| |
ลักษณะของผู้ที่หนักในพุทธิจริต ๗ ประการ   |  

๑. โสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่าย คือ เชื่อฟังคำแนะนำสั่งสอนจากบุคคลอื่นด้วยการพินิจพิจารณาให้เห็นเหตุอันสมควรในเรื่องนั้น ๆ

๒. กัลยาณมิตตตา ชอบคบหาสมาคมกับมิตรที่ดีงามไม่ชอบคลุกคลีกับคนพาล สันดานหยาบ หรือไม่ชอบคบหากับบุคคลที่ไม่มีปัญญา

๓. โภชเน มัตตัญญุตา เป็นผู้ที่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง รับประทานพอประมาณ และรับประทานเฉพาะสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ตามใจกิเลสให้ลำบากตัว

๔. สติสัมปชัญโญ การเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ระลึกรู้สึกตัวอยู่เป็นนิตย์ ทำให้รู้จักคิดอ่านในสิ่งที่ดีงามอยู่เสมอ

๕. ชาคริยานุโยโค เป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรอย่างสม่ำเสมอ ในกิจการงานก็ดี ในการศึกษาเล่าเรียนก็ดี ในการประพฤติปฏิบัติก็ดี

๖. สังเวชนีเยสุ ฐาเนสุ สังเวโค มีความสลดใจในสิ่งที่ควรสลดทั้งหลาย อันก่อให้ เกิดกุศลจิตที่เกี่ยวเนื่องด้วยความสังเวช

๗. สังวิคคัสสะ โยนิโส ปะธาโน เป็นผู้มักตั้งความสลดใจไว้โดยอุบายอันแยบคาย คือ การพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบคอบ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |