| |
อานิสงส์แห่งการเดินจงกรม ๕ ประการ   |  

ในจังกมสูตร ปฐมปัณณาสก์ อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาตรุ.๓๖๓ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงถึงอานิสงส์แห่งการเดินจรงกรมไว้ ๕ ประการ

การเดินจงกรม จัดเป็นกายวิญญัติรูป ซึ่งเป็นการบริหารกายอย่างหนึ่งของบรรพชิตหรือโยคีผู้ปฏิบัติธรรม เนื่องจากบรรพชิตหรือโยคีผู้ปฏิบัติธรรมไม่สามารถออกกำลังกายอย่างฆราวาสทั่วไปได้ อันเป็นการไม่สำรวม หรือสติกำหนดพิจารณาอิริยาบถรู้ไม่เท่าทัน อาจทำให้กิเลสเข้าครอบงำได้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแนะนำให้เดินจงกรมแทน เมื่อเดินจงกรมอยู่เป็นประจำ ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการคือ

๑. ทนต่อการเดินทางไกล ๒. ทนต่อการบำเพ็ญเพียร

๓. มีโรคน้อย ๔. ย่อยอาหารได้ดี

๕. สมาธิอยู่ได้นาน

ดังที่ท่านกล่าวสรุปไว้ว่า “อาพาธน้อย ย่อยอาหาร นานในสมาธิ ดำริความเพียรเป็นเซียนในการเดินทาง


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |