| |
นิยตโยคีเจตสิก มี ๔๑ ดวง   |  

สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ปกิณณกเจตสิก ๖

โมจตุกเจตสิก ๔ โลภเจตสิก ๑

ทิฏฐิเจตสิก ๑ โทสเจตสิก ๑

วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙

ปัญญาเจตสิก ๑

อธิบาย

นิยตโยคีเจตสิกเหล่านี้ เมื่อระบุว่า เจตสิกใด ประกอบกับจิตดวงใดแล้ว เมื่อจิตดวงนั้น ๆ เกิดขึ้น ต้องมีเจตสิกนั้น ประกอบร่วมด้วยเสมอ ดังนี้

สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ แต่ละดวง ประกอบกับจิตได้ทั้งหมด ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง เพราะฉะนั้น เมื่อจิตดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จึงต้องมีสัพพจิตตเจตสิกนี้เกิดร่วมด้วยทั้งหมด

วิตกเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๕๕ ดวง คือ อกุศลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๘ [เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐] กามาวจรโสภณจิต ๒๔ และปฐมฌานจิต ๑๑ เพราะฉะนั้น เมื่อจิต ๕๕ ดวงเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีวิตกเจตสิกประกอบร่วมด้วยเสมอ

วิจารเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๖๖ ดวง คือ อกุศลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๘ [เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐] กามาวจรโสภณจิต ๒๔ ปฐมฌานจิต ๑๑ และทุติยฌานจิต ๑๑ ฉะนั้น เมื่อจิต ๖๖ ดวงเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีวิจารเจตสิกประกอบร่วมด้วยเสมอ

อธิโมกขเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๑๑๐ ดวง คือ อกุศลจิต ๑๑ [เว้นวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑] อเหตุกจิต ๘ [เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐] กามาวจรโสภณจิต ๒๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ฉะนั้น เมื่อจิต ๑๑๐ ดวงเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีอธิโมกขเจตสิกประกอบร่วมด้วยเสมอ

วิริยเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๑๐๕ ดวง คือ อกุศลจิต ๑๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ฉะนั้น เมื่อจิต ๑๐๕ ดวงเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีวิริยเจตสิกประกอบร่วมด้วยเสมอ

ปีติเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๕๑ ดวง คือ โลภโสมนัส ๔ โสมนัสสันตีรณจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ มหากุศลโสมนัส ๔ มหาวิบากโสมนัส ๔ มหากิริยาโสมนัส ๔ ปฐมฌานจิต ๑๑ ทุติยฌานจิต ๑๑ ตติยฌานจิต ๑๑ ฉะนั้น เมื่อจิต ๕๑ ดวงเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีปีติเจตสิกประกอบร่วมด้วยเสมอ

ฉันทเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๑๐๑ ดวง คือ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ฉะนั้น เมื่อจิต ๑๐๑ ดวงเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีฉันทเจตสิกประกอบร่วมด้วยเสมอ

โมจตุกเจตสิก ๔ แต่ละดวง ประกอบกับจิตได้ ๑๒ ดวง คือ อกุศลจิต ๑๒ ฉะนั้น เมื่ออกุศลจิต ๑๒ ดวงเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีโมจตุกเจตสิก ๔ นี้ ประกอบร่วมด้วยเสมอ

โลภเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๘ ดวง คือ โลภมูลจิต ๘ ฉะนั้น เมื่อโลภมูลจิต ๘ ดวงเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีโลภเจตสิกประกอบร่วมด้วยเสมอ

ทิฏฐิเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๔ ดวง คือ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ฉะนั้น เมื่อจิต ๔ ดวงนี้ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีทิฏฐิเจตสิกประกอบร่วมด้วยเสมอ

โทสเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๒ ดวง คือ โทสมูลจิต ๒ ฉะนั้น เมื่อโทสมูลจิต ๒ ดวงนี้ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีโทสเจตสิกประกอบร่วมด้วยเสมอ

วิจิกิจฉาเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๑ ดวง คือ วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑ ฉะนั้น เมื่อวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตเกิดขึ้น จะต้องมีวิจิกิจฉาเจตสิกประกอบร่วมด้วยเสมอ

โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ แต่ละดวงประกอบกับจิตได้ ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง คือ โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง ฉะนั้น เมื่อจิตเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีโสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ นี้ประกอบร่วมด้วยเสมอ

ปัญญาเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง คือ กามาวจรโสภณญาณสัมปยุตตจิต ๑๒ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ฉะนั้น เมื่อจิตเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีปัญญาเจตสิกประกอบร่วมด้วยเสมอ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |