| |
ทวาร ๖   |  

ทวาร แปลว่า ประตูหรือช่องทาง หมายถึง ช่องทางในการรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีปสาทรูป ๕ เป็นปัญจทวาร คือ ทวาร ๕ ส่วนมโนทวารนั้น มีองค์ธรรมเป็นภวังคจิต เนื่องจากอารมณ์ที่มากระทบทางมโนทวารนั้น ย่อมกระทบกับภวังคจิตโดยตรงเลย โดยไม่ต้องอาศัยปสาทรูป ทวารมี ๖ อย่างรุ.๑๙๐ ดังต่อไปนี้

๑. จักขุทวาร ประตูตา องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาทรูป

๒. โสตทวาร ประตูหู องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาทรูป

๓. ฆานทวาร ประตูจมูก องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาทรูป

๔. ชิวหาทวาร ประตูลิ้น องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาทรูป

๕. กายทวาร ประตูกาย องค์ธรรมได้แก่ กายปสาทรูป

๖. มโนทวาร ประตูใจ องค์ธรรมได้แก่ ภวังคจิต ๑๙

ในบรรดาทวารทั้ง ๖ นี้ ข้อ ๑ ถึงข้อ ๕ จัดเป็นรูปทวาร ส่วนข้อที่ ๖ นั้น เป็น นามทวาร รูปทวารนั้นรับกระทบได้เฉพาะอารมณ์ที่เป็นรูปอย่างเดียว และอารมณ์นั้นจะต้องเป็นปัจจุบันอารมณ์เท่านั้น ส่วนนามทวารนั้น สามารถรับกระทบอารมณ์ได้ทุกอย่าง ทั้งรูปอารมณ์ นามอารมณ์ และบัญญัติอารมณ์ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน และกาลวิมุตติ [คือนิพพานและบัญญัติที่มีสภาพพ้นจากกาลทั้ง ๓ คือ อดีต อนาคต ปัจจุบัน]


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |