| |
สรุปเรื่องทิฏฐิเจตสิก   |  

ทิฏฐิเจตสิก อยู่ในกลุ่ม อกุศลราสี คือ หมวดแห่งอกุศลเจตสิก ๑๔ เป็น โลติกเจตสิก คือ เจตสิกที่ประกอบได้เฉพาะในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ดวงซึ่งอยู่ในกลุ่มของโลภมูลจิตเท่านั้น

ทิฏฐิเจตสิก เป็น นิยตโยคีเจตสิก คือ เจตสิกที่ประกอบกับจิตได้โดยแน่นอน หมายความว่า เมื่อระบุว่า ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ดวง เมื่อทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น ย่อมมีทิฏฐิเจตสิกประกอบร่วมด้วยเสมอ โดยไม่มีกรณียกเว้น

ทิฏฐิเจตสิกย่อมเกิดร่วมกับเจตสิกได้ ๒๐ ดวง [เว้นทิฏฐิ] คือ

เมื่อประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ดวง ย่อมเกิดพร้อมกับอัญญสมานเจตสิก ๑๓ โมจตุกเจตสิก ๔ โลภเจตสิก ๑ ถีทุกเจตสิก ๒

ทิฏฐิเจตสิก บุคคลย่อมสามารถละได้เด็ดขาด ที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน ด้วยอำนาจแห่งโสดาปัตติมรรคญาณ เพราะฉะนั้น พระโสดาบันบุคคลทั้งหลายย่อมชำระล้างทิฏฐิเจตสิก คือ ความเห็นผิดทั้งหมดออกไปจากขันธสันดานได้อย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุนี้ พระอริยบุคคลทั้งหลายจึงไม่มีความเห็นผิดหลงเหลืออยู่ในจิตใจอีกเลย


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |