| |
อภิญญา ๖   |  

๑. อิทธิวิธิญาณ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้

๒. ทิพพโสตญาณ มีหูทิพย์

๓. เจโตปริยญาณ กำหนดรู้วาระจิตของบุคคลอื่นได้

๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติในอดีตได้

๕. ทิพพจักขุญาณ มีตาทิพย์

๖. อาสวักขยญาณ รู้ความสิ้นไปแห่งอาสวกิเลส

ในบรรดาอภิญญาทั้ง ๖ นี้ ข้อที่ ๑ ถึงข้อที่ ๕ จัดเป็นโลกียอภิญญา ซึ่งเป็นอภิญญาจิตที่เกิดได้ในปุถุชนและพระอริยบุคคลทั้งหลาย ส่วนข้อที่ ๖ คือ อาสวักขยญาณนั้น จัดเป็นโลกุตตรอภิญญา เพราะเป็นปัญญาญาณที่เกิดได้เฉพาะในพระอรหันต์เท่านั้น บุคคลอื่นมีไม่ได้ และเป็นปัญญาญาณที่ทำการประหาณอนุสัยกิเลสให้หมดสิ้นจากขันธสันดาน


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |