| |
หน้าที่ของอเหตุกจิต ๑๘ ดวง   |  

จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ ทัสสนกิจ คือ รู้รูปารมณ์ทางจักขุทวาร

โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ สวนกิจ คือ รู้สัททารมณ์ทางโสตทวาร

ฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ ฆายนกิจ คือ รู้คันธารมณ์ทางฆานทวาร

ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ สายนกิจ คือ รู้รสารมณ์ ทางชิวหาทวาร

กายวิญญาณจิต ๒ ดวงทำหน้าที่ ผุสสนกิจ คือรู้โผฏฐัพพารมณ์ทางกายทวารกายวิญญาณจิต ๒ ดวงทำหน้าที่ผุสสนกิจ คือรู้โผฏฐัพพารมณ์ทางกายทวาร

สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวงทำหน้าที่ สัมปฏิจฉนกิจ คือ รับปัญจารมณ์ทางปัญจทวาร

อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ ๕ อย่าง คือ

๑. สันตีรณกิจ คือ ไต่สวนอารมณ์ ๕ ทางทวาร ๕

๒. ตทาลัมพนกิจ คือ หน่วงเหนี่ยวอารมณ์ต่อจากชวนะทางทวาร ๖

๓. ปฏิสนธิกิจ คือ เกิดในภพใหม่

๔. ภวังคกิจ คือ รักษาสภาพของบุคคลนั้นไว้ตลอดชาติหนึ่ง

๕. จุติกิจ คือ ตายจากภพชาติเก่า

โสมนัสสันตีรณจิต ๑ ดวง ทำหน้าที่ ๒ อย่าง คือ

๑. สันตีรณกิจ คือไต่สวนอารมณ์ที่เป็นอติอิฏฐารมณ์ ๕ [อารมณ์ที่น่าปรารถนาอย่างยิ่งทั้ง ๕ ได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์] ทางปัญจทวาร

๒. ตทาลัมพนกิจ คือ หน่วงเหนี่ยวอารมณ์ต่อจากชวนะทางทวาร ๖

ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง ทำหน้าที่ อาวัชชนกิจ คือ หน่วงเหนี่ยวอารมณ์มาสู่ปัญจทวาร

มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง ทำหน้าที่ ๒ อย่าง คือ

๑. อาวัชชนกิจ คือ หน่วงเหนี่ยวอารมณ์มาสู่มโนทวาร

๒. โวฏฐัพพนกิจ คือ ตัดสินอารมณ์ทางปัญจทวาร

หสิตุปปาทจิต ๑ ดวงทำหน้าที่ชวนกิจ คือ เสพอารมณ์เป็นกิริยาชวนะทางทวาร ๖ ของพระอรหันต์ที่เกิดในในปัญจโวการภูมิ ๒๒ คือ กามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๑๕ [เว้นอสัญญสัตตภูมิ] ซึ่งเกิดจากการได้ทำการพิจารณาถึงเหตุดีและเหตุไม่ดี หรือผลดี ผลชั่ว ได้แก่ อิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้น หรือจักเกิดขึ้นข้างหน้าของบุคคลนั้น ๆ ด้วยมหากิริยาญาณสัมปยุตตจิตแล้วย่อมเกิดปีติโสมนัส โดยพิจารณาว่า ท่านพ้นจากฐานะเหล่านั้นโดยเด็ดขาดแล้ว ไม่ต้องเวียนไปมีสภาพเป็นเช่นนั้นอีก ดังนี้เป็นต้น แล้วจึงทำการยิ้มแย้มออกมาด้วยสหิตุปปาทจิตอันสัมปปยุตต์ด้วยโสมนัสสเวทนา


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |