| |
อนัตตลักษณะ ๕   |  

๑. อนัตตโต โดยความเป็นของไม่ใช่ตัวตน
๒. ปรโต โดยความเป็นของไม่ใช่เรา แต่เป็นสิ่งอื่น
๓. ริตตโต โดยความเป็นของว่างเปล่าจากตัวเรา
๔. ตุจฉโต โดยความเป็นของว่างเปล่าจากแก่นสาร
๕. สุญญโต โดยความเป็นของว่างเปล่าจากสัตว์บุคคล

รวม ๕ ประการ จัดเข้าใน ๕ ขันธ์ ก็เป็น ๒๕ ประการ

รวมทั้งหมดเป็น ๔๐ ประการ จัดเข้าใน ๕ ขันธ์ จึงเป็น ๒๐๐ ประการ

ไตรลักษณ์นี้ เป็นลักษณะสามัญหรืออาการตามปกติธรรมดาของรูปนามที่เป็นสังขาร ดังนั้น ก่อนที่จะเห็นไตรลักษณ์ จึงต้องรู้จักรูปธรรมและนามธรรมให้เข้าใจให้ดีเสียก่อน เพราะรูปธรรมนามธรรมเหล่านี้แหละจะเป็นสิ่งเริ่มต้นในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานที่จะนำเข้าไปสู่ไตรลักษณ์ได้


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |