| |
วิคคาหิกกถา ๑๔ ประการ   |  

วิคคาหิกกถา หมายถึง คำพูดที่เป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน ทั้งเรื่องทางโลกและทางธรรม ที่จัดเป็นผรุสวาจา อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจโทสเจตสิกเป็นประธาน มี ๑๔ ประการ คือ

๑. ท่านไม่รู้ธรรมวินัย

๒. ข้าพเจ้ารู้ธรรมวินัย

๓. ท่านจะรู้ธรรมวินัยได้อย่างไร

๔. ท่านเป็นผู้ปฏิบัติผิด

๕. ข้าพเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูก

๖. คำพูดของข้าพเจ้าถูก ทั้งก่อนและหลัง

๗. คำพูดของท่านไม่ถูก ทั้งก่อนและหลัง

๘. คำที่ควรพูดก่อน ท่านกลับพูดทีหลัง

๙. คำที่ควรพูดทีหลัง ท่านกลับพูดก่อน

๑๐. ข้าพเจ้าพูดคำเดียวสามารถลบล้างคำพูดของท่านได้ทั้งหมด

๑๑. ข้าพเจ้าจับผิดความเห็นของท่านได้

๑๒. ท่านเป็นผู้ถูกข้าพเจ้าข่มขี่เสียแล้ว

๑๓. ท่านจงไปแสวงหาความรู้มาใหม่เถิด

๑๔. ถ้าท่านยังมั่นใจในความเชื่อของท่าน ก็จงโต้ตอบมา

วิคคาหิกกถา ๑๔ ประการนี้ เป็นโทษทั้งในทางปริยัติและทางปฏิบัติ ย่อมทำลายประโยชน์ของตนและประโยชน์ของบุคคลอื่นให้พินาศ และเป็นเหตุให้แตกสามัคคีกันได้


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |