| |
สรุปความเรื่องอุชุกตาเจตสิก   |  

อุชุกตาเจตสิกทั้ง ๒ ดวง อยู่ในกลุ่ม โสภณราสี คือ หมวดโสภณเจตสิก ๒๕ และเป็น โสภณสาธารณเจตสิก คือ เจตสิกที่ประกอบกับโสภณจิตได้ทุกดวง

อุชุกตาเจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ เป็น นิยตโยคีเจตสิก คือ เจตสิกที่ประกอบกับจิตได้โดยแน่นอน หมายความว่า เมื่อระบุว่าประกอบกับจิตดวงใดแล้ว เมื่อจิตดวงนั้นเกิดขึ้น ย่อมมีอุชุกตาเจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ประกอบร่วมด้วยเสมอ โดยไม่มีกรณียกเว้น ได้แก่ การประกอบในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง

อุชุกตาเจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ เป็นสภาวธรรมที่ทำสัมปยุตตธรรม คือ จิตและเจตสิกอื่น ๆ ที่เกิดพร้อมกับตนให้มีความซื่อตรงดำรงมั่นอยู่ในการงานอันเป็นกุศลหรือในอารมณ์ที่ดีงาม สามารถต้านทานอำนาจกิเลสคือมารยา สาไถย เป็นต้น อันทำให้สัมปยุตตธรรมคือจิตและเจตสิกให้คดโกงนั้นมิให้กำเริบขึ้นและทำลายกำลังของกิเลสเหล่านั้นให้บรรเทาเบาบางลงจนหมดไปในที่สุด พร้อมกับสนับสนุนสัมปยุตตธรรมให้ดำเนินไปโดยสม่ำเสมอในแนวทางที่ถูกต้อง

อุชุกตาเจตสิก ย่อมเกิดร่วมกับเจตสิกได้ ๓๗ ดวง [เว้นตัวเอง] คือ

เมื่อประกอบกับโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง ย่อมเกิดพร้อมกับอัญญสมานเจตสิก ๑๓ และโสภณเจตสิก ๒๔ [เว้นอุชุกตาเจตสิกอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ระบุเป็นประธาน] ตามที่จิตแต่ละดวงนั้นจะมีเจตสิกอะไรประกอบร่วมด้วยได้ อุชุกตาเจตสิกย่อมเกิดพร้อมกับเจตสิกเหล่านั้นด้วย


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |