| |
วิปลาสธรรม ๑๒   |  

วิปลาส ๓ อย่างนี้ แต่ละอย่าง ย่อมเป็นไปในอาการ ๔ อย่าง คือ

ทิฏฐิวิปลาส ความเห็นคลาดเคลื่อนด้วยอำนาจความเห็นผิด มี ๔ ประการ คือ

๑. สุภทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดไปว่า เป็นสิ่งสวยงาม

๒. สุขทิฏฐวิปลาส เห็นผิดไปว่า เป็นความสุขสบาย

๓. นิจจทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดไปว่า เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน

๔. อัตตทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดไปว่า เป็นตัวเป็นตน

จิตตวิปลาส ความเห็นคลาดเคลื่อนด้วยอำนาจความเข้าใจผิด มี ๔ ประการ คือ

๑. สุภจิตตวิปลาส ความเข้าใจผิดไปว่า เป็นสิ่งสวยงาม

๒. สุขจิตตวิปลาส ความเข้าใจผิดไปว่า เป็นความสุขสบาย

๓. นิจจจิตตวิปลาส ความเข้าใจผิดไปว่า เป็นสิ่งยั่งยืน

๔. อัตตจิตตวิปลาส ความเข้าใจผิดไปว่า เป็นตัวเป็นตน

สัญญาวิปลาส ความเห็นคลาดเคลื่อนด้วยอำนาจความสำคัญผิด มี ๔ ประการ คือ

๑. สุภสัญญาวิปลาส ความสำคัญผิดไปว่า เป็นสิ่งสวยงาม

๒. สุขสัญญาวิปลาส ความสำคัญผิดไปว่า เป็นความสุขสบาย

๓. นิจจสัญญาวิปลาส ความสำคัญผิดไปว่า เป็นสิ่งยั่งยืน

๔. อัตตสัญญาวิปลาส ความสำคัญผิดไปว่า เป็นตัวเป็นตน

ดังนั้น จึงรวมเป็นวิปลาสธรรม ๑๒ ประการ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |