| |
ความต่างระหว่างเจตนา มนสิการ และวิตก   |  

สภาวะของเจตสิกทั้ง ๓ นี้ มีลักษณะและกิจหน้าที่คล้ายคลึงกันอยู่มาก จึงสมควรที่จะได้ทราบความต่างกัน ดังต่อไปนี้

ลักษณะและกิจของเจตนาเจตสิก คือ การกระตุ้นเตือนสัมปยุตตธรรมคือจิตและเจตสิกอื่น ๆ ที่เกิดพร้อมกับตนในขณะนั้นให้เข้าไปจับอยู่ในอารมณ์ เป็นลักษณะ และพยายามให้สัมปยุตตธรรมติดต่อกับอารมณ์เนือง ๆ เป็นกิจ

ลักษณะและกิจของมนสิการเจตสิก คือ การนำให้สัมปยุตตธรรมมุ่งตรงสู่อารมณ์อยู่เสมอ เป็นลักษณะ และทำให้สัมปยุตตธรรมประกอบในอารมณ์เนือง ๆ เป็นกิจ

ลักษณะและกิจของวิตกเจตสิก คือ มีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ และทำให้สัมปยุตตธรรมตั้งต้นกระทบซึ่งอารมณ์บ่อย ๆ เป็นกิจ

จึงสรุปความว่า หน้าที่ของเจตนาเจตสิก ทำให้สัมปยุตตธรรมสำเร็จกิจการงานเป็นกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม หน้าที่ของมนสิการเจตสิก ทำให้สัมปยุตตธรรมมุ่งตรงสู่อารมณ์อยู่เสมอไม่ให้หันเหไปทางอื่น หน้าที่ของวิตกเจตสิก คือ ทำให้สัมปยุตตธรรมก้าวขึ้นสู่อารมณ์อยู่เสมอไม่ให้ย่อท้อถอยหลัง


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |