| |
โทษของปิสุณวาจา

ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ มีพระมหาเถระ ๒ รูป รูปหนึ่งมีพรรษา ๖๐ อีกรูปหนึ่งมีพรรษา ๕๙ สนิทสนมรักกันมากเหมือนพี่น้องพ่อแม่เดียวกัน จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง ซึ่งสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะ ต่อมา มีพระธรรมกถึกรูปหนึ่ง มาขออยู่ในอาวาสนั้นด้วย เพราะเห็นว่าเป็นวัดที่มีลาภสักการะมาก อยู่ได้ไม่นาน พระธรรมกถึกนั้นคิดขับไล่พระเถระทั้ง ๒ รูปนั้นออกไปจากอาวาสนั้น เพื่อตนเองจะได้ครอบครองวัดและลาภสักการะเพียงผู้เดียว จึงเข้าไปหาทีละรูป แล้วพูดว่า เมื่อวานกระผมมาที่นี่ พระเถระรูปนั้น บอกผมว่า คุณเป็นคนดี จะคบหาสมาคมกับพระมหาเถระ ต้องพิจารณาให้ดีก่อน พูดเหมือนกับรู้ความลับ ความเสียหายของท่าน เสร็จแล้ว ก็เข้าไปหาอีกรูปหนึ่ง พูดอย่างเดียวกันนั้น แรก ๆ ทั้ง ๒ รูปไม่เชื่อ แต่นานไป เกิดบาดหมางกัน ในที่สุดก็แตกสามัคคีกัน ต่างรูปต่างออกจากวัด พระธรรมกถึก จึงได้ครองวัดนั้นแต่เพียงรูปเดียว เมื่อพระธรรมกถึกนั้นมรณภาพแล้ว ไปเกิดในมหานรกอเวจี พ้นจากนรกนั้นแล้ว จึงไปเกิดเป็นเปรต ร่างกายเหมือนมนุษย์ มีศีรษะเหมือนสุกร ต้องเสวยทุกข์อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ การพูดที่ทำให้คนแตกสามัคคีกัน เป็นบาปหนัก ดังนี้แล


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |