| |
รูปกลาป มี ๒๓ กลาป   |  

พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงจำนวนรูปกลาปที่เกิดจากสมุฎฐานทั้ง ๔ ว่า มีทั้งหมด ๒๓ กลาป ดังหลักฐานคาถาสังคหบาลีคาถาที่ ๘ แสดงว่า

กมฺมจิตฺโตตุกาหาร-    สมุฎฺานา ยถากฺกมํ
นวฎฺ จตุโร เทฺวติ    กลาปา หิ เตวีสติ ฯ

แปลความว่า

รูปกลาปที่มีกรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นสมุฎฐานเหล่านี้ เมื่อว่าโดยจำนวนที่แท้จริงแล้ว ย่อมมีตามลำดับดังต่อไปนี้

กัมมชกลาป มี ๙ กลาป

จิตตชกลาป มี ๘ กลาป มีรูปปีกกาใหญ่ รวมเป็น ๒๓ กลาป

อุตุชกลาป มี ๔ กลาป

อาหารชกลาป มี ๒ กลาป

ในจำนวนรูปกลาปทั้ง ๒๓ กลาปนี้ เมื่อนับจำนวนรูปที่เกิดขึ้นแต่ละกลาปแล้ว ได้ ๒๓ รูป คือ ในรูป ๒๘ นั้น เว้นปริจเฉทรูป ๑ และลักขณรูป ๔ ซึ่งไม่นับเป็นองค์ของกลาปรูปออกเสียแล้ว จึงคงเหลือ ๒๓ รูป ดังมีคาถาสังคหบาลีคาถาที่ ๙ ซึ่งแสดงรูปที่ไม่นับเป็นองค์ของกลาปรูป ไว้ดังต่อไปนี้

กลาปานํ ปริจฺเฉท-    ลกฺขณตฺตา วิจกฺขณา
น กลาปงฺคมิจฺจาหุ    อากาสํ ลกฺขณานิ จ

แปลความว่า

ปริจเฉทรูป ๑ และลักขณรูป ๔ บัณฑิตทั้งหลายไม่แสดงว่า เป็นองค์ของกลาป เพราะรูปทั้ง ๕ เหล่านี้ เป็นเพียงส่วนแยกของรูปกลาป และเป็นเครื่องหมายของรูปกลาปเท่านั้น

หมายความว่า ปริจเฉทรูปนั้น เป็นรูปที่กำหนดขอบเขตระหว่างรูปกลาปหนึ่งต่อรูปกลาปหนึ่ง กล่าวคือ เป็นเพียงส่วนคั่นระหว่างของรูปกลาปทั้งหลายมิให้ติดกัน ทำให้อุตตมญาณมีวิปัสสนาปัญญาเป็นต้น มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นที่สุดสามารถพิจารณาเห็นความเป็นกลุ่มกองของรูปกลาปหนึ่ง ๆ ได้ ด้วยเหตุนี้ ปริจเฉทรูปท่านจึงไม่นับเข้าเป็นองค์ของกลาปรูป

ส่วนลักขณรูป ๔ นั้นเป็นรูปที่เป็นเครื่องหมายของรูปกลาป คือ อาการเกิดขึ้น อาการสืบต่อ อาการแก่ และอาการดับของรูปกลาป ด้วยเหตุนี้ ลักขณรูปทั้ง ๔ จึงไม่นับเข้าเป็นองค์ของรูปกลาปเช่นเดียวกัน

อธิบายรูปกลาป ๒๓ กลาป

ต่อไปนี้ จะได้อธิบายรายละเอียดของรูปกลาปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ซึ่งนับจำนวนได้ ๒๓ กลาป คือ

กัมมชกลาป ๙

ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนีรุ.๖๓๔ ได้แสดงถึงกัมมชกลาปไว้ ดังต่อไปนี้

คำว่า จักขุทสกะ คือ กลุ่มรูป ๑๐ รูปที่กำหนดด้วยจักษุ

อีกนัยหนึ่ง คำว่า จักขุทสกะ คือ กลุ่มรูปที่มีจักษุเป็นประธาน

เพราะฉะนั้น เมื่อสรุปความแล้ว คำว่า จักขุทสกะ จึงมีความหมาย ๒ ประการคือ

๑. กลุ่มรูป ๑๐ รูปที่กำหนดด้วยจักษุ ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “จกฺขุนา อุปลกฺขิตํ ทสกํ = จกฺขุทสกํ” แปลความว่า กลุ่มรูป ๑๐ รูปที่กำหนดด้วยจักษุ ชื่อว่า จักขุทสกะ

๒. กลุ่มรูปที่มีจักษุเป็นประธาน ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “จกฺขุปธานํ ทสกํ = จกฺขุทสกํ” แปลความว่า กลุ่มแห่งรูป ๑๐ รูป มีจักขุปสาทรูปเป็นประธาน ชื่อว่า จักขุทสกะ

แม้คำอื่นก็มีนัยเดียวกันนี้

จิตตชกลาป ๘

ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนีรุ.๖๓๕ ได้แสดงถึงจิตตชกลาปไว้ดังต่อไปนี้

จิตตชกลาป มีจำนวน ๘ กลาปรุ.๖๓๖ คือ

๑. สุทธัฏฐกกลาป หมายถึง กลุ่มรูป ๘ รูป มีเฉพาะอวินิพโภครูป ๘ ล้วน ๆ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ วัณณรูป ๑ คันธรูป ๑ รสรูป ๑ อาหารรูป ๑

๒. สัททนวกกลาป หมายถึง กลุ่มรูป ๙ รูป มีอวินิพโภครูป ๘ ที่เกิดพร้อมด้วยสัททรูป ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ วัณณรูป ๑ สัททรูป ๑ คันธรูป ๑ รสรูป ๑ อาหารรูป ๑

๓. กายวิญญัตตินวกกลาป หมายถึง กลุ่มรูป ๙ รูป มีอวินิพโภครูป ๘ ที่เกิดพร้อมด้วยกายวิญญัติรูป ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ วัณณรูป ๑ คันธรูป ๑ รสรูป ๑ อาหารรูป ๑ กายวิญญัติรูป ๑

๔. วจีวิญญัตติสัทททสกกลาป หมายถึง กลุ่มรูป ๑๐ รูป มีอวินิพโภครูป ๘ ที่เกิดพร้อมด้วยสัททรูปและวจีวิญญัติรูป ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ วัณณรูป ๑ สัททรูป ๑ คันธรูป ๑ รสรูป ๑ อาหารรูป ๑ วจีวิญญัติรูป ๑

๕. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป หมายถึง กลุ่มรูป ๑๑ รูป คือ สุทธัฏฐกกลาป ที่เกิดพร้อมด้วยวิการรูป ๓ นั่นเอง ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ วัณณรูป ๑ คันธรูป ๑ รสรูป ๑ อาหารรูป ๑ วิการรูป ๓

๖. สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป หมายถึง กลุ่มรูป ๑๒ รูป คือ สัททนวกกลาป ที่เกิดพร้อมด้วยวิการรูป ๓ นั่นเอง ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ วัณณรูป ๑ สัททรูป ๑ คันธรูป ๑ รสรูป ๑ อาหารรูป ๑ วิการรูป ๓

๗. กายวิญญัตติลหุตาทิทวาทสกกลาป หมายถึง กลุ่มรูป ๑๒ รูป คือ กายวิญญัตตินวกกลาปที่เกิดพร้อมด้วยวิการรูป ๓ นั่นเอง ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ วัณณรูป ๑ คันธรูป ๑ รสรูป ๑ อาหารรูป ๑ กายวิญญัติรูป ๑ วิการรูป ๓

๘. วจีวิญญัตติสัททลหุตาทิเตรสกกลาป หมายถึง กลุ่มรูป ๑๓ รูป คือ วจีวิญญัตติสัทททสกกลาปที่เกิดพร้อมด้วยวิการรูป ๓ นั่นเอง ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ วัณณรูป ๑ สัททรูป ๑ คันธรูป ๑ รสรูป ๑ อาหารรูป ๑ วจีวิญญัติรูป ๑ วิการรูป ๓

หมายเหตุ... จิตตชกลาปที่แสดงมาแล้วนี้ เป็นการแสดงตามนัยวิสุทธิมรรคอรรถกถา ส่วนที่แสดงตามนัยพระอภิธัมมัตถสังคหะนั้น ท่านพระอนุรุทธาจารย์แสดงไว้เพียง ๖ กลาปเท่านั้น โดยไม่มี ๒ กลาป คือ สัททนวกกลาป และ สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป

เหตุที่ท่านพระพุทธโฆสาจารย์แสดงจิตตชกลาปเพิ่มอีก ๒ กลาปนั้น เพราะท่านให้เหตุผลว่า สัททนวกกลาป และ สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป นั้นสามารถเกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานได้ เฉพาะในเวลาที่มีความจงใจหรือมีจิตเป็นสมุฏฐาน ส่วนที่เกิดในที่ทั่วไป ทั้งในสัตว์มีชีวิตและในสิ่งไม่มีชีวิตนั้น มีอุตุเป็นสมุฏฐานทั้งสิ้น ดังจะได้กล่าวต่อไป

อาจารย์วรรณสิทธิ ไวทยะเสวีรุ.๖๓๗ ได้แสดงการจำแนกรูปกลาปไว้ ดังต่อไปนี้

สำหรับจำนวนของรูปกลาป ๒๑ กลาปนั้น จำแนกได้ดังนี้

กัมมชกลาป ๙

๑. จักขุทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ รูป มีจักขุปสาทรูปเป็นประธาน ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ จักขุปสาทรูป ๑

๒. โสตทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ รูป มีโสตปสาทรูปเป็นประธาน ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ โสตปสาทรูป ๑

๓. ฆานทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ รูป มีฆานปสาทรูปเป็นประธาน ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ ฆานปสาทรูป ๑

๔. ชิวหาทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ รูป มีชิวหาปสาทรูปเป็นประธาน ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ ชิวหาปสาทรูป ๑

๕. กายทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ รูป มีกายปสาทรูปเป็นประธาน ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ กายปสาทรูป ๑

๖. อิตถีภาวทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ รูป มีอิตถีภาวรูปเป็นประธาน ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ อิตถีภาวรูป ๑

๗. ปุริสภาวทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ รูป มีปุริสภาวรูปเป็นประธาน ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ ปุริสภาวรูป ๑

๘. วัตถุทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ รูป มีหทยรูปเป็นประธาน ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ หทยรูป ๑

๙. ชีวิตนวกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๙ รูป มีชีวิตรูปเป็นประธาน ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑

จิตตชกลาป ๖

๑. สุทธัฏฐกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๘ รูป โดยมีเฉพาะอวินิพโภครูป ๘ รูปล้วน ๆ เท่านั้น ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ วัณณรูป ๑ คันธรูป ๑ รสรูป ๑ อาหารรูป ๑

๒. กายวิญญัตตินวกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๙ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ กายวิญญัติรูป ๑

๓. วจีวิญญัตติสัทททสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ สัททรูป ๑ วจีวิญญัติรูป ๑

๔. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๑ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓

๕. กายวิญญัตติลหุตาทิทวาทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๒ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ กายวิญญัติรูป ๑ วิการรูป ๓

๖. วจีวิญญัตติสัททลหุตาทิเตรสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๓ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ สัททรูป ๑ วจีวิญญัติรูป ๑ วิการรูป ๓

อุตุชกลาป ๔

๑. สุทธัฏฐกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๘ รูป โดยมีเฉพาะอวินิพโภครูป ๘ รูปล้วน ๆ เท่านั้น ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ วัณณรูป ๑ คันธรูป ๑ รสรูป ๑ อาหารรูป ๑

๒. สัททนวกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๙ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ สัททรูป ๑

๓. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๑ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓

๔. สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๒ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ สัททรูป ๑ วิการรูป ๓

อาหารชกลาป ๒

๑. สุทธัฏฐกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๘ รูป โดยมีเฉพาะอวินิพโภครูป ๘ รูปล้วน ๆ เท่านั้น ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ วัณณรูป ๑ คันธรูป ๑ รสรูป ๑ อาหารรูป ๑

๒. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๑ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |