| |
อเหตุกจิต มี ๑๘ ดวง คือ   |  

อกุศลวิปากจิต ๗ อเหตุกกุศลวิปากจิต ๘ อเหตุกกิริยาจิต ๓

อกุศลวิปากจิต มี ๗ ดวง คือ

๑. อุเปกขาสะหะคะตัง จักขุวิญญาณัง

จิตที่อาศัยจักขุวัตถุ เห็นรูปารมณ์ที่ไม่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉย ๆ

๒. อุเปกขาสะหะคะตัง โสตะวิญญาณัง

จิตที่อาศัยโสตวัตถุได้ยินเสียงที่ไม่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉย ๆ

๓. อุเปกขาสะหะคะตัง ฆานะวิญญาณัง

จิตที่อาศัยฆานวัตถุ ได้กลิ่นที่ไม่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉย ๆ

๔. อุเปกขาสะหะคะตัง ชิวหาวิญญาณัง

จิตที่อาศัยชิวหาวัตถุ ลิ้มรสที่ไม่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉย ๆ

๕. ทุกขะสะหะคะตัง กายะวิญญาณัง

จิตที่อาศัยกายวัตถุ ถูกต้องโผฎฐัพพารมณ์ที่ไม่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยทุกขเวทนา

๖. อุเปกขาสะหะคะตัง สัมปฎิจฉะนะจิตตัง

จิตที่รับปัญจารมณ์ที่ไม่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉย ๆ

๗. อุเปกขาสะหะคะตัง สันตีระณะจิตตัง

จิตที่ไต่สวนปัญจารมณ์ที่ไม่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉย ๆ

อเหตุกกุศลวิปากจิต มี ๘ ดวง คือ

๑. อุเปกขาสะหะคะตัง จักขุวิญญาณัง

จิตที่อาศัยจักขุวัตถุ เห็นรูปารมณ์ที่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉย ๆ

๒. อุเปกขาสะหะคะตัง โสตะวิญญาณัง

จิตที่อาศัยโสตวัตถุ ได้ยินเสียงที่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉย ๆ

๓. อุเปกขาสะหะคะตัง ฆานะวิญญาณัง

จิตที่อาศัยฆานวัตถุ ได้กลิ่นที่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉย ๆ

๔. อุเปกขาสะหะคะตัง ชิวหาวิญญาณัง

จิตที่อาศัยชิวหาวัตถุ ลิ้มรสที่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉย ๆ

๕. สุขะสะหะคะตัง กายะวิญญาณัง

จิตที่อาศัยกายวัตถุ ถูกต้องโผฎฐัพพารมณ์ที่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยสุขเวทนา

๖. อุเปกขาสะหะคะตัง สัมปฎิจฉะนะจิตตัง

จิตที่รับปัญจารมณ์ที่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉย ๆ

๗. อุเปกขาสะหะคะตัง สันตีระณะจิตตัง

จิตที่ไต่สวนปัญจารมณ์ที่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉย ๆ

๘. โสมะนัสสะสะหะคะตัง สันตีระณะจิตตัง

จิตที่ไต่สวนปัญจารมณ์ที่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความดีใจ

อเหตุกกิริยาจิต มี ๓ ดวง คือ

๑. อุเปกขาสะหะคะตัง ปัญจะท๎วาราวัชชะนะจิตตัง

จิตที่พิจารณาอารมณ์ทางปัญจทวารที่ดีและไม่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉย ๆ

๒. อุเปกขาสะหะคะตัง มะโนท๎วาราวัชชะนะจิตตัง

จิตที่พิจารณาอารมณ์ทางมโนทวารที่ดีและไม่ดี เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉย ๆ

๓. โสมะนัสสะสะหะคะตัง หะสิตุปปาทะจิตตัง

จิตที่ทำการยิ้มแย้มของพระอรหันต์ เกิดขึ้นพร้อมด้วยความดีใจ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |