| |
สักกายทิฏฐิ ๒๐ ประการ   |  

สักกายทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นที่เป็นไปในรูปนามขันธ์ ๕ ของตน ซึ่งเป็นความเห็นผิดแบบธรรมดา เป็นความเห็นผิดของบุคคลผู้เป็นปุถุชนโดยทั่วไป ถ้าไม่มีความเห็นผิดชนิดที่ดิ่งลง เรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ มี ๒ ประการ ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าเที่ยง และอุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็นว่าขาดสูญ ผสมร่วมด้วยแล้ว ย่อมเป็นความเห็นผิดที่ไม่มีโทษ ไม่สามารถนำไปสู่อบายได้ แต่ถ้ามีความเห็นผิดชนิดที่ดิ่งลงผสมร่วมด้วย จึงจะมีโทษและนำไปสู่อบายได้ อนึ่ง ความเห็นผิดที่ดิ่งลงทั้ง ๒ อย่างนั้น ย่อมมีพื้นฐานมาจากสักกายทิฏฐินี้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า สักกายทิฏฐิเป็นพื้นฐานของความเห็นผิดที่เหนียวแน่น ที่เรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ ทุกประการ

สักกายทิฏฐินี้มีความเห็นเป็นไปโดยอาการ ๒๐ ประการ ซึ่งเป็นไปในขันธ์ ๕ อย่างละ ๔ ประการ คือ

๑. เห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตน

๒. เห็นว่า ตนมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

๓. เห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีในตน

๔. เห็นว่า ตนมีใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |