| |
ปฏิจจสมุปบาท   |  

ปฏิจจสมุปบาท หมายถึง ธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องประดุจลูกโซ่ หรือประดุจตาข่าย ซึ่งเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง ยากแก่การที่จะทำการพิจารณาให้เข้าใจโดยละเอียดครบถ้วนได้นอกจากพระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะพิจารณาให้เข้าใจโดยละเอียดทุกอย่างได้จิ.๘ ฉะนั้น เมื่อบุคคลไม่เข้าใจในหลักความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทดังกล่าวนี้แล้ว ก็ทำให้เกิดความสงสัยว่า จะเป็นไปเช่นนี้จริงหรือไม่ จะมีความลึกซึ้งเช่นนั้นจริงหรือเปล่า ควรจะนำมาศึกษาพิจารณาได้หรือ ไม่เป็นสิ่งที่เกินวิสัยของมนุษย์ไปหรือ ดังนี้ เป็นต้น ทำให้บุคคลนั้นไม่ตัดสินใจที่จะทำการศึกษาเรียนรู้ ไม่กำหนดพิจารณาให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปโดยลำดับ เมื่อเป็นเช่นนี้ ปัญญาบารมีที่จะพึงเกิดขึ้นจากการกำหนดพิจารณาข้ออรรถข้อธรรมในปฏิจจสมุปบาทนั้นก็เกิดขึ้นไม่ได้ ฉะนั้น จึงเรียกว่า วิจิกิจฉานิวรณ์ เพราะเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้น้อมไปในธรรมเหล่านั้นและขัดขวางปัญญาไม่ให้พิจารณาให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อความแห่งปฏิจจสมุปบาทอย่างละเอียดถี่ถ้วน จึงชื่อว่า เป็นเครื่องขัดขวางไม่ให้บุคคลนั้นใด้บรรลุถึงคุณความดียิ่ง ๆ ขึ้นไป


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |