| |
อภิญญา ๖   |  

อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึง ความรู้ยิ่งเป็นพิเศษในสิ่งต่าง ๆ ที่วิสัยของบุคคลธรรมดาสามัญทั่วไปรู้ไม่ได้ หรือรู้ได้ไม่เท่าเทียม มี ๖ อย่าง คือ

๑. อิทธิวิธอภิญญา การเนรมิตหรือแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ เช่น คนเดียวเนรมิตให้เป็นหลายคนได้ หรือ หลายคนเนรมิตให้เป็นคนเดียวได้ เป็นต้น

๒. ทิพพจักขุอภิญญา สามารถมองเห็นสิ่งที่เล็กที่สุด หรือ ไกลที่สุด ที่จักษุธรรมดามองไม่เห็น หรือ สามารถมองเห็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย เป็นต้นได้ตลอดถึงสามารถมองเห็นการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายได้ จึงเรียกว่า จุตูปปาตญาณ

๓. ทิพพโสตอภิญญา สามารถฟังเสียงของสัตว์ที่เล็กที่สุดหรือเสียงที่เบาที่สุด หรือว่าเสียงที่อยู่ในที่ไกล ๆ ได้ หรือสามารถฟังเสียงของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉานต่าง ๆ ได้

๔. ปรจิตตวิชานนอภิญญา สามารถรู้ความคิดจิตใจของผู้อื่นได้

๕. ปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญา สามารถระลึกชาติในอดีตได้

๖. อาสวักขยอภิญญา ความรู้ทำให้สิ้นอาสวะกิเลสทั้งปวง

อภิญญา ๕ ข้างต้นจัดเป็นโลกียอภิญญา ส่วนอาสวักขยอภิญญา จัดเป็น โลกุตตรอภิญญา


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |