| |
หน้าที่ของกามาวจรโสภณจิต   |  

มหากุศลจิต ๘ ทำหน้าที่อย่างเดียว คือ ชวนกิจ หมายถึง การเสพอารมณ์โดยความเป็นมหากุศล อันจะส่งผลให้เป็นมหาวิปากจิตและอเหตุกกุศลวิปากจิต

มหาวิปากจิต ๘ ทำหน้าที่ ๔ อย่าง คือ

๑. ปฏิสนธิกิจ หมายถึง นำเกิดในภพภูมิใหม่ ในกามสุคติภูมิ ๗ คือ มนุษย์ภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ ภูมิใดภูมิหนึ่ง

๒. ภวังคกิจ หมายถึง การรักษาสถานภาพของบุคคลนั้นที่ปฏิสนธิจิตได้นำเกิดแล้วไว้จนกว่าวิปากจิตนั้นจะหมดกำลังลง เรียกว่า เป็นองค์แห่งภพ และทำหน้าที่เป็นมโนทวารให้มโนวิญญาณจิตเกิดขึ้นรับรู้ธัมมารมณ์ด้วย

๓. ตทาลัมพนกิจ หมายถึง การหน่วงเหนี่ยวหรือเสพกามอารมณ์ที่เหลือจากกามชวนจิตได้เสพผ่านไปแล้ว ถ้าอารมณ์นั้นยังเหลืออยู่อีก ๒ ขณะจิต ยังไม่ดับไป ตทาลัมพนะย่อมเกิดขึ้นเสพอารมณ์นั้นต่ออีก ๒ ขณะ แล้วอารมณ์นั้นก็หมดกำลังลงพอดี [หมายเอาเฉพาะกามอารมณ์ และกามบุคคล ในกามวิถี เท่านั้น]

๔. จุติกิจ หมายถึง การเคลื่อนจากภพชาติ หมายถึง การสิ้นไปจากภพชาติที่เกิดอยู่ คือ พาตายจากภพชาติที่ตนเองเกิดอยู่ในกามสุคติภูมินั้น ซึ่งเป็นวาระสุดท้ายของชีวิต ในภพชาตินั้น ๆ เป็นอันสิ้นสุดสภาพของบุคคลนั้นไป

มหากิริยาจิต ๘ ทำหน้าที่อย่างเดียว คือ ชวนกิจ เหมือนกับมหากุศลจิต


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |