| |
วจนัตถะ [คำจำกัดความ] ของโผฏฐัพพรูป   |  

พระอาจารย์สัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ และอาจารย์วรรณสิทธิ ไวทยะเสวีรุ.๒๓๒ ได้แสดงความหมายและวจนัตถะของโผฏฐัพพรูปไว้ดังต่อไปนี้

โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ โผฏฐัพพะ หมายถึง รูปดิน รูปไฟ และรูปลม ที่กระทบกับกายประสาทได้ และทำให้กายวิญญาณจิตปรากฏเกิดขึ้น โผฏฐัพพะที่ปรากฏเป็นอารมณ์แก่กายวิญญาณนี้ มีชื่อว่า โผฏฐัพพารมณ์ ดังมีวจนัตถะแสดงว่า

ผุสิตพฺพนฺติ โผฏฺพฺพํ” แปลความว่า รูปใด อันกายวิญญาณจิตพึงถูกต้องสัมผัสได้ เพราะเหตุนั้น รูปนั้น จึงชื่อว่า โผฏฐัพพะ

บทสรุปของผู้เขียน:

ตามวจนัตถะที่ได้แสดงไปแล้วนี้ ย่อมสรุปความหมายได้ดังต่อไปนี้

โผฏฐัพพารมณ์ คือ สภาพ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง อันเป็นสภาพแห่งรูปดิน รูปไฟ และรูปลม ที่กระทบกับกายประสาทได้ ทำให้กายวิญญาณจิตและกายทวาริกจิตทั้งหลายปรากฏเกิดขึ้น ทางกายทวารเท่านั้น


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |