| |
การประหาณอกุศลจิต   |  

การประหาณอกุศลจิตนั้น ย่อมมีวิธีในการประหาณได้เป็น ๓ ระดับ กล่าวคือ

๑. ประหาณโดยตทังคปหาน ละได้ชั่วคราวด้วยอำนาจมหากุศลหรือศีลกุศล

๒. ประหาณโดยวิกขัมภนปหาน ละได้ด้วยการข่มไว้ ด้วยอำนาจฌานกุศล

๓. ประหาณโดยสมุจเฉทปหาน ละได้โดยเด็ดขาด ด้วยอำนาจมรรคกุศล

โลภมูลจิต ละโดยตทังคปหาน ด้วยอำนาจความสันโดษ และเจตนาวิรัติ
ละโดยวิกขัมภนปหาน ด้วยอำนาจฌานกุศล
ละโดยสมุจเฉทปหาน ด้วยอำนาจอรหัตตมรรคญาณ
โทสมูลจิต ละโดยตทังคปหาน ด้วยอำนาจเมตตากรุณา
ละโดยวิกขัมภนปหาน ด้วยอำนาจฌานกุศล
ละโดยสมุจเฉทปหาน ด้วยอำนาจอนาคามิมรรคญาณ
โมหมูลจิต ละโดยตทังคปหาน ด้วยอำนาจปัญญาในมหากุศล
ละโดยสมุจเฉทปหาน ด้วยอำนาจอรหัตตมรรคญาณ
โมหมูลจิต ไม่สามารถละโดยวิกขัมภนปหาน คือ ด้วยอำนาจฌานกุศลได้

[ยกเว้นวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ที่ข่มด้วยอำนาจของฌานได้]


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |