| |
สัจจะ ๒ ประการ   |  

สัจจะ แปลว่า ความจริง แบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ

๑. สมมติสัจจะ ความจริงโดยสมมติ หมายถึง ความหมายหรือเรื่องราวที่สมมติขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมายให้รู้กัน และประพฤติปฏิบัติร่วมกันในยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง หรือในสังคมหนึ่งเท่านั้น ไม่มีอยู่จริงโดยสภาวะ ดังที่ทรงแสดงไว้ในพระสูตร พระวินัย และปุคคลบัญญัติ โดยมาก ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมตามความเป็นจริง ของชาวโลก เป็นสมมติโวหาร เรียกว่า โวหารเทศนา

๒. ปรมัตถสัจจะ ความจริงแท้ หมายถึง พระอภิธรรมที่เหลือ ๖ คัมภีร์ [เว้นปุคคลบัญญัติ] ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตามความเป็นจริงของสภาวะแห่งธรรมนั้นๆ เรียกว่า ปรมัตถเทศนา

การที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงสัจจะ ๒ ประการนี้ เพื่อประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลาย เพราะว่า เวไนยสัตว์บางเหล่านั้น ไม่เคยศึกษาเล่าเรียนและไม่เคยสดับรับฟังพระอภิธรรมในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ เลย ฉะนั้น เวไนยสัตว์เหล่านั้น จึงไม่สามารถที่จะฟังปรมัตถธรรมให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งได้โดยตรง ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงยกสมมติสัจจะ คือ เรื่องราวต่าง ๆ ที่เวไนยสัตว์เหล่านั้น จะพึงรู้ได้โดยง่ายขึ้นแสดงเป็นประธานก่อนแล้ว จึงทรงยกปรมัตถสัจจะแสดงประกอบต่อภายหลัง ส่วนเวไนยสัตว์เหล่าใด ที่ได้เคยศึกษาเล่าเรียนพระอภิธรรมมาแล้วเป็นอย่างดีในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ เวไนยสัตว์เหล่านั้น ก็มีปัญญาพอที่จะรับฟังปรมัตถธรรมให้เข้าใจอย่างละเอียดลึกซึ้งได้ พระองค์จึงทรงยกปรมัตถสัจจะล้วน ๆ ขึ้นแสดงแก่เวไนยสัตว์เหล่านั้น


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |