ไปยังหน้า : |
๑. ทุกขมโต | โดยความเป็นทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก | |
๒. ภยโต | โดยความเป็นของน่ากลัว | |
๓. อีติโต | โดยความเป็นเสนียดจัญไร | |
๔. อุปัททวโต | โดยความเป็นอันตราย ระทมทุกข์ อุบาทว์ | |
๕. อุปสัคคโต | โดยความเป็นอุปสรรค ขัดข้อง ขัดขวาง | |
๖. โรคโต | โดยความเป็นสิ่งเสียดแทง | |
๗. อาพาธโต | โดยความเป็นสภาพที่ป่วยไข้ | |
๘. คัณฑโต | โดยความเป็นประดุจหัวฝี | |
๙. สัลลโต | โดยความเป็นประดุจลูกศรปักอก | |
๑๐. อฆโต | โดยความเป็นสิ่งที่ไม่มีราคา | |
๑๑. อตาณโต | โดยความเป็นสิ่งที่พ้นวิสัยที่จะต้านทานได้ | |
๑๒. อเลณโต | โดยความเป็นสิ่งที่พ้นวิสัยที่จะป้องกันได้ | |
๑๓. อสรณโต | โดยความเป็นสิ่งที่พึ่งพิงไม่ได้ | |
๑๔. อาทีนวโต | โดยความเป็นสิ่งที่มีแต่โทษ | |
๑๕. ทุกขมูลโต | โดยความเป็นมูลแห่งความทุกข์ | |
๑๖. วธกโต | โดยความเป็นประดุจเพชฌฆาต | |
๑๗. สาสวโต | โดยความเป็นไปเพื่ออาสวะ [เป็นอารมณ์ของอาสวะ] | |
๑๘. มารามิสโต | โดยความเป็นเหยื่อแห่งมาร | |
๑๙. ชาติธัมมโต | โดยความเป็นสิ่งที่ให้มีความเกิดเป็นธรรมดา | |
๒๐. ชราธัมมโต | โดยความเป็นสิ่งที่ทำให้มีความแก่เป็นธรรมดา | |
๒๑. พยาธิธัมมโต | โดยความเป็นสิ่งที่ทำให้มีความเจ็บป่วยไข้เป็นธรรมดา | |
๒๒. โสกธัมมโต | โดยความเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้าโศกเป็นธรรมดา | |
๒๓. ปริเทวธัมมโต | โดยความเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความบ่นพร่ำรำพันเป็นธรรมดา | |
๒๔. อุปายาสธัมมโต | โดยความเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความคับแค้นใจเป็นธรรมดา | |
๒๕. สังกิเลสิกธัมมโต | โดยความเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้าหมองเป็นธรรมดา |
รวม ๒๕ ประการ จัดเข้าใน ๕ ขันธ์ จึงเป็น ๑๒๕ ประการ