| |
วัยแห่งชีวิตมนุษย์ ๑๐ วัย   |  

ชีวิตของมนุษย์ในชมพูทวีป ในยุคสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ หรือโคดม นี้มีกำหนดอายุขัย ๑๐๐ ปี ซึ่งแบ่งเป็น ๑๐ วัย คือ

๑. มันททสกวัย วัยอ่อน ๑-๑๐ ปี [วัยเล่นฝุ่นเล่นดิน]

๒. ขิฑฑาทสกวัย วัยสนุกสนาน ๑๐-๒๐ ปี [อาบน้ำบ่หนาว]

๓. วัณณทสกวัย วัยงาม ๒๐-๓๐ ปี [เกี้ยวสาวบ่เบื่อ]

๔. พลทสกวัย วัยกำลัง ๓๐-๔๐ ปี [สู้เสือทุกท่า]

๕. ปัญญาทสกวัย วัยปัญญา ๔๐-๕๐ ปี [ไปนาก่อนไก่]

๖. หานิทสกวัย วัยเสื่อม ๕๐-๖๐ ปี [ไปนากลับมาทอดหุ่ย]

๗. ปัพภารทสกวัย วัยโค้ง ๖๐-๗๐ ปี [เป่าขลุ่ยบ่ดัง]

๘. วังกทสกวัย วัยงอ ๗๐-๘๐ ปี [เดินทางบ่ตรง]

๙. โมมูฬหทสกวัย วัยหลง ๘๐-๙๐ ปี [ลงดินบ่ได้]

๑๐. สยนทสกวัย วัยนอน ๙๐-๑๐๐ ปี [ขี้ไหลบ่ฮู้]

๑๐๐ ปีขึ้นไปแล้ว [ไข้ก็ตาย บ่ไข้ก็ตาย]


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |