| |
อารมณ์ของสติ   |  

อนุสสติ เป็นอารมณ์ที่สติทำการระลึกถึงเนือง ๆ เพื่อทำจิตให้สงบระงับจากความฟุ้งซ่าน หรือสงบจากการรับอารมณ์หลากหลาย ให้สามารถตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวได้ เรียกว่า อนุสสติ มี ๑๐ ประการ คือ

๑. พุทธานุสสติ การตามระลึกถึงพระพุทธคุณเนือง ๆ

๒. ธัมมานุสสติ การตามระลึกถึงพระธรรมคุณเนือง ๆ

๓. สังฆานุสสติ การตามระลึกถึงพระสังฆคุณเนือง ๆ

๔. สีลานุสสติ การตามระลึกถึงศีลที่ตนรักษาดีแล้วเนือง ๆ

๕. จาคานุสสติ การตามระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้วเนือง ๆ

๖. เทวตานุสสติ การตามระลึกถึงคุณธรรมของเทวดาเนือง ๆ

๗. มรณานุสสติ การตามระลึกถึงความตายที่จะมีแก่ตนเนือง ๆ

๘. อุปสมานุสสติ การตามระลึกถึงพระนิพพานอันสงบระงับจากกิเลส

๙. กายคตาสติ การระลึกไปในกายให้เห็นว่าเป็นของไม่งาม

๑๐. อานาปานสติ การระลึกไปตามลมหายใจเข้าออก

สติปัฏฐาน หมายถึง ธรรมที่เป็นฐานที่ตั้งหรือเป็นอารมณ์ให้สติกำหนดระลึกรู้ มี ๔ ประการ คือ

๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตามระลึกไปในกายอยู่เนือง ๆ

๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตามระลึกไปในเวทนาอยู่เนือง ๆ

๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตามระลึกไปในจิตอยู่เนือง ๆ

๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตามระลึกไปในสภาวธรรมทั้งหลายอยู่เนือง ๆ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |