| |
อโนตตัปปเจตสิก   |  

อโนตตัปปเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ไม่สะดุ้งกลัวต่ออกุศลทุจริตต่างๆ มีกายทุจริต เป็นต้น อโนตตัปปเจตสิกนี้มีสภาพคล้ายกับอหิริกเจตสิก คือ ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาปและผลของบาปที่จะพึงเกิดขึ้นแก่ตนเอง ด้วยเหตุนี้ อหิริกะและอโนตตัปปะทั้ง ๒ ดวงจึงมักมาด้วยกันเสมอ ต่างกันแต่ว่า สาเหตุหรือเหตุใกล้ที่ทำให้เจตสิก ๒ ดวงนี้เกิดขึ้นนั้นต่างกัน กล่าวคือ เหตุใกล้ที่ทำให้อหิริกเจตสิกเกิดขึ้น ได้แก่ การไม่เคารพในคุณงามความดีของตน ส่วนเหตุใกล้ที่ทำให้ อโนตตัปปเจตสิกเกิดขึ้น ได้แก่ ความไม่เคารพคุณงามความดีของบุคคลอื่น แต่เมื่อว่าโดยสภาวะแล้ว ย่อมเป็นไปด้วยกันได้ กล่าวคือ เพราะความไม่เคารพตนเองและบุคคลอื่น จึงทำให้บุคคลกล้าทำบาปโดยไม่ละอายและไม่เกรงกลัวต่อบาป


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |