| |
ชราทุกข์ ๗ ประการ   |  

ชราทุกข์ คือ ทุกข์เพราะความแก่ อันเนื่องมาจากรูปร่างกายถึงความแก่ชราลงตามลำดับ มี ๗ ประการรุ.๔๔๒ คือ

๑. ทุพพัณณิกทุกข์ ทุกข์เพราะสภาพร่างกายมีผิวพรรณทราม [เหี่ยวแห้ง เศร้าหมอง เส้นเอ็นปรากฏ]

๒. ทุพพลิกทุกข์ ทุกข์เพราะกำลังเรี่ยวแรงลดน้อยถอยลง ทำให้ไม่สะดวกในการดำเนินชีวิต

๓. ชีรติกายิกทุกข์ ทุกข์เพราะมีร่างกายทรุดโทรม ภูมิต้านทานลดน้อยลง เป็นบ่อเกิดของโรคต่าง ๆ เข้ามารุมเร้าได้ง่าย

๔. กัมปิตสรีรทุกข์ ทุกข์เพราะสภาพร่างกายสั่นงันงก บังคับตัวเองไม่อยู่

๕. ฉินนทันตทุกข์ ทุกข์เพราะฟันโยกคลอนและหักไป ระบบการเคี้ยวกินอาหารไม่สะดวกเหมือนแต่ก่อน

๖. ชรจักขุทุกข์ ทุกข์เพราะนัยน์ตาฝ้าฟาง เสื่อมสภาพลง เสื่อมสมรรถภาพในการมองเห็น

๗. ชรโสตทุกข์ ทุกข์เพราะหูเสื่อมสภาพในการได้ยินลงตามลำดับ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |