| |
ลักษณะของบุคคลผู้หนักในสัทธาจริต ๗ ประการ   |  

๑. มัตตะจาคะตา เป็นผู้มีการเสียสละเป็นนิจทั้งด้านกำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญากำลังความรู้และกำลังความสามารถ เป็นต้น

๒. อริยานะทัสสะนะกามะตา มีความปรารถนาที่จะเห็นพระอริยเจ้า มีความนิยมชมชอบแนวทางของสัตบุรุษ ปรารถนาที่จะเข้าถึงสภาพอย่างนั้นด้วยตนเอง

๓. สัทธัมมัง โสตุกามะตา เป็นผู้ใคร่ในการฟังพระสัทธรรม คือ เป็นผู้ที่ชอบฟังแต่สิ่งที่เป็นสาระแก่นสาร โดยไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักเบื่อ เหมือนสามเณรราหุลพุทธชิโนรส เป็นตัวอย่าง

๔. ปาโมชชะพะหุละตา เป็นผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ คือ มีความร่าเริงบันเทิงใจในธรรมอันเป็นสาระแก่นสาร

๕. อะสะฐะตา เป็นคนไม่โอ้อวด มีความสันโดษ และชอบความเงียบสงัด

๖. อะมายาวิตา เป็นคนไม่มีมายา มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และบุคคลอื่น

๗. ปะสาทะนีเยสุ ฐาเนสุ ปะสาโท มักเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใสได้ง่ายและ รู้จักน้อมใจไปในสิ่งที่ควรเลื่อมใสได้ดี


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |