ไปยังหน้า : |
อโลภะและอโทสะทั้งสองนี้ เป็นรากเหง้าแห่งความดีทั้งหลาย และยังกุศลธรรมทั้งหลาย ให้เกิดขึ้นได้ เช่น
อโลภะ เป็นข้าศึกต่อความตระหนี่
อโทสะ เป็นข้าศึกต่อความเป็นผู้ทุศีล ความอาฆาตพยาบาท
อโลภะ เป็นเหตุแห่งทาน
อโทสะ เป็นเหตุแห่งศีล
อโลภะ ย่อมถือเอาไม่มาก
อโทสะ ย่อมถือเอาไม่บกพร่อง
อโลภะ ย่อมทรงจำโทษที่มีอยู่โดยความเป็นโทษ และเปิดเผยโทษ
อโทสะ ย่อมทรงจำคุณที่มีอยู่โดยความเป็นคุณ และประกาศคุณ
อโลภะ ย่อมไม่ทุกข์เพราะการประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก
อโทสะ ย่อมไม่มีชาติทุกข์
อโลภะ ย่อมไม่มีชราทุกข์
อโทสะ ย่อมไม่มีพยาธิทุกข์
อโลภะ ทำให้คฤหัสถ์อยู่ร่วมกันเป็นสุข
อโทสะ ทำให้คฤหัสถ์และบรรพชิตอยู่ร่วมกันเป็นสุข
อโลภะ ย่อมไม่ไปเกิดเป็นเปรต
อโทสะ ย่อมไม่ไปเกิดในนรก
อโลภะ ย่อมไม่ทำความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจแห่งราคะ
อโทสะ ย่อมไม่ทำความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจแห่งพยาบาท
อโลภะ ย่อมให้ได้เนกขัมมสัญญา และอสุภสัญญา
อโทสะ ย่อมให้ได้อัพยาปาทสัญญา และอัปปมาทสัญญา
อโลภะ ย่อมให้เว้นจากกามสุขัลลิกานุโยค
อโทสะ ย่อมให้เว้นจากอัตตกิลมถานุโยค
อโลภะ ย่อมทำลายอภิชฌากายคันถะ
อโทสะ ย่อมทำลายพยาปาทกายคันถะ
อโลภะ ย่อมทำให้ กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา สำเร็จ
อโทสะ ย่อมทำให้ จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา สำเร็จ
อโลภะ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความไม่มีโรค
อโทสะ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความเป็นหนุ่มเป็นสาว
อโลภะ ย่อมเป็นปัจจัยแก่โภคสมบัติและทิพยวิหาร
อโทสะ ย่อมเป็นปัจจัยแก่มิตตสมบัติและพรหมวิหาร
อโลภะ ย่อมดับเข็ญใจในสัตว์และสังขารที่เป็นฝ่ายตนได้
อโทสะ ย่อมดับเข็ญใจในสัตว์และสังขารที่เป็นฝ่ายอื่นได้
อโลภะ ย่อมเป็นปัจจัยให้เห็นอนิจจัง [เพราะการเห็นอนิจจลักษณะ]
อโทสะ ย่อมเป็นปัจจัยให้เห็นทุกขัง [เพราะการเห็นทุกขลักษณะ]