| |
ความเป็นไปของรูปทั้ง ๔ สมุฏฐาน   |  

เมื่อได้แสดงการเกิดขึ้นของรูปธรรมจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ในกามภูมิแล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงความเป็นไปของรูปธรรมเหล่านั้น ดังพระบาลีในสคาถวรรค ยักขสังยุตตว่า “อิจฺเจวํ ปฏิสนฺธิมุปาทาย กมฺมสมุฏฺานา ทุติยจิตฺตมุปาทาย จิตฺตสมุฏฺานา ติกาลมุปาทาย อุตุสมุฏฺานา โอชาผรณมุปาทาย อาหารสมุฏฺานา เจติ จตุสมุฏฺานรูปกลาปสนฺตติ กามโลเก ทีปชาลา วิย นทีโสโต วิย จ ยาวตายุกมพฺโภจฺฉินฺนา ปวตฺตติ”รุ.๖๗๓

แปลความว่า โดยนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ กัมมชรูปย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่อุปปาทักขณะของปฏิสนธิจิต จิตตชรูปย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่ปฐมภวังค์ อุตุชรูปย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิต อาหารชรูปย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่อาหารแผ่ซึมซาบเข้าไปในร่างกาย การสืบต่อแห่งรูปกลาปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ในกามภูมินี้ ย่อมเกิดได้อย่างไม่ขาดสาย จนตลอดชีวิต ประหนึ่งกระแสไฟฟ้าและกระแสน้ำ ฉันนั้น


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |