| |
มุสาวาท มีองค์ ๔ ประการ   |  

๑. อะนัตถะวัตถุ เรื่องราวที่ไม่เป็นความจริง

๒. วิสังวาทะนะจิตตะตา มีจิตคิดจะกล่าวเท็จ

๓. ปะโยโค ทำความพยายามที่จะกล่าวเท็จ

๔. ตะทัตถะวิชานะนัง บุคคลอื่นรู้ความหมายและเชื่อตามความที่มุสานั้น

มุสาวาทที่ครบองค์แห่งกรรมบถทั้ง ๔ ประการนี้ แม้ไม่ทำความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นที่หลงเชื่อก็ตาม แต่ก็ชื่อว่า ล่วงกรรมบถเหมือนกัน เพราะฉะนั้น มุสาวาทที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ จึงมี ๒ ชนิด คือ

๑. มุสาวาทชนิดไม่นำไปสู่อบาย ได้แก่ มุสาวาทที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ แต่มิได้ทำความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้หลงเชื่อ มุสาวาทชนิดนี้ ถือว่า ล่วงกรรมบถเหมือนกัน เพราะมีองค์ประกอบครบถ้วน แต่ไม่มีผลเสียหายร้ายแรงแก่บุคคลใด จึงไม่นำไปสู่อบายภูมิ

๒. มุสาวาทชนิดที่นำไปสู่อบายได้ ได้แก่ มุสาวาทชนิดที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ และทำความเสียหายให้แก่บุคคลผู้หลงเชื่อ ย่อมเป็นมุสาวาทที่ล่วงกรรมบถที่นำไปสู่อบายภูมิ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |