| |
จำแนกเวทนาโดยอารัมมณานุภวนลักขณนัย   |  

เวทนาเจตสิกนี้ เมื่อจำแนกประเภทโดยลักษณะแห่งการเสวยอารมณ์ เรียกว่า อารัมมณานุภวนลักขณนัย หมายความว่า เป็นนัยที่จำแนกความรู้สึกโดยลักษณะแห่งการเสวยอารมณ์ของเวทนา มี ๓ ประเภท คือ

๑. การเสวยอารมณ์บางครั้ง ก็รู้สึกสบาย เรียกว่า สุขเวทนา ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ประกอบกับสุขสหคตกายวิญญาณจิต ๑ และโสมนัสสสหคตจิต ๖๒ เป็นผู้รับรู้ความรู้สึกที่เป็นความสุขสบายในขณะที่รับรู้รสชาติของอติอิฏฐารมณ์ [อารมณ์ที่ดียิ่ง] หรือ อิฏฐมัชฌัตตารมณ์ [อารมณ์ที่ดีปานกลาง] ซึ่งเป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าชอบใจอย่างยิ่ง หรือ ระดับปานกลาง

๒. การเสวยอารมณ์บางครั้ง ก็รู้สึกไม่สบาย เรียกว่า ทุกขเวทนา ได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ประกอบกับทุกขสหคตกายวิญญาณจิต ๑ และโทสมูลจิต ๒ เป็นผู้รับรู้ความรู้สึกที่เป็นความทุกข์ ความไม่สบาย ในขณะที่รับรู้รสชาติของอนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าชอบใจ

๓. การเสวยอารมณ์บางครั้ง ก็รู้สึกปานกลาง ไม่ถึงกับทุกข์หรือไม่ถึงกับสุขเรียกว่า อทุกขมสุขเวทนา ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ประกอบกับอุเบกขาสหคตจิต ๕๕ เป็นผู้รับรู้ความรู้สึกที่เป็นไประดับปานกลาง ในขณะที่รับรู้รสชาติของอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดีปานกลาง หรือ อนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |