| |
ประโยชน์ของการเคี้ยวไม้ชำระฟันมี ๕ ประการ   |  

ส่วนบุคคลใดหมั่นในการเคี้ยวไม้ชำระฟันหรือขยันแฟรงฟันอยู่เสมอ บุคคลนั้นย่อมได้รับประโยชน์ ๕ ประการรุ.๑๗๔ กล่าวคือ

๑. จกฺขุสฺสํ โหติ นัยน์ตาแจ่มใส

๒. มุขํ น ทุคฺคนฺธํ โหติ ปากไม่มีกลิ่นเหม็น

๓. รสหรณิโย วิสุชฺฌนฺติ ลิ้นรับรสอาหารบริสุทธิ์ดี

๔. ปิตฺตํปิ เสมฺหํปิ ภตฺตํ น ปริโยนทฺธติ ดีและเสมหะไม่หุ้มห่ออาหาร

๕. ภตฺตมสฺส ฉาเทติ รับประทานอาหารอร่อย

สมดังที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในทันตกัฏฐสุตร ปัญจมปัณณาสก์ อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาตว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษเพราะไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ตาฟาง ๑ ปากเหม็น ๑ ประสาทที่นำรสอาหารไม่หมดจดดี ๑ เสมหะย่อมหุ้มห่ออาหาร ๑ อาหารย่อมไม่อร่อยแก่เขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษเพราะไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์เพราะเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ตาสว่าง ๑ ปากไม่เหม็น ๑ ประสาทที่นำรสอาหารหมดจดดี ๑ เสมหะย่อมไม่หุ้มห่ออาหาร ๑ อาหารย่อมอร่อยแก่เขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์เพราะเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้แล ฯ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |