ความที่กล่าวไว้ในคัมภีร์นั้นว่า “คำว่า กเมน [ตามลำดับ] มีความหมายว่า ตามลำดับอย่างนี้ คือ โสตทสกกลาปเกิดขึ้นถัดจากสัปดาห์หนึ่ง ภายหลังที่จักขุทสกกลาปปรากฏ ต่อจากนั้น ฆานทสกกลาปเกิดขึ้นถัดจากสัปดาห์หนึ่ง หลังจากนั้น ชิวหาทสกกลาป ก็เกิดขึ้นเมื่อล่วงอีกสัปดาห์หนึ่ง” ข้อความนั้นไม่สมควร เพราะขัดแย้งกับคัมภีร์อรรถกถาตามที่กล่าวมาแล้วรุ.๖๖๐

ความที่กล่าวไว้ในคัมภีร์นั้นว่า “โดยที่แท้จริงแล้ว ข้อความนี้กล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถา” ข้อความนั้นไม่สมควร เพราะไม่พบคัมภีร์อรรถกถาที่แสดงลำดับแห่งการเกิดขึ้นเช่นนี้

ถามว่า : ในอรรถกถาปฏิจจสมุปบาทกล่าวว่า “คพฺภเสยฺยกวเสน วา ปุริมํ ภวจกฺกํ วุตฺตํ ฯ อนุปุพฺพปวตฺติทีปนโตรุ.๖๖๑ แปลความว่า วนเวียนคือภพ [ที่มีอวิชชาเป็นเบื้องต้น มีเวทนาเป็นที่สุด] ซึ่งเป็นส่วนแรก ตรัสไว้โดยเนื่องกับเหล่าสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ เพราะแสดงความเป็นไปตามลำดับ [คือวิญญาณย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย] มิใช่หรือ ?

ตอบว่า : ข้อความนั้นกล่าวถึงบท ๕ บท ที่ปรากฏในพระบาลีตามลำดับของการเกิดขึ้นโดยความเป็นปัจจัยและปัจจยุปบัน [ผลที่เกิดจากปัจจัย] ขององค์ ๕ มีวิญญาณ เป็นต้น

ลำดับแห่งการเกิดขึ้นนั้นมีปฏิเสธไว้ในอรรถกถาของอายตนนิทเทศ ทั้งข้อที่ปฏิเสธไว้ในคัมภีร์อรรถกถาก็ไม่ควรกล่าวว่า พระอนุรุทธเถระ [พระอนุรุทธาจารย์] ได้แสดงข้อความนั้นด้วยคำว่า กเมน [ตามลำดับ] ในที่นี้ คำว่า กเมน จึงมีความหมายว่า “ตามลำดับแห่งการแสดง” และพึงสัมพันธ์กับบท [ที่เพิ่มเข้ามา] ว่า เทสิตานิ [ที่แสดงไว้แล้ว]รุ.๖๖๒

ส่วนในคัมภีร์สัจจสังเขปฎีกากล่าวว่า

“สาขาวตฺถํ อติกฺกเมน ปจฺฉา สตฺตเม สตฺตาเห จกฺขุโสตฆานชิวฺหาทสกา จ อุปฺปชฺชนฺติ ฯ ฎีกากาโร ปน เอกาทสเม สตฺตาเหติ อาหรุ.๖๖๓ แปลความว่า ทสกะ คือ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา ย่อมเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ ๗ ภายหลังเมื่อล่วงระยะสภาพที่เป็นปุ่มใหญ่ ๕ ปุ่ม แต่พระฎีกาจารย์กล่าวว่า “ในสัปดาห์ที่ ๑๑” ข้อความนั้นไม่สมควร

ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะและอภิธัมมัตถวิภาวินีรุ.๖๖๔ ท่านได้แสดงความหมายของรูปปวัตติกมนัยไว้ ดังต่อไปนี้

บัดนี้ เพื่อจะแสดงประวัติแห่งรูปตามที่กล่าวแล้วเหล่านั้น [หรือแห่งกลาปเหล่านั้น] ด้วยสามารถแห่งความคิด ด้วยสามารถแห่งปวัตติกาลและปฏิสนธิกาล และด้วยสามารถแห่งกำเนิด ท่านอาจารย์จึงได้กล่าวคำว่า สพฺพานิปิ ปเนตานิ เป็นอาทิ

บทว่า ยถารหํ มีความว่า โดยสมควรแก่สัตว์ผู้มีภาวรูปและอายตนะบริบูรณ์ พวกสัตว์ที่เกิดในที่หมักหมม มีดอกบัว มลทินครรภ์แห่งกุมาร เป็นต้น ชื่อว่า สังเสทชะ

เหล่าสัตว์ที่ชื่อว่า อุปปาติกะ [โอปปาติกะ] เพราะอรรถว่า ความผุดเกิดขึ้นมีแก่สัตว์เหล่านั้น ก็ในคำว่า อุปปาติกะ นี้ ท่านถือเอาความผุดขึ้นอันพิเศษ ด้วยสามารถกำหนดคติอย่างสูง ดุจอุทาหรณ์ในประโยคว่า อภิรูปสฺส กญฺา ทาตพฺพา [พึงยกนางสาวให้แก่บุรุษผู้มีรูปงาม]

คำว่า ๗ ทสกะย่อมปรากฏ ดังนี้ ท่านอาจารย์กล่าวไว้ เพราะ ๗ ทสกะมีได้ โดยความเป็นสัตว์มีอายตนะบริบูรณ์ คำว่า กทาจิ น ลพฺภนฺติปิ ดังนี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งสัตว์ผู้บอดแต่กำเนิด ผู้หนวกแต่กำเนิด ผู้ไม่มีฆานะแต่กำเนิด กะเทยและสัตว์ผู้เกิดในต้นกัปป์ บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า บรรดาสัตว์เหล่านั้น พวกอุปปาติกะที่บังเกิดในสุคติ ด้วยกรรมมีอานุภาพมาก ไม่ได้จักขุ โสตะ และฆานะ เพราะประกอบด้วยความบกพร่องแห่งอินทรีย์ เหล่าสังเสทชสัตว์ ไม่ได้ภาวรูป ด้วยสามารถแห่งอุปปาติกะผู้เกิดในปฐมกัปป์ แต่การไม่ได้จักขุ โสตะ และภาวรูปในทุคติภูมิ ด้วยสามารถแห่งสัตว์ผู้เป็นสังเสทชะและอุปปาติกะ แม้ทั้ง ๒ จำพวก การไม่ได้ฆานะ ด้วยสามารถแห่งสัตว์ผู้เป็นสังเสทชะจำพวกเดียว มิใช่ด้วยสามารถแห่งอุปปาติกะ

จริงอย่างนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอายตนะของอุปปาติกสัตว์ผู้มีอินทรีย์บริบูรณ์ว่ามี ๑๑ เว้นสัททายตนะ ของอุปปาติกะผู้บอดว่ามี ๑๐ เว้นจักขายตนะ ของอุปปาติกะผู้หนวกว่ามี ๑๐ เหมือนกัน เว้นโสตายตนะ ของอุปปาติกะผู้ทั้งบอดทั้งหนวกว่ามี ๙ เว้นจักขายตนะและโสตายตนะทั้ง ๒ นั้น ของคัพภเสยยกสัตว์ว่ามี ๗ เว้นอายตนะ คือ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา และสัททายตนะ โดยบาลีในธัมมหทยวิภังค์ว่า [ขันธ์ ๕ ย่อมปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก] ในขณะที่อุบัติในกามธาตุ อายตนะของสัตว์บางชนิดปรากฏมี ๑๑ บางชนิดมี ๑๐ บางชนิดมี ๙ บางชนิดมี ๗ ก็ถ้าอุปปาติกสัตว์ที่ไม่มีฆานะพึงมีไซร้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็พึงตรัสอายตนะ ๑๐ ไว้ ๓ หน ด้วยสามารถแห่งอุปปาติกสัตว์ผู้บอด อุปปาติกสัตว์ผู้หนวกและอุปปาติกสัตว์ผู้ไม่มีฆานะ ๙ อายตนะ ๓ หน ด้วยสามารถแห่งอุปปาติกสัตว์ผู้ทั้งบอดทั้งหนวก อุปปาติกสัตว์ผู้ทั้งบอดทั้งไม่มีฆานะ และ อุปปาติกสัตว์ผู้ทั้งหนวกทั้งไม่มีฆานะ และ ๘ อายตนะ ด้วยสามารถแห่งอุปปาติกสัตว์ผู้ทั้งบอดทั้งหนวกทั้งไม่มีฆานะ แต่พระองค์ไม่ได้ตรัสไว้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น ความวิกลด้วย ฆานะจึงไม่มีแก่อุปปาติกสัตว์ ดังนี้แล อีกประการหนึ่ง พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถายมกปกรณ์ว่า อุปปาติกสัตว์ที่ไม่มีฆานะนั้นไม่มี ถ้ามี สมเด็จพระผู้พระภาคเจ้าจะต้องตรัสว่า อายตนะของอุปปาติกสัตว์บางชนิดมี ๘ ดังนี้

ส่วนสังเสทชสัตว์ ไม่มีฆานะ อันใคร ๆ ไม่อาจค้านได้ เพราะพระบาลีมีอาทิว่า ในขณะที่อุบัติในกามธาตุ ดังนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอากำเนิดแห่งอุปปาติกสัตว์เท่านั้น ด้วยหมายเอาเฉพาะคัพภเสยยกสัตว์ เพราะเหตุที่การถือเอาอายตนะ ๘ ไม่มีแก่สัตว์จำพวกอื่นด้วย ส่วนคำใดในอรรถกถาว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอายตนะ ๑๑ สงเคราะห์สังเสทชกำเนิดไว้ในจำพวกอุปปาติกสัตว์ โดยเป็นกำเนิดที่มีอายตนะบริบูรณ์ แม้คำนั้น พระอรรถกถาก็กล่าวไว้ด้วยสามารถการสงเคราะห์สัตว์จำพวกสังเสทชะเฉพาะที่มีอายตนะบริบูรณ์เข้าในจำพวกอุปปาติกะ ส่วนอาจารย์พวกอื่น สันนิษฐานว่า ในคัมภีร์ยมกปกรณ์ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสฆานะและชิวหาว่า เป็นอายตนะที่มีปกติไปด้วยกัน ดังนี้แล้ว จึงทรงพรรณนาถึงความไม่มีแห่งสัตว์แม้ที่ไม่มีฆานะเท่านั้น เพราะสัตว์ที่ไม่มีชิวหานั้น ไม่มีเลย แม้ในยมกปกรณ์นั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสถึงฆานะและชิวหาเหล่านั้นว่าเป็นอายตนะที่เป็นไปร่วมกัน ด้วยสามารถความไม่เป็นไปในภพแผนกหนึ่ง ๆ โดยพระพุทธประสงค์อย่างนี้ว่า จักขุและโสตะ เว้นฆานะและชิวหาเสีย เป็นไปในรูปภพ ฉันใด ฆานะและชิวหาจะเว้นจากกันและกันเป็นไปฉันนั้นหามิได้ เพราะฆานะและชิวหาแม้ทั้ง ๒ ไม่เกิดในรูปภพ เพราะฉะนั้น ใคร ๆ จึงไม่อาจจะกล่าวว่า สัตว์จำพวกสังเสทชะไม่มีฆานะ ก็หามีไม่ ดังนี้แล

[อธิบายเวลารูปกลาปปรากฏแก่คัพภเสยยกสัตว์]

พวกสัตว์ที่ชื่อว่า คัพภเสยยกะ เพราะอรรถว่า นอนอยู่ในครรภ์คือท้องของมารดา คัพภเสยยกะเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า สัตว์ เพราะเป็นผู้ข้องในอารมณ์มีรูปเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า คัพภเสยยกสัตว์ ทสกะทั้ง ๓ ที่เรียกว่า กลลรูป ประมวลแล้วใสแจ๋ว ประมาณเท่าหยาดน้ำมันงาที่ไหลออกแล้ว เหลือติดปลายขนแกะเส้นหนึ่ง ซึ่งจุ่มลงไปในน้ำมันงาที่ใสแล้วยกขึ้น ย่อมปรากฏแก่สัตว์พวกอัณฑชะและชลาพุชะ อย่างนี้ ในบางคราว ก็ไม่มีกลลรูปด้วยอำนาจแห่งพวกสัตว์ไม่มีภาวรูป

บทว่า ตโต ปรํ คือ ต่อจากปฏิสนธิ

บทว่า ปวตฺติกาเล ความว่า เพียงในสัปดาห์ที่ ๗ หรือตามมติของพระฎีกาจารย์ในสัปดาห์ที่ ๑๑

บทว่า กเมน มีความว่า ตามลำดับอย่างนี้ คือ ล่วงไปได้ ๗ วัน นับแต่วันที่จักขุทสกะปรากฏ โสตทสกะย่อมปรากฏ ล่วงไปได้ ๗ วัน นับแต่วันที่โสตทสกะปรากฏนั้น ฆานทสกะย่อมปรากฏ ล่วงไปได้ ๗ วันนั้น ตั้งแต่วันที่ฆานทสกะปรากฏ ชิวหาทสกะย่อมปรากฏขึ้น จริงอยู่ แม้ในอรรถกถา พระอรรถกถาจารย์ก็ได้แสดงเนื้อความนี้ไว้เหมือนกัน

บทว่า ติกาลํ มีความว่า ตลอดเวลาที่ปฏิสนธิจิตตั้งอยู่ จริงอยู่ ความสืบต่อของรูปกลาป เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ย่อมยังอุตุชรูปให้เกิดขึ้นโดยลำดับเป็นต้นอย่างนี้ คือ ถึงฐานะแห่งฤดูแล้วย่อมยังสุทธัฏฐกรูป [สุทธัฏฐกกลาป] ให้เกิดขึ้นในฐีติขณะแห่งปฏิสนธิจิตนั้น และที่เกิดขึ้นแล้วในฐีติขณะถึงฐานะแห่งฤดูแล้ว ย่อมยังสุทธัฏฐกรูปให้เกิดในภังคขณะแห่งปฏิสนธิจิตนั้น

คำว่า โอชาผรณมุปาทาย มีความว่า จำเดิมแต่เวลาที่โอชะจากอาหารที่มารดากลืนกินเข้าไปแผ่ซ่านเข้าไปในสรีระตามแนวเส้นเอ็นสำหรับรับรสของคัพภเสยยกสัตว์ และจำเดิมแต่เวลาที่โอชะจากเสมหะที่อยู่ในปากเป็นต้น แผ่ซ่านเข้าไปในสรีระตามลำดับเส้นเอ็นสำหรับรับรสของพวกสัตว์ผู้เป็นสังเสทชะและอุปปาติกะ

จุติจิตเกิดก่อนภวังคจิตดวงที่ ๑๗ นี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ต่อจากจุติจิต กัมมชรูปยังไม่เกิดขึ้น เพราะไม่มีความตาย ในเมื่อกัมมชรูปนั้นบังเกิด สัตว์ที่ท่านเรียกว่า ตาย เพราะขาดกัมมชรูปไป สมดังที่ท่านพระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า

ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ คือ อายุ ๑ ไออุ่น ๑ วิญญาณ ๑

ละกายนี้ไปเมื่อใด เมื่อนั้น กายนั้น ก็ถูกทอดทิ้งนอนอยู่

เหมือนกับท่อนไม้อันไร้ประโยชน์ ฉันนั้น ฯ

บทว่า ปุเรตรํ ได้แก่ ในขณะแห่งจิตดวงที่ ๑๗ เกิดขึ้น ฯ ข้อว่า ตโตฯ เปฯ โวจฺฉิชฺชติ มีความว่า จิตตชรูปและอาหารชรูปตามที่เกิดแล้ว ต่อจากนั้น เป็นไปชั่วเวลาเล็กน้อยแล้วดับไป เพราะไม่มีความบังเกิดแห่งกัมมชรูปเหล่านั้น ในสันดานที่ไม่มีชีวิต แต่อาจารย์พวกอื่นพรรณนาว่า จิตตชรูปขาดไปก่อนจุติจิตทีเดียว

อาจารย์วรรณสิทธิ ไวทยะเสวีรุ.๖๖๕ อดีตประธานมูลนิธิแนบ มหานีรานนท์ได้แสดงเรื่องรูปปวัตติกกมนัยไว้ ดังต่อไปนี้

รูปปวัตติกกมนัย เป็นนัยแห่งการแสดงความเป็นไปของรูปธรรมตามลำดับ หรือนัยแห่งการเกิด-ดับของรูปธรรมตามลำดับ ความเป็นไปหรือความเกิดดับของรูปธรรม มีนัยแห่งการแสดง ๓ ประการ คือ ๑. ตามนัยแห่งภูมิ ๒. ตามนัยแห่งกาล ๓. ตามนัยแห่งกำเนิด

จักได้อธิบายขยายความนัยทั้ง ๓ ดังต่อไปนี้


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |