| |
พุทธภาษิตว่าด้วยเรื่องกายวิญญัติ   |  

ในปัพพชิตวิเหฐกชาดก ฉักกนิบาต ขุททกนิกาย ชาดกรุ.๓๖๒ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงเรื่องกายวิญญัติไว้ดังนี้

โย ทิสฺวา ภิกฺขุ จรณูปปนฺนํ

ปุรกฺขิตฺวา ปญฺชลิโก นมสฺสติ

ทิฏฺเว ธมฺเม ลภเต ปสํสํ

สคฺคญฺจ โส ยาติ สรีรเภทา ฯ

แปลความว่า

ผู้ใดพบเห็นภิกษุผู้เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมแล้ว ประนมกรนมัสการ ให้ท่านเป็นผู้นำทาง ผู้นั้นย่อมได้การยกย่องสรรเสริญในปัจจุบัน เมื่อสิ้นชีพแล้ว ย่อมได้ขึ้นสวรรค์

การประนมมือไหว้ก็ดี การนอบน้อมด้วยกายก็ดี เป็นอาการเคลื่อนไหวของกายโดยมีจิตเป็นสมุฏฐาน เรียกว่า กายวิญญัติ ถ้าเป็นการแสดงด้วยใจจริง คือ มีกุศลจิตเป็นสมุฏฐานแล้ว ย่อมจัดเป็นกุศลกายกรรม เป็นกุศลกรรมอันเกิดขึ้นโดยอาศัยกายวิญญัติเป็นช่องทางออก แต่ถ้าเป็นการแสดงออกด้วยอำนาจอกุศลจิตหรือมีอกุศลจิตแอบแฝงอยู่ในส่วนลึก กายวิญญัติรูปนั้นย่อมเป็นช่องทางให้เกิดอกุศลกายกรรมไป เพราะฉะนั้น กายวิญญัติรูป จึงได้ชื่อว่า กัมมทวาร คือ ช่องทางออกของกายกรรม ทั้งที่เป็นกุศลกายกรรมและอกุศลกายกรรม


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |