| |
เหตุให้เกิดปัญญา ๘ ประการ   |  

๑. วะยะปริณาเมนะ มีวัยอันเจริญ [ปัญญาทสกวัย]

๒. ยะสะปริณาเมนะ มียศอันเจริญ [มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง]

๓. ปริปุจฉายะ หมั่นไต่ถามข้อสงสัยอยู่เสมอ

๔. ติตถาวาเสนะ ไม่คบหาสมาคมกับคนเห็นผิด [ไม่อยู่ใกล้พวกอัญเดียรถีย์]

๕. โยนิโสมะนะสิกาเรนะ ทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย [พิจารณาเหตุผลให้ถ้วนถี่]

๖. ธัมมะสากัจฉายะ มีการสนทนาอรรถธรรมกับผู้รู้ตามกาลอันสมควร

๗. เส๎นหูปะวาเสนะ มีความรักใคร่ในอรรถในธรรม [ชอบสิ่งที่มีเหตุผล]

๘. ปะฏิรูปะเทสะวาเสนะ อยู่ในประเทศอันสมควร


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |