ไปยังหน้า : |
๑. สุขะนิทานัง ทานกุศลเป็นเหตุนำสุขมาให้
๒. สัมปัตติมูลัง ทานกุศลเป็นรากฐานแห่งสมบัติทั้งปวง
๓. โภคะปะติฏฐา ทานกุศลเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทั้งหลาย
๔. ตาณัง ทานกุศลเป็นเครื่องต้านทานหลีกเร้นของหมู่สัตว์
๕. เลนัง ทานกุศลเป็นเครื่องป้องกันภัยของหมู่สัตว์
๖. สุคะติปะรายะนัง ทานกุศลเป็นทางนำไปสู่สุคติ
๗. อะวัสสะโย ทานกุศลเป็นที่อาศัยไปในสังสารวัฏได้
๘. ปะติฏฐา ทานกุศลเป็นที่พึ่งในสังสารวัฏได้
๙. อารัมมะณัง ทานกุศลเป็นอารมณ์ที่ยึดหน่วงได้
๑๐. คะตะมัคโค ทานกุศลเป็นทางดำเนินของบัณฑิตทั้งหลาย
๑๑. พุทธะวังโส ทานกุศลเป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้า
๑๒. สัคคะสัมปัตติทานัง ทานกุศลทำให้ได้สวรรค์สมบัติ
๑๓. มาระสัมปัตติทานัง ทานกุศลทำให้ได้มารสมบัติ [เกิดเป็นพญามาร]
๑๔. พ๎รัห๎มะสัปปัตติทานัง ทานกุศลทำให้ได้พรหมสมบัติ
๑๕. จักกะวัตติสัมปัตติทานัง ทานกุศลย่อมให้สมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ
๑๖. สาวะกะปาระมีญาณัง ทานกุศลย่อมให้สำเร็จสาวกบารมีญาณ
๑๗. ปัจเจกะโพธิญาณัง ทานกุศลย่อมให้สำเร็จปัจเจกโพธิญาณ
๑๘. อะภิสัมโพธิญาณัง ทานกุศลย่อมให้ได้สำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณ