| |
นาฎยรส คือ รสแห่งวรรณคดี ๙ ประการ   |  

ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ข้อ ๑๐๒ ได้แสดงถึงรสชาติแห่งวรรณคดี ที่เรียกว่า นาฎยรส ไว้ ๙ ประการรุ.๒๓๐ ดังนี้

๑. สิงคาโร บทรัก

๒. กรุโณ บทโศก

๓. วีโร บทแกล้วกล้า

๔. อัพภูโต บทแปลกประหลาดอัศจรรย์

๕. หัสโส บทร่าเริง

๖. ภยานโก บทขลาดกลัว

๗. สันโต บทสงบเสงี่ยม

๘. วิภัจโฉ บทโกรธเกลียด

๙. รุทโท บทสะบัดสะบิ้ง

รสเหล่านี้เป็นธัมมารมณ์ที่ปรากฏทางใจ ที่ท่านเรียกว่า รส นั้น เป็นการเรียกโดยอ้อม เพราะคำว่า รส ตามความหมายที่ท่านให้ไว้นั้น คือ เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา เพราะฉะนั้น รสแห่งดนตรีทั้งหลายย่อมเป็นที่ปรารถนาของบุคคลทั้งหลาย จึงได้ชื่อว่า รส


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |